ดีอี เร่งแก้กฎหมายป้องไซเบอร์ ชงครม.อนุมัติเพิ่มโทษ บังคับแบงก์ร่วมรับผิด

Loading

รมว.ดีอี เผย พ.ร.ก.ป้องปรามอาชญากรรมไซเบอร์ฉบับแก้ไขกำลังเข้า ครม. เพิ่มโทษการซื้อขายข้อมูล บัญชี-ซิมม้า บีบแบงก์ให้ร่วมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายหากเอื้อมิจฉาชีพ เปิดทางคืนเงินกว่าหมื่นล้านให้ผู้เสียหาย

กสทช.ถกแก้ปัญหาสัญญาณเน็ตชายแดน หลังพบมิจฉาชีพลอบใช้กระทำผิดกฎหมาย

Loading

  เร่งแก้ปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย พบอาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ มิจฉาชีพ ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย ชี้การตัดสัญญาณไม่ใช่ทางออก กระทบคนใช้สุจริต   รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้จัดประชุมคณะทำงานกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับความผิดทางเทคโนโลยี โทรคมนาคมและความมั่นคงของรัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชายแดนในฝั่งไทย ซึ่งพบว่า อาจเอื้อต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ ที่ลักลอบนำสัญญาณไปใช้กระทำผิดกฎหมาย   โดยที่ประชุมคณะทำงานฯ ในส่วนผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบจับกุม และผู้กำหนดแนวทางในการดูแลปัญหา ได้มีการหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา และหามาตรการที่เกิดสมดุลในการบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ และการไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้บริโภคในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากการกระทำผิดของมิจฉาชีพมีความซับซ้อนและใช้เทคนิคกลโกงขั้นสูงมากขึ้น เช่น ใช้ช่องว่างของสัญญาณให้บริการของโอเปอเรเตอร์ที่มีความแรงข้ามขายแดน ในการกระทำความผิด ใช้บริการ ไว-ไฟ จากฝั่งไทยยิงสัญญาณข้ามชายแดนไปจุดที่ตั้งของคอลเซ็นเตอร์เถื่อน และใช้ ซิม บ็อกซ์ หรือ เบส สเตชั่น ปลอม เพื่อยิงเอสเอ็มเอสหลอกลวง ว่ามาจากผู้ห้บริการเครือข่าย ฯลฯ   แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า ทาง กสทช. ได้สั่งให้ สำนักงาน กสทช. ในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดน ดำเนินการกำกับดูแลในเรื่องนี้อยู่แล้ว โดยพนักงาน กสทช. ในพื้นที่ จะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการไม่ให้ส่งสัญญาณได้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วหลายครั้ง เท่าที่ทราบกรณีที่เกิดขึ้นมีทั้งฝั่งชายแดน ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งติดกับประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว บริเวณ จ.นครพนม รวมถึงเสาที่ตั้งบริเวณใกล้บ่อนการพนัน กรณีที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นเสาที่ลักลอบตั้งขึ้นอย่างผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ทันที   “เมื่อมิจฉาชีพใช้กลโกงที่ซับซ้อน เจ้าหน้าที่ต้องสังเกตและรู้เท่าทันกลโกง การจะตัดสัญญาณสื่อสารบริเวณชายแดน ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะจะเกิดผลกระทบต่อผู้ที่ใช้บริการโดยสุจริต เจ้าหน้าที่ของไทยทราบว่า คอลเซ็นเตอร์เถื่อนตั้งอยู่ที่ไหนแต่เอาผิดไม่ได้ เพราะกฎหมายของไทยกับเพื่อนบ้านแตกต่างกัน ในอนาคตมีความจำเป็นต้องมีคณะทำงานร่วมเพื่อจัดการกับปัญหาอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการที่เข้มข้นขึ้น แต่ไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย”       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

เรื่องต้องรู้? เมื่อประกาศใช้ ก.ม.ป้องกันโจรไซเบอร์!!

Loading

    ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว!! สำหรับ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566    หลังรัฐบาลเร่งตรา ก.ม.ฉบับนี้ออกมาใช้ให้เร่งด่วนที่สุด โดยหวัง “สกัดและเด็ดหัว” โจรไซเบอร์ ที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายทางทรัพย์สินให้กับประชาชนอย่างมาก!!   หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า คนไทยตกเป็นเหยื่อมากแค่ไหน? จากสถิติของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้เปิดรับแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://thaipoliceonline.com/ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายแจ้งความเป็นคดีสูงถึง 2.1 แสนคดี สร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท!!     หรือ เรียกง่ายๆ ว่า มีคนแจ้งความถึงวันละเกือบ 600 คดี!! ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน!!   ขณะที่การอายัดบัญชีของทางเจ้าหน้าที่ มีการขออายัด 50,649  เคส จำนวน 68,870 บัญชี  ยอดเงิน 6,723 ล้านบาท แต่สามารถอายัดได้ทัน 445 ล้านบาท เท่านั้น!?!   สิ่งที่จะบรรเทาความเสียหายให้ประชาชนได้ คือ ทำอย่างไรจะสามารถอายัดยัญชีได้เร็วที่สุด ก่อนที่เงินจะถูกโอนออกจากบัญชีไป เพราะหากเงิน “ลอย” ออกจากบัญชีของเราไปแล้ว การจะได้เงินคืนจึงเป็นเรื่องยาก!!   จึงได้มีการออก ก.ม.ฉบับนี้ เพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น…

แบงก์ชาติเปิด 3 เรื่องต้องรู้ เมื่อ พรก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ 3 เรื่องต้องรู้ … เมื่อ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ หากถูกหลอกหรือตกเป็นเหยื่อ ต้องทำตัวอย่างไร โทษของการเปิดบัญชีม้าและซิมม้า รวมถึงโฆษณา จะเป็นอย่างไรบ้าง             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 สยามรัฐออนไลน์                            /…

ประกาศแล้ว! พ.ร.ก.ภัยไซเบอร์ สกัดมิจฉาชีพ เปิดโทษบัญชีม้า ปรับหนัก-จำคุกอ่วม

Loading

  ประกาศแล้ว พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ เปิดทางหน่วยงานรัฐ-ธนาคารแลกเปลี่ยนข้อมูล สกัดยับยั้งมิจฉาชีพ “บัญชีม้า-ซิมม้า” มีโทษจำคุกปรับอ่วม   วันที่ 16 มีนาคม 2566 พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นมาตรการที่ออกมาปราบปรามและป้องกันภัยไซเบอร์ที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น มิจฉาชีพเกิดการหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน   โดยมีใจความสำคัญ เช่น มาตรา 4 ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน   มาตรา 6 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเองหรือได้รับข้อมูลจากระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมและแจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไป   พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตรวจสอบ   ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรม…