ส.ส.แฉ ‘ประธานาธิบดีไต้หวัน’สั่งติดตั้งจรวดที่ออฟฟิศ ด้วยความหวาดกลัวจีน

Loading

(ภาพจากแฟ้มถ่ายเมื่อ 2 มกราคม 2019) ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน ขณะแถลงข่าวที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไทเป Taiwan leader has missiles at office: lawmakerBy KG Chan สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันผู้หนึ่งกล่าวทางรายการทีวีของสถานีโทรทัศน์ทางการจีนว่า ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน มีอาวุธอย่างเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง อยู่ใกล้ๆ สำนักงานของเธอในกรุงไทเป เผื่อเอาไว้รับมือกรณีที่จีนยกกำลังเข้ารุกราน ผู้นำไต้หวันออกคำสั่งให้ติดตั้งพวกอาวุธจรวดขีปนาวุธเอาไว้ใกล้ๆ สำนักงานของเธอ เผื่อรับมือในกรณีที่ปักกิ่งเปิดการโจมตี สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันผู้หนึ่งบอกกล่าวเล่าเรื่องนี้ทางสถานีโทรทัศน์ของทางการจีน ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ของไต้หวัน รู้สึกเสียขวัญมากจากการที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีนประกาศจะทำการ “โจมตีแบบมุ่งเด็ดหัว” (decapitation strikes) จนกระทั่งเธอออกคำสั่งให้นำเอาพวกอาวุธจรวดขีปนาวุธมาเข้าประจำการใกล้ๆ ตัวเธอ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการซึ่งร่างกันขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเสริมสร้างทำให้สำนักงานและบ้านพักของเธอในกรุงไทเปอยู่ในสภาพ “ป้อมค่าย” สมาชิกสภาไต้หวันผู้นี้บอกกับสถานีโทรทัศน์ชั้นนำของจีนแผ่นดินใหญ่ สมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันที่ออกมากล่าวอ้างเรื่องนี้ชื่อ ชิว อี้ (Chiu Yi) เขาปรากฏตัวเป็นประจำในรายการกระแสข่าวเกี่ยวกับไต้หวัน ทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง (ซีซีทีวี) ของทางการจีน (ภาพถ่ายจากจอทีวี) ชิว อี้ สมาชิกสภาไต้หวัน…

ศาลออสซี่สั่งจำคุก 76 ปีสองพี่น้องซุกระเบิดใน ‘เครื่องบดเนื้อ’ หวังโจมตีเครื่องบินเอทิฮัด

Loading

เอเอฟพี – คนร้ายสองพี่น้องซึ่งนำระเบิดซุกซ่อนใน ‘เครื่องบดเนื้อ’ หวังก่อวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารจากซิดนีย์ไปยังอาบูดาบีถูกศาลออสเตรเลียพิพากษาจำคุกเป็นเวลารวม 76 ปี วันนี้ (17 ธ.ค.) คอลิด และ มะห์มูด คายัต ซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียเชื้อสายเลบานอน ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดฐานก่อการร้าย หลังพยายามนำระเบิดแสวงเครื่องขึ้นไปบนเครื่องบินโดยสารของสายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์สเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2017 ตามใบสั่งของกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) คอลิด ถูกตัดสินจำคุก 40 ปี โดยไม่มีสิทธิ์ยื่นขอทำทัณฑ์บนอย่างน้อย 30 ปี ขณะที่ มะห์มูด โดนโทษจำคุก 36 ปี ห้ามทำทัณฑ์บน 27 ปี ระเบิดเครื่องบดเนื้อถูกซ่อนเอาไว้ในกระเป๋าเดินทางของชายคนที่ 3 ซึ่งไม่ได้รู้เรื่องมาก่อน โดยทั้งหมดเป็นแผนบงการจากต่างแดนโดยชายคนที่ 4 ซึ่งมีรายงานว่าเคยร่วมต่อสู้กับนักรบไอเอสในซีเรีย อย่างไรก็ดี แผนวินาศกรรมมาถูกยกเลิกเอาในนาทีสุดท้าย หลังพนักงานสายการบินแจ้งว่ากระเป๋าเดินทางของพวกเขาน้ำหนักเกิน และกลุ่มผู้วางแผนเห็นว่าเสี่ยงเกินไปที่จะนำระเบิดผ่านด่านศุลกากร ผู้พิพากษา คริสทีน แอดัมสัน ชี้ว่า แม้จะไม่มีใครได้รับอันตรายจากแผนวินาศกรรมครั้งนี้ แต่จำเลยก็ประสบความสำเร็จในการ “สร้างความหวาดกลัว” เนื่องจากเรื่องนี้ถูกแจ้งให้ผู้โดยสารคนอื่นๆ…

อียูเตือนให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์จากหน่วยงานที่มีรัฐสนับสนุน

