‘พาโลอัลโต’ เปิดเทรนด์ซิเคียวริตี้ เขย่าสมรภูมิธุรกิจปี 2566

Loading

  “พาโลอัลโต” เปิดคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังปี 2566 มาดูกันว่า 5 เทรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตจะมีอะไรบ้าง   ปี 2565 อาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าการโจมตีไปที่โครงสร้างระบบ ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งยังมีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อโจมตีคริปโทเคอร์เรนซี การทำงานแบบไฮบริด รวมไปถึงเอพีไอที่ไม่ปลอดภัย โดยภาพรวมนับว่าสถานการณ์รุนแรงขึ้นและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจจำนวนมากขึ้น   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยว่า องค์กรธุรกิจต่างยอมรับว่า เคยพบกับปัญหาด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และปัญหาข้อมูลรั่วไหลในปีที่ผ่านมา   โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 11 ครั้ง แต่สิ่งที่น่ากังวลไปกว่าก็คือ มีเพียง 2 ใน 5 ที่ระบุว่าคณะกรรมการของบริษัทตระหนักมากขึ้นในเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ควบคู่ไปกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น     เตรียมรับมือภัยคุกคามยุคใหม่   เอียน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ภาคสนาม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทุกวันนี้ทำให้ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนแนวทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา   ผู้บริหารต้องเลือกใช้โซลูชัน เทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางที่ทันสมัยกว่ากลไกที่เคยใช้ในอดีต ทั้งยังต้องระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2566…

เมืองแอนต์เวิร์ปถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนบริการสาธารณะทำงานติดขัด

Loading

  สำนักข่าว Het Laatste Nieuws รายงานว่าเทศบาลเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียมกำลังเร่งฟื้นฟูระบบโครงข่ายของทั้งเมือง หลังแฮ็กเกอร์ปริศนาเข้าโจมตีเซิร์ฟเวอร์ Digipolis ผู้ดูแลซอฟต์แวร์บริหารจัดการของเมือง จนได้รับผลกระทบทั้งระบบ   ระบบโครงข่ายของการบริการสาธารณะของทั้งเมืองได้รับผลกระทบจนทำงานติดขัดตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ โรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก ตำรวจ ไปจนถึงสถานีดับเพลิง แต่การให้บริการฉุกเฉินยังใช้งานได้ตามปกติ   อเล็กซานดรา ดาร์แชมบูร์ (Alexandra d’Achambeau) หนึ่งในสมาชิกสภาเมือง ออกมาเผยว่าระบบอีเมลของเมืองก็ใช้งานไม่ได้เช่นกัน   ทั้งนี้ เทศบาลกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถระบุตัวตนของแฮกเกอร์ และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าระบบไอทีจะกลับมาใช้งานได้เมื่อใด   ด้าน นายกเทศมนตรีของแอนต์เวิร์ปประเมินว่าผลกระทบที่เกิดจากการโจมตีในครั้งนี้อาจกินเวลาไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมเลยทีเดียว     ที่มา Bleeping computer         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลในฝรั่งเศสต้องย้ายผู้ป่วยกะทันหัน

Loading

  โรงพยาบาลร่วมสอนหลักอังเดรมินโยในเขตเมืองของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต้องปิดระบบโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์หลังจากถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   คิชาร์ เดเลปิแอร์ (Richard Delepierre) หนึ่งในกรรมการกำกับดูแลโรงพยาบาลชี้ว่าผู้ก่อเหตุได้เรียกค่าไถ่เข้ามายังโรงพยาบาลแล้ว แต่ทางโรงพยาบาลตัดสินใจที่จะไม่จ่าย   ฟรองชัวส์ บรอน (François Braun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและการป้องกันเผยว่าสถานการณ์ปัจจุบันคือโรงพยาบาลแห่งนี้สามารถให้บริการได้เฉพาะแบบวอล์กอินและให้คำปรึกษาเท่านั้น แถมยังจำใจต้องย้ายผู้ป่วย 6 รายจากแผนกทารกแรกเกิดและไอซียูไปยังสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ   หน่วยการแพทย์ระดับภูมิภาค (ARS) แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีนัดพบแพทย์ให้พยายามติดต่อแพทย์เจ้าของไข้หรือแผนกที่ใช้บริการอยู่ เพื่อรับคำแนะนำว่าควรจะย้ายไปรับการบริการในส่วนใดต่อไป   ขณะที่ ชอง-โนล บาคอต (Jean-Noël Barrot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลและโทรคมนาคมชี้ว่าโรงพยาบาลสามารถแยกระบบที่ติดมัลแวร์ออกไปเพื่อลดการแพร่กระจายได้แล้ว รวมทั้งยังได้แจ้งไปยังหน่วยงานไซเบอร์หลักของฝรั่งเศส (ANSSI) แล้วด้วย   โดยทาง ANSSI อยู่ระหว่างการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้นร่วมกับสำนักงานอัยการปารีสอยู่     ที่มา bleepingcomputer       ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

เผย 5 รูปแบบภัยไซเบอร์จ่อรอโจมตีในปีหน้า!!

