OPERA1ER อาชญากรไซเบอร์ฝรั่งเศสขโมยเงินจากมากกว่า 15 ประเทศ

Loading

  ทีมข่าวกรองภัยคุกคามของ Group-IB เผยรายงานที่จัดทำร่วมกับทีมเผชิญเหตุทางไซเบอร์ของ Orange ที่ระบุว่ากลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลักซึ่งมีรหัสเรียกขานว่า OPERA1ER ก่อเหตุโจรกรรมทางไซเบอร์ต่อธนาคารและองค์กรด้านโทรคมนาคมในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา กว่า 15 ประเทศ ไปแล้วมากกว่า 30 ครั้ง   ปฏิบัติการของ OPERA1ER ขโมยเงินอยากเหยื่อรวมกันไปแล้วมากกว่า 30 ล้านเหรียญ (ราว 1,127 ล้านบาท) ในเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา   รูปแบบปฏิบัติการของทางกลุ่มเน้นการส่งอีเมลหลอกให้พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ในการดาวน์โหลดมัลแวร์หลายประเภท อาทิ Backdoor (ช่องโหว่ทางลัดเข้าเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ของเหยื่อ) Keylogger (ตัวติดตามการพิมพ์ของเหยื่อ) และ Password Stealer (ตัวขโมยรหัสผ่าน)   OPERA1ER ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ขโมยมาได้จากมัลแวร์เหล่านี้เข้าไปล็อกอินและควบคุมหลังบ้านขององค์กรต่าง ๆ เมื่อเจาะเข้าไปแล้ว อาชญากรกลุ่มก็จะใช้เครื่องมืออย่าง Cobalt Strike และ Metasploit ในการฝังตัวอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 3 – 12…

การโจมตีแบบ USB Drop Attack คืออะไร ? แล้วคุณจะป้องกันได้อย่างไร ?

Loading

  การโจมตีแบบ USB Drop Attack คืออะไร ? แล้วคุณจะป้องกันได้อย่างไร ?   หากคุณเจอ แฟลชไดร์ฟ USB (USB Flash Drive) ที่ตกอยู่ข้างทาง หรือในที่สาธารณะแล้วเก็บมันขึ้นมา คุณจะมีตัวเลือกอยู่ 2 อย่างคือ 1. พยายามหาเจ้าของ หรือ 2. เก็บไว้กับตัวเอง ถูกไหมครับ ?   แต่ไม่ว่าจะเลือกอย่างไร โดยทั่วไป คนเราจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น และบางคนก็อาจเลือกที่จะเชื่อมต่อมันเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าข้อมูลในนั้นมีอะไร ซึ่งเราขอแนะนำว่า คุณอย่าทำแบบนั้นเลยจะดีกว่า เพราะไม่แน่คุณอาจกำลังเจอกับ USB Drop Attack ก็เป็นได้   USB Drop Attack คืออะไร ? (What is USB Drop Attack ?)     สำหรับ…

แฮ็กเกอร์จากคิวบาร่วมทำสงครามไซเบอร์โจมตียูเครน

Loading

  ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ของยูเครน (CERT-UA) ออกคำเตือนเกี่ยวกับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ปลอมตัวเป็นสำนักประชาสัมพันธ์ของผู้บัญชาการกองทัพยูเครนในการส่งอีเมลแฝงมัลแวร์ไปยังเหยื่อ   ในอีเมลที่กลุ่มดังกล่าวส่งไปนั้นมีลิงก์ที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ภายนอกที่จะชี้ชวนให้ดาวน์โหลดไฟล์ เนื้อหาในเว็บไซต์นั้นอ้างว่าต้องการให้เหยื่ออัปเดตโปรแกรมอ่าน PDF หากเหยื่อกดปุ่มดาวน์โหลด มัลแวร์ประเภทโทรจันแบบสั่งการระยะไกล (RAT) ชื่อว่า Romcom ก็จะเข้าไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อในทันที   Romcom ถือเป็นมัลแวร์ชนิดใหม่ที่มีใช้ที่กลุ่มแฮ็กเกอร์จากคิวบานำมาใช้ โดย CERT-UA ตั้งชื่อกลุ่มนี้ว่า UAC-0132 (ส่วน Unit 42 ของ Palo Alto Network ขนานนามให้ว่าเป็น Tropical Scorpius ขณะที่ Mandiant ตั้งชื่อให้ว่า UNC2596)   จากการตรวจสอบของ Unit 42 ยังพบด้วยว่าแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ผสมผสานรูปแบบและเครื่องมือการโจมตีที่หลากหลาย ซึ่งยากต่อการป้องัน   คริส เฮาค์ (Chris Hauk) จาก Pixel Privacy บริษัทด้านไซเบอร์ระบุว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียยังไม่ยุติ กลุ่มแฮ็กเกอร์บางส่วนก็ร่วมโจมตียูเครนด้วยเหตุผลทางการเงิน   Unit…

