FraudGPT เครื่องมือใหม่ Dark Web Markets

Loading

  ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบจนในบางครั้งเราก็อาจตามไม่ทันและสุดท้ายต้องตกเป็นเหยื่อของการคุกคามในที่สุด เหล่าบรรดาแฮกเกอร์มุ่งพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้เปิดโจมตี ซึ่งในวันนี้ผมจะขอนำเสนอ AI ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “FraudGPT” ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในตลาด Dark Web และช่องทาง Telegram ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันลงความเห็นว่า FraudGPT เป็นเครื่องมือที่ควรจะต้องเฝ้าระวังอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว จากข้อมูลพบว่ามีการออกโปรโมตเกี่ยวกับ FraudGPT ว่าเป็นโซลูชันที่ครบวงจร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอาชญากรทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี   เพราะเครื่องมือจะประกอบไปด้วยฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ที่สามารถสร้างอีเมล spear-phishing การรวมมัลแวร์ที่หลีกเลี่ยงการตรวจจับ การสร้างหน้าฟิชชิง การแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และการสอนเทคนิคแฮ็กต่าง ๆ   โดย Generative AI Tool นี้เองที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์มีฟังก์ชันการทำงานได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งนั่นก็คือ ความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วและขนาดที่เพิ่มมากขึ้น   แน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถสร้างแคมเปญฟิชชิงได้อย่างรวดเร็วและเปิดตัวใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น และจุดนี้เองที่ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามตัดสินใจเฝ้าติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ FraudGPT รวมถึงแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างใกล้ชิด เพราะก่อนหน้านี้แฮ็กเกอร์เคยเป็นผู้ค้าในตลาด Dark Web หลายแห่งเลยก็ว่าได้   นอกจากนี้ แฮ็กเกอร์ยังปรับใช้วิธีการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เพื่อหลบหลีกกลโกงต่าง…

ความเสี่ยงไซเบอร์ ‘Critical Infrastructure’

Loading

  อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Critical Infrastructure) มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ หากมีปัญหาใด ๆ ที่ทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก แน่นอนว่าจะนำมาสู่ผลกระทบที่เป็นวงกว้างและสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว   จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการเผยแพร่รายงานที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวของพนักงานเพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นในการระบุบ่งชี้และรายงานเกี่ยวกับความพยายามในการโจมตีผ่านฟิชชิ่ง (phishing)   โดยรายงานนี้มีชื่อว่า Human Cyber-Risk Report: Critical Infrastructure มีการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงที่มาจากมนุษย์ภายใต้ภาคส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจำลองฟิชชิ่ง (Phishing Simulation) ถึง 15 ล้านครั้ง และการโจมตีทางอีเมลที่ได้มีการรายงานไว้ในปี 2565 ประมาณ 1.6 ล้านคนที่เข้าร่วมในโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความปลอดภัย   ภายในปีแรกของการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมดังกล่าวนี้พบว่า กว่า 65% ของผู้เข้าร่วมสามารถตรวจพบและรายงานการโจมตีทางอีเมลที่เป็นอันตรายได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นรูปธรรม   นอกจากนี้ ในงานวิจัยยังพบอีกว่า พนักงานได้แสดงออกถึงการตรวจจับภัยคุกคามสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20 % โดยองค์กรเหล่านี้มีอัตราการตรวจจับภัยคุกคามพีคที่สุดคือ 10 เดือน ซึ่งถือว่าดีกว่าค่าเฉลี่ย 12…

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลรัสเซียใช้ Teams ส่งข้อความหลอกเอาข้อมูล

Loading

  Microsoft เผยว่าแฮ็กเกอร์ในกองทัพรัสเซียใช้ระบบแชตใน Microsoft Teams ในการส่งข้อความฟิชชิงในการล้วงข้อมูลเหยื่อ   Microsoft เรียกกลุ่มนี้ว่า Midnight Blizzard ในอีกชื่อหนึ่งคือ NOBELIUM หรือ Cozy Bear ที่หลายประเทศเชื่อว่าเป็นปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย   วิธีการโจมตีก็คือ Midnight Blizzard จะใช้บัญชี Microsoft 365 ของธุรกิจขนาดเล็กที่แฮ็กมาได้ในการสร้างโดเมนใหม่ที่ปลอมตัวเป็นเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และส่งข้อความผ่าน Teams เพื่อหลอกขอข้อมูลล็อกอินจากองค์กรเป้าหมาย   Microsoft ชี้ว่าปัจจุบันมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อแล้วราว ๆ 40 องค์กรทั่วโลก ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่ใช่รัฐ บริการไอที บริษัทเทคโนโลยี บริษัทอุตสาหกรรม และองค์กรสื่อ   ที่แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อบัญชีและเพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้ามาในรายชื่อติดต่อ และส่งข้อความ Team ที่ติดป้ายด้านความมั่นคงปลอดภัยและชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความสนใจให้เหยื่อเปิดข้อความ   Microsoft ได้ปิดโดเมนที่มีปัญหาแล้ว แต่ยังตรวจสอบเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไป     ที่มา   therecord    …