Loading

    เมื่อโลกเข้าสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ คนหันมาใช้ชีวิตโดยพึ่งพาออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ “อาชญากรรมไซเบอร์” ก็ขยายตัวสูงตามไปด้วย   เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆที่เตรียมโจมตีโดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ใช้งานทั่วไป หรือถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งแนวโน้มภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร ทาง ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร ได้เผยผลการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์จาก ฟอร์ติการ์ด แล็บส์ (FortiGuard Labs)     โดยแนวโน้มภัยคุกคามใหม่ในปี 2023 หรือ ปีหน้า และต่อไปในอนาคต ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ   1. การเติบโต แบบถล่มทลายของการให้บริการอาชญากรรมบนไซเบอร์ตามสั่ง หรือ Cybercime-as-a-Service (CaaS) จากความสำเร็จของอาชญากรไซเบอร์กับการให้บริการแรนซัมแวร์ในรูปแบบ as-a-service (RaaS) ทางฟอร์ติเน็ตคาดการณ์ว่าจะมีกระบวนการหรือเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ๆ จำนวนมากที่จะมาในรูปแบบของ as-a-service ผ่านทางเว็บมืด (dark web) และยังเป็นจุดเริ่มต้นของโซลูชั่นให้บริการแบบ a-la-carte หรือให้เลือกได้จากเมนูอีกด้วย   ภาพ pixabay.com   หนึ่งในวิธีการป้องกันการโจมตีใหม่ ๆ นี้ คือการให้การศึกษาและอบรมเรื่องของความตื่นรู้ ทางด้านความ ปลอดภัยไซเบอร์ โดยในหลายองค์กรสร้างโปรแกรมฝึกอบรมด้านความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับพนักงาน และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เช่น ภัยคุกคามที่ใช้ เอไอ ในการทำงาน   2. บริการสอดแนมตามสั่ง (Reconnaissance-as-a-Service) การโจมตีทุกวันนี้ มีการล็อคเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ผู้คุกคามจึงหันไปจ้าง “นักสืบ” จากเว็บมืดให้รวบรวมข้อมูลเชิงลึก หรือข่าวกรองที่เกี่ยวกับเป้าหมายก่อน ที่จะทำการโจมตีมากขึ้นเหมือนการจ้างนักสืบเอกชน บริการ นี้ ยังอาจเสนอสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นพิมพ์เขียว หรือ blueprint ของการโจมตี ที่จะให้มาพร้อมกับข้อมูลโครงสร้างระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร บุคลากรที่เป็นแกนหลักด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่องค์กรมีอยู่ รวมไปถึงช่องโหว่ภายนอกที่รู้กัน ตลอดจนจำนวนเซิร์ฟเวอร์หรือช่องโหว่ภายนอกที่มี แม้กระทั่งข้อมูลการถูกบุกรุก หรืออื่นๆ เพื่อช่วยให้อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีเป้าหมายได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ   การล่อหลอกอาชญากรไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีลวงจะให้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยตอบโต้การทำงานของ RaaS แล้วยังรวมถึง CaaS ในขั้นตอนของการสอดแนมไปด้วย จะช่วยให้องค์กรสามารถรู้ทันศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบในการป้องกัน   ภาพ pixabay.com   3. กระบวนการฟอกเงินที่อาศัยพลังของแมชชีนเลิร์นนิง โดยจะมีการฟอกเงินที่แยบยลมากขึ้น โดยอาศัยการทำงานของระบบอัตโนมัติ ซึ่งในอดีตการจะล่อลวงให้คนเข้ามาติดกับได้นั้นต้องผ่าน กระบวนการที่ใช้ระยะเวลานาน จากการสำรวจพบว่า อาชญากรไซเบอร์เริ่มใช้แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อสรรหาบุคคล ซึ่งช่วยให้ระบุตัว ล่อที่มีศักยภาพได้ดีขึ้น  …

Google เผยชื่อบริษัทขายสปายแวร์สอดแนมผู้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัทยักษ์ใหญ่

Loading

  กลุ่มวิเคราะห์ภัยคุกคาม (TAG) ของ Google รายงานบริษัทจากบาเซโลนารายหนึ่งขายสปายแวร์ที่ใช้ช่องโหว่ Zero Days ของ Chrome, Firefox และ Windows Defender ในการสอดแนมอุปกรณ์ PC   บริษัทรายนี้มีชื่อว่า Variston IT ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบปรับแต่งได้ (custom security solution) โดย TAG เทียบ Variston กับบริษัทอย่าง RCS Labs และ NSO Group ที่ขายอุปกรณ์สอดแนมให้กับรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก   ช่องโหว่ที่ Variston ใช้ประโยชน์ในการนำไปสอดแนมผู้ใช้งาน ได้แก่ –   ช่องโหว่ Heliconia Noise ที่สามารถเปิดใช้งานโค้ดแบบระยะไกลบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ Google Chrome ในเวอร์ชัน 90.0.4430.72 จนถึง 91.0.4472.106 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างเดือนเมษายน –…

สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…