สงครามกับความมั่นคงด้านอาหาร

Loading

  โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ************ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ให้บทเรียนในประเด็นความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานแก่โลก สหรัฐฯ ใช้สงครามเศรษฐกิจและการเงินกดดันรัสเซีย รัสเซียตอบโต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปโดยห้ามส่งออกน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังยุโรป รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่ของโลก โดยส่งออกข้าวสาลีร้อยละ 30 ข้าวโพดร้อยละ 20 และน้ำมันทานตะวันร้อยละ 75 ของความต้องการตลาดโลก รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีลำดับ 5 ของโลก สองประเทศส่งออกข้าวบาร์เลย์ร้อยละ 19 ของโลก นอกจากนั้น ทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันดอกทานตะวันรายใหญ่ของโลก ซึ่งน้ำมันนี้นำไปใช้ประกอบอาหาร ปีการผลิต 2565 ผลผลิตข้าวสาลีลดลงอยู่แล้ว บวกกับการขึ้นภาษีส่งออกธัญพืช ซ้ำมาเจอกับมาตรการที่รัฐบาลรัสเซียห้ามส่งออก ยูเครนก็ส่งออกไม่ได้ ราคาข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ปี 2564 ราคาข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 คาดว่าในปี 2565 ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก น้ำมันดอกทานตะวันคาดว่าจะสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 สงครามทำให้การเลี้ยงปศุสัตว์และการผลิตผักผลไม้ ลดลงเช่นกัน ซึ่งหมายถึงว่าราคาในตลาดโลกก็จะสูงขึ้น ระบบการขนส่งก็ไม่สะดวก น้ำมันขึ้นราคา ค่าขนส่งก็ขึ้นด้วย…

เบื้องหลังพฤษภาทมิฬ

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ************ หลายคนทั้งฝ่ายรัฐบาล ทหาร และประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ พฤษภาทมิฬ” เสียชีวิตไปแล้วเพราะโรคภัยและความชรา ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็แก่เฒ่าไปตาม ๆ กัน ครอบครัวของเหยื่อและคนรุ่นหลังที่รับรู้เรื่องราวจากบันทึกและคำบอกเล่าจะมาร่วมงานนี้ในทุก ๆ ปี และยกเป็นอุทาหรณ์ว่า ความรุนแรงและความสูญเสียเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นอีก ครบรอบเหตุการณ์ “ พฤษภาทมิฬ “ ของทุกปีจะมีการทำพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ที่สี่แยกคอกวัว เช่นเดียวกับปีนี้ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของเหยื่อที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ เหตุร้ายทางการเมืองจนทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตเช่นนี้ เป็นบทเรียนที่ต้องไม่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะพลเรือนผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อของการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองของผู้มีอำนาจและฝ่ายทหาร อีกทั้งพลเรือนต้องรู้ทัน ย้อนกลับไปในช่วงวันเวลาดังกล่าว ภาพที่ปรากฎต่อสาธารณะรับรู้กันว่าเป็นการต่อสู้ของประชาชนกับรัฐบาลทหาร พล.อ.สุจินดา คราประยูร แต่รู้กันเป็นการภายในว่า เบื้องหลังเป็นการประลองกำลังกันระหว่างพี่น้องสองรุ่นที่กินข้าวกระทะเดียวกัน เคยร่วมกันสู้กับข้าศึกศัตรูทั้งนอกและในประเทศมาด้วยกัน พอบ้านเมืองสงบ ก็มีแย่งอำนาจกันเอง พี่น้องเรียกกันว่า เป็นการทดลองกำลังเพื่อรักษาและแย่งชิงอำนาจระหว่างพี่น้อง ผลัดกันแพ้ชนะ คราวนี้ รุ่นพี่ซึ่งครองอำนาจขณะนั้นเป็นฝ่ายแพ้ หลายคนสงสัยว่าแล้วยกแรกล่ะเมื่อไร ก็เมื่อคราว “กบฏเมษาฮาวาย “ 1-3 เมษายน 2530 ที่รุ่นน้องยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งยกต้น ๆ…

