รู้ทันภัย Phishing ปลอดภัยได้แค่ไม่ด่วนเชื่อและกด link ซี้ซั้ว

Loading

    แม้ว่าจะมีข่าวที่ประกาศเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวของคนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน มูลค่าความเสียหายก็มีตั้งแต่ไม่กี่บาท (มักไม่เป็นข่าว แต่เริ่มมีการเตือนกันเองในหมู่คนรู้จัก) ไปจนถึงหลักล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น มาตรการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก เพราะขยับตัวออกเดินตามหลังมิจฉาชีพอยู่หลายก้าว เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการเงินของภาครัฐที่ทำงานไม่ทันโจรเท่าไรนัก   อย่างไรก็ตาม มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะมีการออกมาตรการที่ชัดเจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ค่อนข้างที่จะมีช่องโหว่อยู่พอสมควร อย่างเช่นมาตรการการให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนด้วย biometrics ในกรณีที่ลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ตรงจุดนี้ สำหรับคนหาเช้ากินค่ำที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จำนวนเงินที่ถูกโอนออกไปจากบัญชีอาจไม่มากถึง 50,000 บาท แต่มันก็เป็นเงินที่พวกเขาหามาอย่างยากลำบากและต้องเก็บไว้ใช้ดำรงชีพเหมือนกัน และมันอาจเป็นเงินสุทธิทั้งหมดที่พวกเขามีด้วย   นั่นหมายความว่าหากเหยื่อมีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท แล้วถูกมิจฉาชีพในกลโกงต่าง ๆ โอนเงินจำนวนนั้นออกไปทั้งหมด พวกเขาก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการยืนยันตัวตนก่อนที่เงินจะถูกโอนออกไป เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากถึง 50,000 บาท ซึ่งเงินไม่ถึง 50,000 บาทที่โดนโกงไปนั้น มันก็ทำให้พวกเขาหมดตัวได้เช่นกัน…

เตือนภัย ‘ออนไลน์’ ทริกโจรไซเบอร์ดูดเงิน

Loading

    ปัจจุบัน ‘ภัยออนไลน์’ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิต กลับกันเทคโนโลยีก็นำมาสู่ภัยร้าย หากมีคนกลุ่มที่ไม่ประสงค์ดี หรือเรียกว่า ‘มิจฉาชีพ’ นำมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหากำไรในทางมิชอบ   ซึ่งความเสียหายขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว สะท้อนจากประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านออนไลน์ www.ThaiPoliceOnline.com ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-31 ธันวาคม 2565 มีคดีความออนไลน์กว่า 181,466 เรื่อง เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน รวมมูลค่าความเสียหาย 27,305 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเปอร์เซ็นต์สำเร็จยังสูง   เรื่องนี้ ‘กิตติ โฆษะวิสุทธิ์’ ผู้จัดการบริหารความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและความปลอดภัยไซเบอร์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือทีบี-เซิร์ต เปิดเผยว่า จากแนวโน้มภัยไซเบอร์ที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีรูปแบบหลากหลายเพื่อล่อลวงเอาข้อมูลสำคัญจากผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง หวังโจรกรรมเงินจนนำมาสู่ความเสียหายทางทรัพย์สิน   สำหรับรูปแบบการล่อลวงเอาข้อมูลที่พบมากขึ้นในระยะหลัง คือ การหลอกให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ (Malware) ลงในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้าไปแฝงตัวอยู่ในแอปพลิเคชัน มีบริการที่เรียกว่า Accessibility…

“ดีอีเอส” เตือนระวัง! 5 ภัยออนไลน์ช่วงปีใหม่

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนไปยังประชาชนในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ ให้ระมัดระวังคนร้ายแฝงตัวเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวง ทำให้เกิดความเสียหายแก่พี่น้องประชาชน ทั้งการกด Link ซื้อขายสินค้า โหลดสติกเกอร์ Line อวยพรปีใหม่ฟรี! เป็นต้น โดยดีอีเอส ได้รวบรวม 5 ภัยร้ายออนไลน์ รู้ไว้ ปลอดภัยกว่า เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัวมากขึ้น ประกอบด้วย   1. หลอกโหลดสติกเกอร์ เทศกาลปีใหม่ฟรี! มิจฉาชีพเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว แฝงตัวส่ง Link ให้โหลด อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการสวมสิทธิ์เพื่อกระทำผิดได้   2. หลอกรับบริจาค ทำบุญ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนอาจต้องการทำบุญเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับชีวิต มิจฉาชีพอาจมีการประกาศเชิญชวนให้ร่วมทำบุญ โดยอ้างบุคคลหรือกิจกรรมต่าง ๆ จึงควรตรวจสอบข้อมูลในกิจกรรมที่จะร่วมทำบุญว่า เป็นความจริงหรือไม่ อย่างไร ก่อนจะร่วมบริจาคเงินร่วมทำบุญออนไลน์ “มีสติ”…

ดีอีเอส จับมือ ETDA ลุย 10 จังหวัดทั่วไทย สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงานแถลงข่าว Kick off เปิดตัวโปรเจค “1212 ETDA Workshop : สร้างภูมิคนไทยรู้ทัน ปัญหาออนไลน์” จับมือพาร์ทเนอร์ลุยพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันโลกออนไลน์และกระบวนการช่วยเหลือหากต้องตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ แก่เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ 10 จังหวัดทั่วประเทศ เริ่มจังหวัดแรก 25 มกราคมนี้   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกกิจกรรมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการทำธุรกรรมออนไลน์กันแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวก ให้เราสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ติดต่อสื่อสาร ทำงาน ตลอดจนทำธุรกิจได้รวดเร็ว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้นเท่านั้น   เพราะสิ่งที่ตามมา คือ ภัยหรือปัญหาที่แฝงมากับโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การฉ้อโกงและอาชญากรรมออนไลน์, แก๊ง Call Center, บัญชีม้า, การหลอกลวงลงทุน-ระดมทุนออนไลน์และหลอกลวงทางการเงิน, การพนันออนไลน์, การหลอกลวงซื้อขายสินค้าและเว็บไซต์ผิดกฎหมาย เป็นต้น…

เตือนอย่าแชร์ ภัยออนไลน์ ปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป สร้างจาก AI อย่าง Deepfake, Social Maker และ Fake voice

Loading

เตือนอย่าแชร์ ภัยออนไลน์ ปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป สร้างจาก AI หลอกลวงประชาชน โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เตือนอย่าหลงเชื่อ อย่าแชร์ “คลิปเสียงปลอม” สร้างเรื่องเสมือนจริง หลอกลวงประชาชน โดยใช้ AI อย่าง Deepfake , Social Maker และ Fake voice นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเทคโนโลยีปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป (Deepfake,Social Maker และ Fake voice) ซึ่งเป็นการปลอมแปลงข้อมูล การตัดต่อภาพ ตัดต่อข้อความ ตกแต่งเสียงพูด หรือแม้แต่การตัดต่อวิดีโอคลิปให้เหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประชาชนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทัน และป้องกันการถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น “จากเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้ในการแชตปลอม โพสต์ปลอม ผ่าน”Social Maker” ที่สร้างโพสต์ปลอม,ข้อความปลอม,ความคิดเห็นปลอม…