“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

ไม่ใช่เรื่องเฉพาะประเทศไทย ย้อนดูรายงานการโจมตีสุ่มเลขบัตรเครดิตตั้งแต่ปี 2020 ของ Privacy.com

Loading

  เหตุการณ์บัตรเครดิตและบัตรเดบิตถูกดูดเงินในประเทศไทยทำให้คนตั้งคำถามกันจำนวนมากว่า “แล้วทำไมมาโดน (เฉพาะ) ที่ประเทศไทย” แต่ในความเป็นจริงแล้วการโจมตีแบบ Enumeration Attack นั้นมีมาแล้วระยะหนึ่ง แม้ Visa จะออกรายงานแจ้งเตือนแต่ธนาคารที่ถูกโจมตีไม่ค่อยออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะกันบ่อยนัก ยกเว้น Privacy.com ผู้ให้บริการเลขบัตรเครดิตชั่วคราว Privacy.com รายงานถึงเหตุการณ์ช่วงต้นปี 2020 ที่บริษัทถูกยิงคำสั่งจ่ายเงินจำนวนมาก จากร้านค้า 5 รายในเยอรมนี, นิวซีแลนด์, และสหราชอาณาจักร โดยทาง Privacy.com ระบุว่าร้านค้าเหล่านี้น่าจะเป็นเหยื่อของคนร้ายอีกที โดยคนร้ายอาจจะถูกแฮกระบบหรืออย่างน้อยก็ข้ามระบบจำกัดปริมาณการจ่ายเงิน (rate limit) โดยเชื่อว่าคนร้ายอาศัย botnet เข้าไปโจมตีตัวร้านค้า   เนื่องจาก Privacy.com เป็นผู้ออกเลขบัตร ทำให้เห็นกระบวนการของคนร้าย เป็นขั้นดังนี้ คนร้ายสั่งจ่ายแบบไม่มีเลข CVV และวันหมดอายุ ซึ่งเป็นคำสั่งขอจ่ายเงินที่ทำได้ โดยไม่สนใจว่าการจ่ายสำเร็จหรือไม่ แต่รอดูคำข้อความการจ่ายเงินไม่สำเร็จ หากข้อความจ่ายเงินไม่สำเร็จ ไม่ใช่ “invalid card number” ที่แปลว่าเลขบัตรผิดแต่เป็นข้อความอื่น เช่น ข้อมูลบัตรไม่บัตรไม่ถูกต้อง, หรือการจ่ายเกินวงเงิน แปลว่าเลขบัตรนี้ใช้งานได้…

รู้จักการโจมตีบัตรเครดิตแบบ Enumeration Attacks เมื่อคนร้ายเดาเลขบัตรเครดิตโดยไม่ต้องรอข้อมูลรั่ว

Loading

ภาพโดย flyerwerk   วันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงเหตุการณ์ผู้ใช้จำนวนมากถูกตัดเงินออกจากบัญชีหรือถูกสั่งจ่ายบัตรเครดิตเป็นการ “สุ่มข้อมูลบัตร” โดยไม่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นการสุ่มข้อมูลใดบ้าง (เฉพาะ CVV, ข้อมูลอื่นๆ, หรือเลขบัตร 16 หลักด้วย) อย่างไรก็ดีการโจมตีแบบสุ่มเลขบัตรนี้มีนานแล้ว และทาง Visa ก็ได้ออกรายงานแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รายงานของ Visa ระบุถึงการโจมตีที่มาเป็นคู่กัน คือ enumeration attacks หรือการสุ่มเลข และ account testing ที่คนร้ายจะทดสอบตัดเงินยอดเล็กๆ เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัยก่อน หากเลขบัตรใดตัดเงินผ่านก็จะเก็บเอาไว้เพื่อนำข้อมูลไปขายหรือโจมตีรุนแรงภายหลัง กระบวนการสุ่มเลขนี้คนร้ายจะอาศัยการกรอกเลขเข้าไปยังร้านค้าอีคอมเมิร์ชยอดนิยม เนื่องจากร้านค้าเหล่านี้มีการส่งข้อความขอจ่ายเงินจำนวนสูงมาก จากนั้นคนร้ายจะยิงหมายเลขประจำธนาคาร (BIN), หมายเลขบัตร (PAN), วันหมดอายุ, หมายเลขยืนยัน (CVV), รวมถึงรหัสไปรษณีย์ของผู้ใช้ แล้วปล่อยให้ธนาคารผู้ออกบัตรปฎิเสธการจ่ายเงินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีข้อมูลสักชุดที่จ่ายเงินสำเร็จ การโจมตีที่ต้องอาศัยการยิงข้อความขอจ่ายเงินจำนวนมากเช่นนี้ต้องอาศัยระบบระบบฝั่งผู้ค้าที่หละหลวม Visa พบว่า payment gateway หรือ shopping cart provider บางรายเข้าข่ายถูกโจมตีมากเป็นพิเศษ และผู้ให้บริการเหล่านี้มักได้รับความนิยมกับผู้ค้าบางกลุ่ม เช่นช่วงต้นปีที่ผ่านมา Visa พบอัตราการยิงทดสอบเลขบัตรเช่นนี้จากกลุ่มร้านขายยา, มหาวิทยาลัย,…

รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม”

Loading

  รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” 5 รูปแบบ ผ่านพฤติกรรมของเรา   วิศวกรรมสังคม (Social Engineering) เป็นวิชาทางจิตวิทยาแขนงหนึ่ง เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ข้อมูลของมนุษย์และการแสดงท่าทีต่อข้อมูลนั้น ซึ่งมิจฉาชีพมักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการลวง และเจาะข้อมูลบุคคลเพื่อนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต, หลอกให้โอนงาน, นำข้อมูลส่วนตัว ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย และอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบกับผู้ที่ถูกกระทำหากเคยได้ยินข่าวกันบ้างอย่างเช่น โทรศัพท์เข้ามาอ้างตัวเป็นคอลเซ็นเตอร์ธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวนำไปทำธุรกรรมยักยอกเงินจากบัญชีของเจ้าของเบอร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้รุนแรง และมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นพร้อมกับการมาถึงของยุคดิจิทัล ซึ่งเทคนิคดังกล่าว ไม่ได้อาศัยช่องโหว่ของระบบ หรือเทคโนโลยีใด ๆ หากใช้แต่เพียงช่องโหว่จากพฤติกรรมของเหยื่อ ที่มีต่อข้อมูลนั้น ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล     การเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มี 5 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ   1. Baiting “ใช้เหยื่อล่อ” เป็นรูปแบบที่มีการใช้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนเป็นเหยื่อล่อ ให้บุคคลที่ติดเหยื่อ นั้นถูกล้วงข้อมูล หรือเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…