หมาหงอย

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ *************** จะว่าไปแล้วก็รู้สึกสงสารประชาชนชาวยูเครนซึ่งเวลานี้อยู่ในภาพบ้านแตกสาแหรกขาด บาดเจ็บล้มตาย ไร้ที่อยู่อาศัย เร่ร่อน ต้องคอยหลบลูกปืนและลูกระเบิด สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก เมีย ผัว ญาติพี่น้อง เพราะนโยบายของผู้นำคนปัจจุบัน ที่ยอมตกเป็นเครื่องมือของอเมริกันและไปเปิดศึกกับรัสเซีย ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทั้งหมดจะโทษใครไม่ได้ นอกจากโทษชาวยูเครนที่เลือกนักพูดตลกเป็นประธานาธิบดี อาจคิดว่าเลือกคนพูดเก่ง ๆ วาทศิลป์ดี ๆ พูดจาให้คนฟังรู้สึกเคลิบเคลิ้มไปได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนขณะนี้ คนยูเครนจะไปโทษคนอื่นไม่ได้นอกจากโทษตัวเอง และสายไปเสียแล้วที่จะแก้ไขนอกจากเผชิญกับชะตากรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องวิเคราะห์วิจัยอะไรกันมาก คนที่ตามเรื่องยูเครนมาตลอดตั้งแต่เลือกตั้งได้ผู้นำคนนี้เป็นประธานาธิบดี ก็พอรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับยูเครนภายใต้การบริหารของผู้นำคนนี้ ซึ่งอเมริกาสนับสนุนให้ได้รับเลือกตั้งแทนประธานาธิบดีคนเก่าที่นิยมรัสเซีย โดยอ้างว่าเป็นการนำประชาธิปไตยมาสู่ยูเครน ที่คิดว่าอเมริกันจะช่วย ที่คิดว่ายุโรปจะช่วย ทีคิดว่านาโตจะช่วยหากรัสเซียบุกยูเครน แล้วมีประเทศไหนช่วยบ้าง ยูเครนสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโตโดยหวังว่าหากถูกรัสเซียโจมตี นาโตจะเข้ามาช่วยทางทหาร พอเกิดสงครามขึ้น ยูเครนสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโตอีกครั้งและขอให้นาโตพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนรับยูเครนเข้าไปสมาชิก นาโตก็ไม่พิจารณา เพราะรู้ว่ากำลังเล่นกับของใหญ่คือ รัสเซีย ซึ่งผู้นำคนนี้ไม่ใช่ธรรมดา ยูเครนก็ต้องสู้กับรัสเซียแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ สิ่งที่สหรัฐทำ คือ ส่งอาวุธมาให้ยูเครนเพื่อใช้สู้รบกับทหารรัสเซีย แต่ตัวทหารอเมริกันไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วย ยูเครนหารู้ไม่ว่าอาวุธที่อเมริกันส่งมาให้นั้นอาจเป็นการทดสอบอาวุธของตนที่ผลิตขึ้น หากได้ผลดี อเมริกันจะขายอาวุธให้สมาชิกนาโตและพันธมิตรได้อีกหลายพัน หรือหลายหมื่นล้านดอลลาร์ อุตสาหกรรมอาวุธอเมริกันที่หงอยอยู่นานจะได้เริ่มคึกคักเสียที…

