สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

สกมช. จับมือ DGA ยกระดับป้องกันภัยทางไซเบอร์ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างปลอดภัย

Loading

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน

แฮ็กเกอร์ใช้ไฟล์ Word เป็นพาหะนำมัลแวร์เข้าโจมตี

Loading

ไฟล์สกุลหนึ่งที่ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีคงจะไม่พ้นไฟล์ Word แต่คุณทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันไฟล์ที่ดูธรรมดา ๆ นี้นั้นกลับถูกนำมาใช้เป็นสิ่งที่จะทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ

ช่องโหว่ ‘VPN Software’ เพียงเล็กน้อยก็โดนแฮ็กได้

Loading

  แฮ็กเกอร์พยายามหาช่องโหว่เพื่อเจาะระบบและโจมตี เวลานี้ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีของแรนซัมแวร์อย่างหนักในช่วงเวลานี้   ความเจริญก้าวหน้าทางดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ VPN หรือ Virtual Private Network เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลายคนและหลายองค์กรที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานในปัจจุบัน   แต่แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่ตามมาด้วยนั่นคือ ภัยคุกคามที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พยายามหาช่องโหว่ไม่ว่าจะเป็นข้อบกพร่องต่างๆ เพียงเล็กน้อยเพื่อเจาะระบบและโจมตีด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งความเสียหายขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่าโดนโจมตีมากน้อยเพียงใด   สำหรับวันนี้ผมจะขอพูดถึงกรณีที่กำลังตกเป็นประเด็นอย่าง Libreswan VPN ที่มีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการตรวจพบช่องโหว่ที่สำคัญในซอฟต์แวร์เครือข่ายทำให้ผู้ใช้หลายล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างไม่รู้ตัว   โดยช่องโหว่ที่ว่าคือ CVE-2024-3652 ใน Libreswan เวอร์ชัน 3.22 – 4.14 ที่เกี่ยวข้องกับการรับส่งข้อมูลเครือข่ายและการตรวจสอบ incoming packet ที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจนำไปสู่การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS)   กล่าวคือ การโจมตีที่มีแหล่งที่มาเพียงแหล่งเดียวแต่มีคำขอส่งข้อมูลมุ่งไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในปริมาณที่มากเกินไปเพื่อทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้   สำหรับเคสนี้แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้และส่ง packet ที่ทำขึ้นเป็นพิเศษส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ VPN เพื่อทำให้ระบบทั้งหมดล่ม กระทบต่อบริการที่สำคัญและเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนซึ่งอาจส่งผลร้ายแรง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ใช้ VPN สำหรับการเข้าถึงระยะไกลและการส่งข้อมูลอย่างปลอดภัยเป็นประจำ แต่โชคดีที่ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้วในซอฟต์แวร์เวอร์ชัน 3.0 –…

ป้องกัน! อาชญากรจากโลกออนไลน์ด้วย AI Cybersecurity

Loading

  SHORT CUT •  เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านการโจมตี •  พัฒนาระบบตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง ระบบเหล่านี้สามารถจดจำและวิเคราะห์รูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ที่ซับซ้อนได้ •  ระบบ AI จะมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในส่วนของการสอนและฝึกอบรมบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญมากพอ   ภัยจากโลกออนไลน์ในตอนนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนน่าจะเคยพบเจอกันมาเป็นอย่างดี และไม่ว่าจะองค์หรือตัวบุคคลก็ต้องทำเรียนรู้การป้องกัน การดำเนินงานของตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในช่วงที่ผ่านมาให้เข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ นั้นได้กลายเป็นเครื่องอันทรงพลังที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง รวมไปถึงในวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย และ AI ยกระดับประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนมาสู่การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   พัฒนาการของ AI ในโลกของ Cybersecurity เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการด้านความเร็ว ความแม่นยำของการตรวจจับภัยคุกคาม การตอบสนอง และการบรรเทาผลกระทบเพิ่มขึ้นมากอย่างก้าวกระโดด  …

กสทช.-สกมช. ลุยปัดฝุ่นศูนย์ USO NET สู่แหล่งการเรียนรู้ป้องภัยไซเบอร์

Loading

  สำนักงาน กสทช.-สกมช.หนุนมาตรการขจัดภัยไซเบอร์ชูศูนย์ USO NET เสริมสกิลให้ความรู้ประชาชน-นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เสริมเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเป็นการยกระดับทักษะทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ   นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจในการผลักดันบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่ำหรือ พื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมให้กับประชาชนทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเท่าทันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า…