อาเซียนสะพรึง!! ‘เวิร์คฟรอมโฮม’ เป้าหมายอาชญากรไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้เผย อาชญากรไซเบอร์ยังเล็งโจมตีพนักงานเวิร์คฟรอมโฮมในอาเซียน ระบุตัวเลขบล็อกการโจมตี RDP มากกว่า 2.6 แสนครั้งต่อวันในครึ่งปีแรก   การทำงานแบบไฮบริด และระยะไกล กลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ปกติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปี 2022 โซลูชันของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตี Remote Desktop Protocol (RDP) จาก Bruteforce.Generic.RDP ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีพนักงานที่ทำงานระยะไกลในภูมิภาคทั้งหมด 47,802,037 รายการ เฉลี่ยแล้วในทุกๆ วัน แคสเปอร์สกี้บล็อกโจมตีแบบ “Brute force attack” จำนวน 265,567 ครั้ง   ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แคสเปอร์สกี้ปกป้องผู้ใช้ในภูมิภาคส่วนใหญ่จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทยจากภัยคุกคามประเภทนี้     จับตา RDP ขยายวงกว้าง   แคสเปอร์สกี้ อธิบายว่า Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นโปรโตคอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นกราฟิกอินเทอร์เฟซให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่าย RDP ใช้กันอย่างแพร่หลาย…

Google เผย AudioLM ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจนแยกไม่ออกจากต้นฉบับ

Loading

  นักวิจัยจาก Google เผยรายละเอียดของ AudioLM ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่ที่สามารถสร้างเสียงได้จากการป้อนข้อมูลเข้าไป   AudioLM สามารถสังเคราะห์เสียงที่ซับซ้อนอย่างเพลงที่ใช้เปียโนเล่น หรือแม้แต่เสียงคนคุยกัน ผลก็คือได้เสียงที่มีคุณภาพแทบไม่ต่างจากเสียงจริง ๆ   Google ฝึกปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ด้วยการป้อนฐานข้อมูลเสียง ซึ่ง AudioLM จะใช้ Machine Learning ในการบีบอัดไฟล์เสียงให้เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโทเค็น ก่อนที่จะป้อนโทเค็นนี้เข้าไปให้โมเดล Machine-Learning เรียนรู้แบบแผนและรายละเอียดปลีกย่อยของเสียงนั้น ๆ   สำหรับการใช้งาน AudioLM ในการสังเคราะห์เสียงนั้น เพียงแค่ป้อนเสียงความยาวไม่กี่วินาทีเข้าไป ตัว AudioLM ก็จะคาดเดาความต่อเนื่องของเสียงที่ควรจะมาหลังจากนั้น โดย AudioLM สามารถสังเคราะห์ได้ทั้งเสียงคนพูดหรือเสียงเครื่องดนตรี จากเสียงต้นฉบับความยาวเพียง 3 วินาที ให้กลายเป็น 10 วินาที โดยไม่ซ้ำรูปแบบกันได้   ทั้งนี้ เราสามารถให้ AudioLM ผลิตเสียงได้โดยไม่ต้องป้อนเสียงเข้าไปก็ได้ แต่ให้ผลิตเสียงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว   จากตัวอย่าง จะพบว่า AudioLM…

โลก ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ สะเทือน เมื่อ ’ควอนตัม’ เจาะการเข้ารหัสข้อมูลได้

Loading

จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ ไอบีเอ็ม ไขคำตอบเรื่องนี้!!!   วันนี้ความสามารถของ “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และอาจจะเร็วกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้เมื่อห้าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การแก้ปัญหาสำคัญๆ   อาทิ การพัฒนาแบตเตอรีรูปแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทรงพลังกว่าลิเธียมไอออนในปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลเพื่อหาวัสดุทางเลือก การวิเคราะห์การจัดสรรพอร์ตการลงทุน รวมถึงการต่อกรกับความท้าทายทั้งเรื่องสภาพอากาศและเน็ตซีโรแล้ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังจะเป็นพลังประมวลผลมหาศาลที่เข้าต่อยอดเทคโนโลยีอย่างเอไอหรือสนับสนุนการวิจัยทางชีววิทยาการแพทย์     เมื่อควอนตัมเจาะรหัสข้อมูล   สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ไขประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้   “ทุกวันนี้การเข้ารหัสคือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การส่งอีเมล การซื้อของออนไลน์ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลโดยใช้ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ หรือที่เรียกกันว่าลายเซ็นดิจิทัล หากระบบการเข้ารหัสถูกเจาะได้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งองค์กรและผู้บริโภคในวงกว้าง”   สุรฤทธิ์ กล่าวว่า ความก้าวล้ำของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้…