สงครามยูเครนกับตลาดซื้อขายอาวุธ

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ **************************************** สงครามและการสู้รบที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเรื่องความขัดแย้งในผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศคู่กรณีที่ไม่สามารถตกลงทางการทูตได้ จึงนำไปสู่การสู้รบ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังสู้รบกันอยู่ในขณะนี้ คำถามคือ อุตสาหกรรมและตลาดการซื้อขายอาวุธเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับประเทศในกลุ่มอาหรับ สหรัฐฯ กับอิรัก ซีเรีย ปากีสถาน ส่วนหนึ่งที่เปิดเผยคือความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ตกลงกันทางการทูตไม่ได้ จึงนำไปสู่สงคราม แต่ตลาดการซื้อขายอาวุธสงครามก็คึกคักและทำเงินได้มากทีเดียว แม้ว่า ประเทศต่างๆ ต้องมีการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามห้วงเวลา แต่นั่นก็ไม่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธและตลาดซื้อขายอาวุธคึกคักและทำกำไรให้เท่ากับเมื่อเกิดการสู้รบหรือสงคราม ยิ่งสงครามขยายใหญ่โต ความสูญเสียอาวุธก็เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต้องมีการทดแทนและสำรอง อุตสาหกรรมอาวุธจะทำกำไรได้มากเมื่อมีความตึงเครียดระหว่างประเทศ เกิดการเผชิญหน้าทางทหารและการสู้รบ สงคราม เพราะคู่กรณีต้องใช้อาวุธที่ทันสมัยเหนือคู่สงคราม ประเทศผู้ผลิตอาวุธขายจะทำกำไรได้มาก หุ้นสูงขึ้น คนถือหุ้นได้กำไรชนิดนับเงินกันไม่ไหว สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในสวีเดน (SIPRI) รายงานเมื่อปี 2564 ว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2559-2563) ตลาดซื้อขายอาวุธขยายมากที่สุดหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ส่งออกอาวุธมากที่สุดถึงร้อยละ 47 ในตลาดซื้อขายอาวุธของโลก ฝรั่งเศสส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 และเยอรมนีส่งออกเพิ่มร้อยละ 21 รัสเซียและจีนก็ส่งออกอาวุธได้เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยแย่งตลาดสหรัฐฯ มาได้ในส่วนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลางเป็นตลาดอาวุธที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีการสู้รบตลอดมาโดยพื้นฐานระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน…

ผลประโยชน์และความมั่นคง ไม่มีการเจรจา

Loading

  เวลานี้ ใครไม่พูดหรือเขียนถึงเรื่องรัสเซียและยูเครน อาจถูกตราหน้าว่าล้าสมัย เมื่อไม่อยากถูกหาว่า “ ล้าสมัย ” และไม่ต้องการก้าวเลยเถิดไปจนถึง “ ล้ำสมัย ” จึงต้องเขียนถึงสถานการณ์ในรัสเซียและยูเครนสักหน่อย และหนีไม่พ้นก็ต้องเกี่ยวพันกับสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาวุ่นวายกับเขาตั้งแต่สมัยรัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต การล่มสลายและการฟื้นตัวของรัสเซีย เพราะมีสหรัฐเป็นเงาเข้ามาเกี่ยวข้องตลอด   เรื่องของรัสเซียและยูเครน กับสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ จะมองเฉพาะสิ่งที่เห็นในปัจจุบันคงไม่ได้ภาพที่สมบูรณ์นัก เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมันย้อนหลังไปหลายทศวรรษ ตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายเพราะติดหล่มในอัฟกานิสถานหลายปีจนหมดตัว พอถอนตัวออกมาก็สะบักสบอมหมดสภาพ ผู้นำสหภาพโซเวียตอ่อนแอแบบสุด ๆ ตามด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่ประเทศสมาชิกต่างแยกออกมาเป็นรัฐเอกราชเกิด 11 รัฐเกิดใหม่บนเวทีโลกใบนี้   ข้อตกลงใด ๆ ที่สหรัฐและสหภาพโซเวียตลงนามขณะนั้น มีลักษณะที่สหรัฐได้เปรียบทุกวิถีทาง สหภาพโซเวียตต้องยอมทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐ สิ่งที่สหภาพโซเวียตได้จากการร้องขอก็คือ ขอไม่ให้องค์การนาโตซึ่งมีสหรัฐเป็นแกนนำรุกคืบหน้าโดยรับประเทศอดีตสหภาพโซเวียตเป็นสมาชิกจนประชิดพรมแดนสหภาพโซเวียตซึ่งถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหภาพโซเวียตโดยตรง และใช้ประเทศเหล่านี้เป็น “รัฐกันชน” ระหว่างสหภาพโซเวียตกับยุโรปตะวันตก   ในขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำโลกเสรีพัฒนาก้าวหน้าในทุกด้าน จนมีการให้สมญาว่า อเมริกาช่วงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่ “อภิมหาอำนาจ” หรือ ซูเปอร์ พาเวอร์ เท่านั้น แต่บางคนเรียกว่าเป็น “ เอกอัครอภิมหาอำนาจ” หนึ่งเดียวในโลกที่ไม่มีใครเทียบได้ เป็นผู้สร้าง “ระเบียบโลกไหม่”…