หลังจากการสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี สหรัฐฯจะหลีกเลี่ยงสงครามกับอิหร่านอย่างไร

Loading

พลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์”ของอิหร่าน ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/ รายงานโดย ปรีดี บุญซื่อ จากการอนุมัติของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้กับการโจมตีด้วยเครื่องโดรนเพื่อสังหารพลเอกกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ “คุดส์” ของอิหร่าน ที่สนามบินแบกแดด อิรัก เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา กล่าวกันว่า เป็นปฏิบัติการที่อุกอาจที่สุดของสหรัฐฯ นับจากปฏิวัติของอิหร่านเมื่อปี 1979 พลเอกสุไลมานีถือเป็นบุคคลที่มีอำนาจอิทธิพลมากสุดอันดับสองของอิหร่าน และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ ที่เป็นกองกำลังพิเศษในต่างประเทศของกองกำลังพิทักษ์อิสลามของอิหร่าน สุไลมานีมีบทบาทสำคัญที่กำหนดความเป็นไปต่างๆที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง เช่น สงครามการเมืองในซีเรีย และสร้างกองกำลังอาสาสมัครกลุ่มชีอะห์ในอิรัก เพื่อต่อสู้กับกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอซิส พลเอกเดวิด เพทราอุส อดีตผู้อำนวยการ CIA และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอิรักปี 2007-2008 กล่าวว่า “หากจะเปรียบกับตำแหน่งในสหรัฐฯ กาเซ็ม สุไลมานีคือคนที่ดำรงตำแหน่ง ทั้งผู้อำนวยการ CIA ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ และทูตพิเศษของประธานาธิบดีต่อภูมิภาค” รัฐบาลสหรัฐฯในสมัยจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช และบารัค…

ประเทศใดบ้างอาจตกเป็นเป้าการโจมตีของอิหร่าน

Loading

Pro-Iranian militiamen and their supporters set a fire during a sit-in in front of the U.S. embassy in Baghdad, Iraq, Wednesday, Jan. 1, 2020. สถานการณ์การเมืองโลกกำลังร้อนระอุ หลังอิหร่านประกาศว่าจะแก้แค้นสหรัฐฯ ที่ใช้โดรนสังหารนายพลคนสำคัญ พลตรี กาส์เซม สุไลมานีของกองทัพอิหร่านในกรุงแบกแดดประเทศอิรัก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯกล่าวว่าหากเกิดการโจมตีโดยอิหร่าน อเมริกาจะโต้กลับอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้นำสหรัฐฯกล่าวด้วยว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุสถานที่ในอิหร่าน 52 แห่งที่อเมริกาตั้งเป้าไว้ เขากล่าวด้วยว่าบางแห่งเป็นสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม นอกจากนี้อเมริกาส่งกำลังไปยังตะวันออกกลางเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในภูมิภาคดังกล่าวแล้ว นักวิเคราะห์รวมถึงเจ้าหน้าข่าวกรองและเจ้าหน้าที่การทูตต่างพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ พันธมิตรของสหรัฐฯประเทศต่างๆ อาจจะถูกโจมตีโดยอิหร่านได้ด้วยเช่นกัน President Donald Trump holds up a sign given to him by a supporter…

จับตา 13 ประเด็นร้อนในเวทีโลกปี 2020 กับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

ปี 2019 เป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญมากมายในเวทีโลกให้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่ปะทุขึ้นเป็นระยะๆ กระแสเรียกร้องให้พลเมืองโลกตระหนักถึงวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างจริงจัง ความล้มเหลวของประชุมสุดยอดผู้นำระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือที่ยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม รวมถึงความยืดเยื้อของ Brexit และการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกจากตำแหน่ง THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของประเด็นสำคัญในเวทีโลก โดยเฉพาะในมิติของการเมืองและความมั่นคง นี่คือ 13 ประเด็นสำคัญในเวทีโลกที่น่าจับตามองในปี 2020 Photo: Posteriori / Shutterstock 1. ยุคใหม่ของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐมหาอำนาจที่อาจนำไปสู่สงครามเย็นในศตวรรษที่ 21 ปี 2019 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างการครบรอบ 30 ปีของการสิ้นสุดสงครามเย็น สิ่งนี้บอกเราว่าการเมืองโลกมีการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ที่สุดคือการสิ้นสุดของสงครามเย็นหรือสงครามคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นโลกที่มีระเบียบอีกชุดหนึ่งที่ทำเนียบขาวเรียกว่า ‘ระเบียบโลกใหม่’ (New World Order) แต่หลังจากปี 1989 ที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง สิ่งที่เห็นคือความปั่นป่วนในเวทีโลกที่มีสหรัฐฯ เป็นมหาอำนาจเดียว สหภาพโซเวียตล่มสลาย จีนเองก็ยังไม่ได้เข้มแข็งมากนัก จนนักวิชาการจำนวนไม่น้อยต่างมองว่าโลกหลังสงครามเย็นยังเป็น ‘โลกไร้ระเบียบ’ (New World Disorder)…