แคสเปอร์สกี้ เปิดข้อมูล ‘ไทย’ รั้งอันดับ 3 ของอาเซียน ‘ฟิชชิง’ ระบาดหนัก

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบ ฟิชชิงในไทยในปี 2565 พบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบฟิชชิงในประเทศไทยในปี 2565 โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทย   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิงจำนวน 6,283,745 ครั้ง ในประเทศไทย โดยรวมแล้วแคสเปอร์สกี้ป้องกันผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ทั้งหมด 43,445,502 รายการ พบผู้ใช้ในเวียดนาม มาเลเซีย และไทย ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด   สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 มีการส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ จำนวน 23,616 รายการ บนเว็บไซต์ของสำนักงาน และก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 1.155 หมื่นล้านบาท     นายเอเดรียน…

Phishing เตือนภัยกลโกงในโลกออนไลน์

Loading

  ในช่วงนี้กระแสโกงเงินในโลกออนไลน์กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นมัลแวร์ดูดเงิน การเข้าควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล ซึ่งได้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้แอดมินจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งในกลโกงที่พบได้บ่อยที่สุดบนโลกออนไลน์อย่าง “Phishing” (ฟิชชิ่ง)   Phishing คืออะไร Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้วิธีทางจิตวิทยาร่วมด้วย ทั้งกลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย โดยทั่วไปจะนิยมให้กดที่ ‘ลิงก์’ เพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นและทำการกรอกข้อมูล โดยเว็บไซต์นั้นก็จะทำเลียนแบบจนเกือบเหมือนกับฉบับเลย   Phishing เป็นคำเปรียบเทียบที่พ้องเสียงมาจาก Fishing ที่แปลว่า การตกปลา โดยในการตกปลานั้นต้องมีเหยื่อล่อให้ปลามาติดเบ็ด จึงเปรียบเทียบถึงการสร้างสถานการณ์โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือเว็บไซต์ปลอม เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาติดเบ็ด   ที่มาของคำว่า Phishing คำว่า “Phishing” เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 1990 เมื่อแฮ็กเกอร์ได้ใช้อีเมลปลอมในการล้วงข้อมูลของเหยื่อที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แฮ็กเกอร์ในยุคนั้นถูกเรียกว่า “Phreaks” (Freaks+Phone) และได้กลายมาเป็นคำว่า “Phishing” (Fishing+Phone) อย่างทุกวันนี้   ตัวอย่างของ Phishing ที่ต้องระวัง 1. Deceptive…

Phishing-as-a-Service มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งาน ‘ไมโครซอฟท์’

Loading

  Phishing-as-a-Service เป็นเซอร์วิสที่ถือได้ว่าโหดเหี้ยมมากตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้   วันนี้ผมอยากให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับ “Greatness” Phishing-as-a-Service (PhaaS) แพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถสร้างไฟล์แนบลิงก์และทำเพจปลอมเพื่อเชื่อมต่อไปยังระบบ login ของ Microsoft 365   โดยมีการออกแบบเพจให้เหมาะกับธุรกิจของผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 มีการตรวจพบแคมเปญฟิชชิ่งหลายรายการที่ใช้ PhaaS ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือน ธ.ค. 2565 และ เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา   กลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ คือ โรงงาน ธุรกิจด้านสุขภาพ และบริษัทด้านเทคโนโลยีในแถบสหรัฐ สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ และแคนาดา แต่ที่น่าสนใจคือ มากกว่า 50% ของเป้าหมายทั้งหมดอยู่ที่สหรัฐ   มีการเปิดเผยจากนักวิจัยเกี่ยวกับ PhaaS ว่าต้องมีการปรับใช้และกำหนดค่า phishing kit ด้วยคีย์ API ที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ขั้นสูงของเซอร์วิสได้ง่ายขึ้น   โดยฟิชชิ่งคิตและ API จะทำงานเป็น proxy ไปยังระบบตรวจสอบความถูกต้องของ…