Loading

เอเจนซีส์ – สหภาพยุโรปเตือนในวันพุธ (9 ต.ค.) ให้ระวังการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มหรือหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐนอกสหภาพยุโรป พร้อมบอกว่าว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องประเมินความเสี่ยงจากธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมที่มีส่วนแบ่งการตลาดที่สำคัญ ความคิดเห็นดังกล่าวปรากฏในรายงาน ซึ่งจัดทำโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์กับเครือข่ายมือถือ 5G ยุคใหม่ ซึ่งการเปิดตัวในเวลาที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญต่อการแข่งขันของกลุ่มอียู ในขณะที่รายงานไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศหรือบริษัทใดๆ แต่ผู้สังเกตการณ์มักอ้างถึงประเทศจีนและผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Huawei Technologies ว่าเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น “บรรดาผู้เล่นที่มีศักยภาพ พวกที่ไม่อยู่ในสหภาพยุโรป หรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะถือว่าเป็นพวกที่มีแนวโน้มมากที่สุด ที่จะมุ่งเป้าเล่นงานเครือข่าย 5G” คณะกรรมาธิการยุโรปและฟินแลนด์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป ระบุในแถลงการณ์ร่วม รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการให้ยุโรปสั่งแบนอุปกรณ์ของหัวเว่ย โดยบอกว่าปักกิ่งสามารถใช้ทำการสอดแนมได้ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่หัวเว่ยปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย เกี่ยวกับบทบาทของหัวเว่ยในเครือข่าย 5G โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติตัดสินใจเมื่อเดือนเมษายน กีดกันธุรกิจจีนรายนี้ออกจากส่วนสำคัญของเครือข่าย ———————————————————– ที่มา : MGR Online / 9 ตุลาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000097601

เมื่อสงครามเป็นไฮบริด เครื่องมือผสม-วิถีผสาน

Loading

โดย… สุรชาติ บำรุงสุข คอลัมน์ ยุทธบทความ “วิธีการทางทหารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อถูกใช้ผสมผสานกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และอื่นๆ… [ในกรณีนี้] เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะของหน่วยหลักทางทหารในแนวหน้าจะค่อยๆ กลายเป็นอดีต” Lawrence Freedman นักยุทธศาสตร์ชาวอังกฤษ ในแต่ละช่วงเวลาของโลก จะเห็นได้ว่าแบบแผนของสงคราม (pattern of war) มีความแตกต่างกันออกไป แบบแผนเช่นนี้เป็นผลผลิตของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอยู่ในยุคอาณานิคมของศตวรรษที่ 19 การสงครามของโลกก็มีแบบแผนเป็น “สงครามอาณานิคม” (Colonial Warfare) หรือเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ผนวกเข้ากับพัฒนาการของเทคโนโลยีทหารแล้ว เราจะเห็นการกำเนิดของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total Warfare) ในศตวรรษที่ 20 และเมื่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีพัฒนาการอย่างมากในยุคสงครามเย็น สงครามที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำการรบใหญ่ได้ ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “สงครามจำกัด” (Limited Warfare) และเมื่อโลกในยุคปัจจุบันได้ก้าวสู่การปฏิวัติสารสนเทศ การสงครามของโลกก็มีทิศทางล้อไปกับการปฏิวัติดังกล่าว และทำให้เห็นถึงการมาของสงครามชุดใหม่ที่มีแบบแผนเป็น “สงครามข่าวสาร”…

แฉ แฮกเกอร์จีนเจาะโครงข่ายโทรคมนาคมตามรอย “อุยกูร์” ในเอเชีย รวมทั้ง “ไทย”

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งทำงานให้กับรัฐบาลจีน ได้เจาะเข้าไปในโครงข่ายโทรคมนาคมในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อติดตามชาวอุยกูร์ โดยเป็นการอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 คน และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงอีก 2 คน ซึ่งทำหน้าที่ในการสอบสวนเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การแฮก หรือการเจาะระบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายเป็นบุคคลระดับสูง เช่น เจ้าหน้าที่ทูตและเจ้าหน้าที่ทหารต่างประเทศ แต่จีนจะพุ่งเป้าลำดับต้นๆไปกับการตามรอยการเคลื่อนไหวของชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในจีน ที่รัฐบาลปักกิ่งเชื่อว่าเป็นภัยคุกคามต่อจีน ทั้งนี้ จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง และมีชาวอุยกูร์จำนวนมากที่สุดคุมขังอยู่ในสถานที่ที่จีนเรียกว่าเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ รอยเตอร์ระบุว่า ปฏิบัติการเจาะข้อมูลดังกล่าว เกิดขึ้นโดยแฮกเกอร์ชาวจีนหลายกลุ่ม ที่เจาะเข้าไปในระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้งตุรกี คาซักสถาน อินเดีย มาเลเซีย และไทย โดยประเทศเหล่านี้มักจะถูกใช้เป็นจุดแวะของชาวอุยกูร์ในการเดินทางระหว่างซินเจียงกับตุรกี ซึ่งนักเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นความพยายามที่จะหลบหนีการถูกดำเนินคดี ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งระบุว่า กลุ่มชาวอุยกูร์ที่เดินทางพวกนี้ เป็นพวกที่จะเดินทางไปร่วมต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธในอิรักและซีเรีย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีบนโลกไซเบอร์หรือการกระทำทารุณต่อชาวอุยกูร์ ขณะที่รอยเตอร์เองไม่สามารถระบุได้ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ถูกโจมตีคือใคร ขณะที่ทางการในอินเดียและไทยต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเรื่องดังกล่าว ——————————————————- ที่มา : มติชน / 17 กันยายน 2562 Link : https://www.matichon.co.th/foreign/news_1674331