รุนแรงรับปีใหม่! ผู้ประท้วงชาวอิรักบุกโจมตีสถานทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด

Loading

ผู้ประท้วงชาวอิรักนิกายชีอะห์หลายร้อยคนบุกโจมตีอาคารสถานทูตสหรัฐฯ ที่อยู่ในเขตปลอดภัยของกรุงแบกแดด เพื่อแสดงความไม่พอใจที่สหรัฐฯ โจมตีทางอากาศใส่ฐานบัญชาการและแหล่งเก็บอาวุธของกลุ่มติดอาวุธ คาตาเอ็บ เฮซโบลาห์ บริเวณพรมแดนอิรักติดกับภาคตะวันออกของซีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ประชาชนชาวอิรักหลายร้อยคนพากันโจมตีใส่อาคารสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด โดยใช้อุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ชะแลง ท่อนไม้ และป้ายจราจร ทุบประตูเหล็กด้านหน้าทางเข้าสถานทูต รวมทั้งจุดไฟเผาป้อมรักษาความปลอดภัยหน้าสถานทูตด้วย ผู้ประท้วงชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ต่างตะโกนคำว่า “อัลลาฮู อัคบาร์” และ “สหรัฐฯ คือปีศาจร้าย” ขณะที่โบกธงสัญลักษณ์ของกลุ่มติดอาวุธเฮซโบลาห์ และขว้างปาก้อนหินใส่อาคารสถานทูตอเมริกัน หนึ่งในผู้นำของกลุ่มผู้ประท้วงของนิกายชีอะห์ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน คาอีส อัล-โคซาลี กล่าวว่าสหรัฐฯ ต้องรับผิดชอบต่อสงครามและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอิรัก คาอีส อัล-โคซาลี แห่งกลุ่ม Asaib Ahl al-Haq ระบุว่า สถานทูตแห่งนี้คือสถานที่ที่ใช้ในการวางแผน การจารกรรม การขโมยข้อมูลข่าวกรอง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายบ่อนทำลายอิรัก ถือเป็นศูนย์กลางของการกระทำที่ไม่เป็นมิตร สื่อมวลชนในอิรักรายงานว่า กองกำลังของรัฐบาลอิรักมิได้พยายามยับยั้งการโจมตีของผู้ประท้วงดังกล่าวที่พยายามบุกเข้าไปในเขตปลอดภัยกรีนโซน หรือแม้กระทั่งหยุดยั้งการโจมตีอาคารสถานทูตอเมริกัน แต่มีรายงานในวันอังคารว่า กองกำลังรักษาความปลอดภัยอิรักได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วงบางส่วนเพื่อสลายการชุมนุม รัฐมนตรีต่างประเทศอิรัก โมฮัมเหม็ด อาลี อัล-ฮาคิม…

กองทัพฝรั่งเศสใช้ “โดรน” จู่โจมเป็นครั้งแรกในปฎิบัติการที่มาลี สังหารผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต 40 ราย

