รู้จักกับช่องโหว่ใน MOVEit Transfer ที่สร้างความเสียหายให้ผู้คนกว่า 60 ล้าน

Loading

ช่องโหว่ใน MOVEit Transfer ซอฟต์แวร์ส่งไฟล์ตัวเดียวจะทำให้มีผู้เสียหายมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลก ในระดับการแฮ็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี เขย่าองค์กรในหลายภาคส่วนทั่วโลก ตั้งแต่หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล โรงเรียน ไปจนถึงบริษัทการเงิน ต้องหันมาทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยกันยกใหญ่

Cisco Talos พบมัลแวร์เรียกคาไถ่ Yashma ที่ใช้โจมตีองค์กรในจีน เวียดนาม และบัลแกเรีย

Loading

  Cisco Talos พบแฮ็กเกอร์เวียดนามใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่โจมตีองค์กรต่าง ๆ ในจีน เวียดนาม บัลแกเรีย และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่น ๆ อย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนเป็นต้นมา   มัลแวร์เรียกไถ่ตัวนี้อยู่ในตระกูล Yashma ซึ่งสิ้นฤทธิ์ไปตั้งแต่มีการปล่อยตัวปลดล็อกออกมา โดยเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Chaos ฉบับรีแบรนด์ที่แพร่กระจายครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2022   โดยมีการดัดแปลงให้ดาวน์โหลดจดหมายเรียกค่าไถ่มาจากใน GitHub แทนที่จะเก็บไว้ในตัวมันเอง   Talos พบว่าผู้อยู่เบื้องหลังแฮ็กเกอร์ตัวนี้ใช้ชื่อบัญชีใน GitHub ว่า nguyenvietphat และมักเขียนจดหมายเรียกค่าไถ่เป็นภาษาจีน บัลแกเรีย เวียดนาม และภาษาอังกฤษ   นอกจากชื่อบัญชีที่เป็นภาษาเวียดนามแล้ว อีเมล และองค์กรที่แฮ็กเกอร์รายนี้สวมรอยก็ตั้งอยู่ในเวียดนาม อีกทั้งช่วงเวลาที่มักจะขอให้ติดต่อตัวเองสอดคล้องกับเขตเวลาเวียดนาม   เหยื่อที่ถูกโจมตี ภาพพื้นหลังในอุปกรณ์ของตัวเองจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อความที่ระบุว่าไฟล์ถูกเข้ารหัสทั้งหมด   มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยังหลบระบบการตรวจจับและซอฟต์แวร์ต้านไวรัสของเป้าหมาย มีระบบต่อต้านการฟื้นฟูข้อมูล โดยเมื่อเข้ารหัสไฟล์แล้ว Yashma จะลบเนื้อหาของไฟล์ที่มีอยู่เดิมทั้งหมด     ที่มา   therecord    …

กกต. สหราชอาณาจักรเผยแฮ็กเกอร์ทำข้อมูลรั่ว หน่วยข่าวเชื่อเป็นฝีมือรัสเซีย

Loading

  คณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรออกมาขอโทษกรณีพบการแฮ็กที่มีความซับซ้อนโดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในเดือนตุลาคม 2022 แต่การแฮ็กจริงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แล้ว   การแฮ็กนี้ทำให้ข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่อและที่อยู่ระหว่างปี 2014 – 2022 หลุดออกมา   สำนักข่าว The Times และ The Telegraph เผยว่าบรรดาหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรพบหลักฐานที่เชื่อมยังการโจมตีเข้ากับรัฐบาลรัสเซีย   เซอร์ เดวิด โอมานด์ (Sir David Omand) อดีตผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองสัญญาณของสหราชอาณาจักร เชื่อว่ารัสเซียน่าจะอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ เช่นเดียวกับ เซอร์ ริชาร์ด เดียร์เลิฟ (Sir Richard Dearlove) อดีตผู้อำนวยการ MI6 ที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน   กรณีนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า กกต. อาจไม่สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ทางองค์กรชี้ว่าความเสี่ยงที่การแฮ็กดังกล่าวจะส่งผลต่อการเลือกตั้งนั้นมีน้อยนิด เพราะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำด้วยกระดาษ   อย่างไรก็ดี ชอน แม็กแนลลี (Shaun McNally) ประธาน กกต.…

‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

“Unit 42″เผยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ก่อปัญหาการข่มขู่เพิ่มขึ้น 20 เท่า ไทยติดอันดับ 6 ในภูมิภาค

Loading

    Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เปิดเผยรายละเอียดยุทธวิธีล่าสุดของแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ประเทศไทยติดอันดับที่ 6 ในแถบญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ บริการเฉพาะด้านและบริการทางกฎหมาย รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ตกเป็นเป้าหมายหลักในไทย   รายงานฉบับใหม่จากพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ พบว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่และวายร้ายขู่กรรโชกกำลังใช้เทคนิคที่รุนแรงยิ่งขึ้นเพื่อกดดันองค์กรต่างๆ โดยมีการข่มขู่เพิ่มขึ้นถึง 20 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2564  ตามข้อมูลการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42™ การข่มขู่ดังกล่าวมีทั้งทางโทรศัพท์และอีเมลที่มุ่งเป้าเป็นรายบุคคล โดยมากมักเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือแม้แต่ลูกค้าของบริษัท เพื่อกดดันให้องค์กรยอมจ่ายค่าไถ่ตามที่เรียกร้อง   โดย รายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่และการขู่กรรโชกประจำปี 2566 จาก Unit 42 เผยข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมจากการรับมืออุบัติการณ์ประมาณ 1,000 กรณี โดย Unit 42 ตลอดช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยการเรียกร้องของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของหลายองค์กรในช่วงปีที่ผ่านมา มีการจ่ายเงินสูงถึงกว่า 7 ล้านดอลลาร์ในบางกรณีที่ Unit 42 ทราบเรื่อง ค่ามัธยฐานของค่าไถ่อยู่ที่ 650,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ค่ามัธยฐานของการจ่ายค่าไถ่อยู่ที่ 350,000 ดอลลาร์ ซึ่งบ่งชี้ว่าการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพช่วยลดจำนวนค่าไถ่ที่ต้องจ่ายจริง   เวนดี วิตมอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าทีม Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าว กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่และนักกรรโชกทรัพย์บีบบังคับเหยื่อ  โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเพิ่มโอกาสที่จะได้เงินค่าไถ่ การข่มขู่เกิดขึ้นกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทุกๆ 1 ใน 5 กรณี ที่เราตรวจพบในช่วงหลัง จนเห็นได้ชัดถึงความพยายามของกลุ่มคนเหล่านี้ในการเรียกร้องเงิน…

Ferrari ยืนยันไม่จ่ายค่าไถ่ หลังถูกแฮ็กข้อมูลลูกค้า

Loading

    Ferrari ผู้ผลิตรถแข่งและรถสปอร์ตจากอิตาลีเผยว่าเว็บไซต์ของบริษัทถูกแฮ็กเกอร์ปริศนาโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   บริษัทยังบอกด้วยว่า แฮ็กเกอร์รายนี้ติดต่อมาเรียกค่าไถ่แลกกับข้อมูลลูกค้าที่ขโมยไปได้   Ferrari ยืนยันจะไม่จ่ายเงินค่าไถ่ เพราะหากจ่ายค่าไถ่จะเป็นการ ‘สมทบทุนให้กับอาชญากรรมและทำให้แฮ็กเกอร์ก่อเหตุต่อไปได้’ และเชื่อว่าทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือแจ้งลูกค้าเพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้น   ทั้งนี้ Ferrari เผยว่าได้เริ่มการตรวจสอบทันทีเมื่อแฮ็กเกอร์ติดต่อเข้ามา โดยร่วมกับบริษัทด้านไซเบอร์ชั้นนำของโลก และได้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว   บริษัทยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กระทบระบบการทำงานของ Ferrari และย้ำว่าตระหนักถึงความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจะมีการปรับปรุงมาตรการป้องกันต่อไป   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Ferrari ถูกแฮ็ก ครั้งก่อนคือ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วที่เคยถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนเสียข้อมูลถึง 7 กิกะไบต์       ที่มา Cybernews       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                       …