“สกมช.”ปิดศูนย์เฝ้าระวังภัยไซเบอร์ประชุมเอเปค เจอ 84 ภัยคุกคาม รับมือได้ไม่มีผลต่อการประชุม

Loading

  สกมช. ประกาศปิดศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ หลังเสร็จสิ้นภารกิจการประชุม APEC 2022 เผย พบเหตุการณ์ภัยคุกคามฯ รวม 84 เหตุการณ์ สามารถรับมือไม่มีผลกระทบต่อการประชุม พร้อมรับมือการจัดงานใหญ่ในอนาคตต่อไป   พลอากาศตรี อมร  ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจรเพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565 ได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งมีเลขาธิการฯ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างการประชุมเอเปคระหว่างวันที่ 11 – 20 พ.ย. ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมหน่วยงานสำคัญ 34 หน่วยงาน   ได้สรุปรายงานความพร้อมของระบบรวม 122 ระบบ พบเหตุการณ์ภัยคุกคามฯ รวม 84 เหตุการณ์ แบ่งเป็น   ●    ระบบของหน่วยงานสำคัญ 122 ระบบ พบเหตุการณ์ภัยคุกคาม 4 เหตุการณ์   ●    ระบบ…

เอฟบีไอเผย ‘ติ๊กต๊อก’ สร้างความกังวลด้านความมั่นคง

Loading

FILE – A TikTok logo is displayed on a smartphone in this illustration taken Jan. 6, 2020.   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ (FBI) กล่าวว่า เอฟบีไอเป็นกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติ ต่อสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยม ติ๊กต๊อก (TikTok) ของจีน ซึ่งกำลังขออนุมัติจากทางการสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจในอเมริกาได้ต่อไป   เรย์ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงมาตุภูมิของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร ว่าด้วยเรื่องภัยคุกคามจากทั่วโลกต่อสหรัฐฯ โดยระบุว่า ความกังวลที่มีต่อ TikTok นั้นรวมถึงการที่รัฐบาลจีนสามารถใช้ TikTok เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้หลายล้านคน และรัฐบาลปักกิ่งยังอาจสามารถควบคุมชุดคำสั่งอัลกอริทึมและซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์สื่อสารหลายล้านเครื่องได้ด้วย   ผอ.เอฟบีไอ ระบุว่า “หน่วยข่าวกรองข้ามชาติและภัยคุกคามทางเศรษฐกิจจากจีนนั้น คือภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดในระยะยาว ต่อความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ”   ความเชื่อมโยงระหว่างแอปป์ TikTok กับรัฐบาลจีน…

เทคโนโลยีที่อาจ “สอดแนม” คุณ!!!

Loading

  เมื่อเราก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ๆ ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุด และเพลิดเพลิน ผสมปนเปได้ด้วยความสะดวกสบาย ไปกับประโยชน์เชิงบวกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับวิธีการทำงาน การเล่น การบันเทิง พักผ่อน และการใช้ชีวิต   แต่เหรียญนั่นมีสองด้าน ดาบนั่นมีสองคม เราต้องมีสติอยู่เสมอและเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมอยากบอกเล่าถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่อันตรายที่สุด อีกประเภทที่มีผลทั้งในแง่บวกและลบ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด     เทคโนโลยีการสอดแนมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Spying Smart Home Devices)     เพื่อให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมตอบคำถาม รับคำสั่ง และมีประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องฟัง และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา และนิสัยประจำของเราตลอดเวลา ปัจจุบันแกนหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ ลำโพงอัจฉริยะ ที่จะเชื่อมต่อและส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฮมชิ้นอื่นๆภายในบ้าน ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบแนวคิด I.O.T หรือชื่อเต็มๆว่า Internet Of Thing คือการเชื่อมต่อถึงได้อย่างครอบคลุมจากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยสั่งเปิด-ปิด ผ่านระบบผ่านลำโพงอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และอีกมากมาย…