Loading

เอเอฟพี – กองทัพฝรั่งเศสแถลงยืนยันว่าเป็นครั้งแรกในปฎิบัติการที่ใช้ “โดรน” ระหว่างปฎิบัติการต่อต้านก่อการร้ายในมาลี มีผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตไป 40 ราย เอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้(23 ธ.ค)ว่า ในวันเสาร์(21)ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุแอล มาครง แถลงว่ากองกำลังฝรั่งเศสสามารถจัดการนักรบญิฮัดได้ 33 คนที่ม็อปติ (Mopti) ภาคกลางของมาเลียในปฎิบัติการที่เกิดขึ้นคืนก่อนหน้า และในวันจันทร์(23)กองบัญชาการกองทัพฝรั่งเศสออกแถลงการณ์ยืนยันว่าได้มีการใช้โดรนสังหารในปฎิบัติการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในวันเสาร์(21) และสามารถสังหารนักรบญิฮัดได้เพิ่มอีก 7 คน ในขณะที่กองกำลังคอมมานโดฝรั่งเศสตรวจค้นพื้นที่โจมตีในป่าวากาดู(Ouagadou) ห่างเมืองม็อปติออกไปราว 90 ไมล์ “พวกเขาถูกโจมตีโดยกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่บนรถมอเตอร์ไซค์” อ้างอิงจากแถลงการณ์ พบว่า โดรนรีปเปอร์สังหารและเครื่องบินลาดตระเวณมิราจ 2000 ของฝรั่งเศสได้ถูกส่งเข้ามาเพื่อปกป้องกองกำลังภาคพื้น “นี่เป็นครั้งแรกในการใช้โดรนติดอาวุธในปฎิบัติการ” แถลงการณ์จากกองทัพฝรั่งเศสยืนยัน การโจมตีเกิดขึ้น 2 วันหลังกองกำลังฝรั่งเศสประกาศสิ้นสุดการทดลองการใช้โดรนที่ถูกบังคับในระยะไกลสำหรับปฎิบัติการติดอาวุธ กองกำลังมีโดรน 3 ลำที่มีฐานใกล้กับกรุงนีอาเม (Niamey) ของไนเจอร์ สำหรับปฎิบัติการของฝรั่งเศสในช่วงสูดสัปดาห์เกิดขึ้นในพื้นที่ภายใต้การควบคุมของกลู่มมุสลิมติดอาวุธ คาติบา มาซินา( Katiba Macina)ที่ถูกก่อตั้งโดยนักการศาสนาอิสลามหัวรุนแรงในม็อปติ อามาดู โคอูฟา(Amadou Koufa) ตำรวจมาลี 2 นายได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระจากการถูกจับเป็นตัวประกัน และกองกำลังฝรั่งเศสามารถยึดยานพาหนะ มอเตอร์ไซค์และอาวุธ “ทำให้กองกำลังกลุ่มญิฮัดได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง” แถลงการณ์จากกองบัญชาการกองทัพฝรั่งเศสแถลงเมื่อวานนี้(23) ทั้งนี้ก่อนหน้าฝรั่งเศสเคยออกมาแถลงว่าประสบความสำเร็จในการสังหารนักรบญิฮัดได้…

ร่างกายฉัน แต่ DNA นั้นของใคร? การสืบสวนจะเป็นอย่างไรเมื่อ DNA ของคนอื่นอยู่ในตัวเรา

Loading

Chris Long credit : The New York Times (Tiffany Brown Anderson) ลองจินตนาการว่าวันหนึ่งเราไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค แต่กลับพบว่า ดีเอ็นเอในเลือดนั้นไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว แต่มีของเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน หรือคนแปลกหน้าที่อยู่ถัดไปอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งไม่เคยพบกันมาก่อนปะปนอยู่ด้วย! เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ น่ะเหรอ? หรืออาจจะไม่ต้องจินตนาการแล้วก็ได้ เพราะเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นจริงกับผู้ป่วยโรคลูคีเมียคนหนึ่ง ที่เคยเข้ารับการบริจาคไขกระดูก ซึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายของเขาได้รับดีเอ็นเอของใครบางคนมาโดยไม่รู้ตัว เรื่องนี้ถูกเผยแพร่ลงใน New York Times โดย คริส ลอง (Chris Long) ชายคนหนึ่งในเมืองรีโน รัฐเวเนดา ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ดีเอ็นเอในเลือดของเขาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็คือการ ‘ถูกแทนที่’ ด้วยดีเอ็นเอของคนคนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้จักหรือพบหน้ากันมาก่อน หลังจากที่ คริส ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเมื่อ 4 ปีก่อนเพื่อช่วยผลิตเม็ดเลือดให้กับร่างกาย เขาก็ได้รับการตรวจเลือดอีกครั้งหนึ่ง และสิ่งที่น่าตกใจก็คือ แม้ขนอกและผมยังมีดีเอ็นเอของเขาอยู่ แต่ในเลือดบริเวณเยื่อบุแก้ม ลิ้น และริมฝีปากของเขา กลับพบดีเอ็นเอของคนอื่น แม้กระทั่งในน้ำอสุจิด้วยก็ตาม ซึ่งภายหลังก็ทราบว่าดีเอ็นเอนั้นเป็นของชายชาวเยอรมันที่เป็น ‘ผู้ให้บริจาค’ ไขกระดูกแก่เขา…