เปิดแผนปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์” ปี 2565-2570

Loading

ปัจจุบันเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก “อาชญากรไซเบอร์” ได้มุ่งโจมตีผู้ใช้งานทั้งในส่วนของคนทั่วไป และองค์กรธุรกิจต่างๆ

การมีแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งประเทศไทย ก็ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายของ “อาชญากรไซเบอร์” จึงต้องมีแผนเตรียมการรับมือ

‘ไซเบอร์ซีเคียวริตี้’ ความท้าทายครั้งใหญ่ขององค์กรยุคใหม่

Loading

  การทำ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) เติบโตรวดเร็วมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต รวมถึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาดและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ขณะที่การทำงานของคนถูกเปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมท (Remote Working) ส่งผลให้องค์กรทุกขนาด ต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่าน คลาวด์ (Cloud)   นางสาวปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ข้อมูลจาก Gartner บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ระบุว่า ในปี 2025 องค์กรทั่วโลก จะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4%   ขณะที่ประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 36.6% เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ทำให้ระบบ Security เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะองค์กรต่างต้องรักษาข้อมูล (Data) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจให้ปลอดภัย     “องค์กรที่ใช้ย้ายไปใช้คลาวด์ จะต้องวางแผนและดึงเรื่อง Security ให้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และต้องวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น”     ความท้าทายใหม่ด้าน Security ในปี…

เปิด ภัยไซเบอร์ ปี 66 “แฮ็กเกอร์ตามสั่ง” มาแน่ ยิ่งผสมความสามารถ AI ยิ่งน่ากลัว

Loading

  ปี 2565 นับเป็นปีของภัยไซเบอร์ ภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายต่อโลกธุรกิจเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ปี 2566 ความเข้มข้นของภัยไซเบอร​์จะยิ่งเพิ่มดีกรีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น จับตากระบวนการฟอกเงิน ที่อาศัยพลังของ “แมชชีนเลิร์นนิง”!   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจําประเทศไทยของ “ฟอร์ติเน็ต” ผู้เชี่ยวชาญโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดข้อมูลของ ศูนย์วิเคราะห์ภัยฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ (FortiGuard Labs) รวบรวมข้อมูล Threat Intelligence และมอนิเตอร์ภัยต่างๆ จากลูกค้าและภัยคุกคามทั่วโลก มองภัยคุกคามที่ต้องระวังปีนี้ รวมถึงไทย และแนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 2566     แนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 66   ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ วิเคราะห์ภาพรวมของภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และต่อไปในอนาคตที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกว่า จากการโจมตีแบบ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ตามสั่ง ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่จากเป้าหมายใหม่ๆ เช่น ระบบการประมวลผล (Edge) ที่ปลายทาง หรือโลกออนไลน์ต่างๆ   จะเห็นได้ว่าปริมาณ…

10 Cyber Threats ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023

Loading

  ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ผู้โจมตีไม่หยุดที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เทคนิค และวิธีการโจมตีให้ก้าวหน้าขึ้นเช่นกัน ในบทความนี้ ทีมงานได้รวบรวมข้อมูล ภัยคุกคามไซเบอร์ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ซึ่งบางข้ออาจเกิดขึ้นแล้วในปี 2022 ที่ผ่านมา   โดยจุดมุ่งหมายของบทความนี้เพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันภัยที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงตรวจสอบและอัปเดตแนวทางการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2023 ที่กำลังจะมาถึง     การคาดการณ์ Cyber Threats ทั่วโลก   1. การโจมตีทางไซเบอร์จะทำโดยผู้โจมตีทั่วไป ที่ไม่ได้มาจากองค์กรหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง   แฮกเกอร์ที่ปฏิบัติการแถบตอนเหนือของอเมริกาและยุโรปส่วนใหญ่ยังเด็ก ไม่ได้มีเป้าหมายเรื่องการทำเงิน หรือมีรัฐบาลสั่งให้ทำ แต่อาจด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรือ ต้องการประลองทักษะความสามารถที่มี   2. ยุโรปอาจเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการโจมตี Ransomware แซงหน้าสหรัฐอเมริกา   Ransomware ยังคงมีผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก โดยรายงานระบุว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี ransomware มากที่สุด แต่เป็นไปได้ว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีปัจจัยทางบวกด้านการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำผิด สำหรับการโจมตี Ransomware และการโจมตีทางไซเบอร์อื่น ๆ สวนทางกับยุโรปที่จำนวนเหยื่อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการคาดการณ์ว่ายุโรปมีโอกาสสูงตกเป็นเป้าหมายหลักในการถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่เล่นงาน  …

ชี้หน่วยงานรัฐเสี่ยงโดนโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นหลังก.ม.บังคับให้บริการปชช.ผ่านออนไลน์

Loading

  สกมช. เผยแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังไทยจะบังคับใช้ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ม.ค. 66   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ   ล่าสุดได้มีกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565  ที่จะบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 66 ซึ่งมุ่งผลักดันให้หน่วยงานของรัฐจะต้องให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการต่อประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะหลายหน่วยงานรัฐยังขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานดูแลด้านไอทีจำนวนมาก   พลอากาศตรี อมร กล่าวต่อว่า สกมช. มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อยกระดับประเทศเพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้มีการประกาศนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ที่มุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างศักยภาพ การป้องกัน การรับมือ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคาม พร้อมฟื้นฟูระบบให้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของประเทศ และเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น.     ——————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                                เดลินิวส์ออนไลน์         …

ยอดมัลแวร์พุ่ง!! อาชญากรไซเบอร์โจมตีด้วยไฟล์อันตราย 400,000 ไฟล์/วัน

Loading

  ในปี 2022 ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   ในปี 2022 ระบบตรวจจับของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่าสัดส่วนของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 181% ทุกวัน การค้นพบต่าง ๆ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Kaspersky Security Bulletin (KSB) ซึ่งเป็นการคาดการณ์ และรายงานเชิงวิเคราะห์ประจำปีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์   ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวันในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา จากการเปรียบเทียบกับปี 2021 มีการตรวจพบไฟล์อันตรายประมาณ 380,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วในปี 2022 ระบบของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122…