รู้จัก “RAT” โจมตีสมาร์ตโฟน-แอปฯ ปลอมหน่วยงานรัฐดูดเงิน

Loading

  รู้จัก “RAT” โจมตีสมาร์ตโฟนทำผู้สูญเงินรวมกันหลายล้านบาท หลังดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกรมสรรพากรติดตั้งในสมาร์ตโฟนของตัวเอง ด้านศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม ตรวจพบ มัลแวร์ตัวนี้ตั้งแต่เดือน ส.ค. ระหว่างวิเคราะห์ภัยคุกคามทาง   ทันทีที่เป้าหมายหลงเชื่อ และดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า REVENUE.apk จากเว็บไซต์ปลอมของกรมสรรพากรที่ผู้ไม่หวังดีส่งลิงก์มาให้ ลงในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของตัวเอง RAT หรือ Android Remote Access Trojan จะเริ่มขโมยข้อมูลต่าง ๆ ในโทรศัพท์ ทั้งชื่อนามสกุล ข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับธนาคารที่ใช้ในอุปกรณ์เป้าหมาย และรหัสผ่านต่าง ๆ แต่เงินจะหายไปจากบัญชีได้ก็ต่อเมื่อมิจฉาชีพรู้รหัสผ่านจากประวัติการใช้งาน   “พิศุทธิ์ ม่วงสมัย” หัวหน้าฝ่ายเทคนิคศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเปรียบเทียบหน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรปลอม กับ เว็บไซต์จริง สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด นอกจาก URL หรือ ที่อยู่ คือเว็บไซต์ปลอมจะแนบลิงก์ “คลิกเพื่อดาวน์โหลด” ไว้ที่หน้าแรกให้เป้าหมายดาวน์โหลดแอปฯ ที่เป็นอันตราย โดยแอปฯ จะถูกตั้งชื่อ และ ไอคอน ให้ดูเหมือนเป็นของกรมสรรพากรเช่นกัน  …

FBI ออกโรงเตือนภัยไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ที่อันตรายถึงตาย

Loading

  ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ มีแนวโน้มอันตรายและแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ   ในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ FBI ออกคำเตือนสถาบันทางการแพทย์หลายต่อหลายครั้งว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตซอฟแวร์มานานอาจเสี่ยงต่อการแฮ็กได้   ตัวอย่างของการแฮ็กโรงพยาบาลผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์คือการแฮ็กศูนย์การแพทย์ OakBend ในรัฐเท็กซัส ทำให้แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลประวัติลูกค้าไปมากกว่า 1 ล้านร้าย   องค์กรด้านการแพทย์ในปัจจุบันต่างพึ่งพาการใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้ในงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลคนไข้และส่งยาที่ใช้ในการรักษา เทคโนโลยีเหล่านี้นำมาซึ่งความเสี่ยงในการแฮ็ก โดยเฉพาะการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งสามารถขโมยข้อมูลและปิดระบบไปพร้อม ๆ กันด้วย   รายงานข่าวจาก NBC ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาอ้างรายงานจากสถาบันวิจัย Ponemon Institute ในสหรัฐฯ ระบุว่าองค์กรทางการแพทย์ที่ต้องประสบกับการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จะมีตัวเลขการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น   ทั้งนี้ ทาง FBI และสภาครองเกรสได้ยื่นเสนอกฎหมายที่บังคับให้สำนักงานอาหารและยา (FDA) ออกแนวทางด้านการป้องกันภัยทางไซเบอร์ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งทาง FDA นอกจากจะไม่ขัดข้องแล้วยังขออำนาจในการสร้างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย   นอกจากนี้ สถาบันวิจัยต่าง ๆ อย่างมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ต่างก็ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าภัยทางไซเบอร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสถาบันทางการแพทย์และคนไข้ที่มารับบริการอย่างร้ายแรงเพียงใด   อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19…

แคสเปอร์สกี้แนะ 4 ข้อ เสริมแกร่งไซเบอร์ซิเคียวริตีไทย

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนที่แข็งขันมากขึ้น แนะ 4 เรื่องในการเสริมความแกร่งซัปพลายเชนไอซีที พบไตรมาส 2 ปีนี้ คนไทย 20% เจอภัยคุกคามผ่านเว็บเกือบ 5 ล้านครั้งบนคอมพิวเตอร์   น.ส.จีนี่ กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT supply chain) กำลังเพิ่มขึ้น การโจมตีลักษณะนี้เป็นอันตราย เนื่องจากสามารถเกิดช่องโหว่ได้ในทุกเฟส ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการพัฒนา การผลิต การแจกจ่าย การจัดหาและการใช้งาน ไปจนถึงการบำรุงรักษา ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อรัฐบาล องค์กร และสาธารณชน   ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ แคสเปอร์สกี้ตรวจพบภัยคุกคามทางเว็บที่แตกต่างกัน 4,740,347 ครั้งบนคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ในประเทศไทย โดยรวมแล้วมีผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 20.1%…