โรงพยาบาลบาร์เซโลนาถูกโจมตีจนระบบล่ม ผู้ป่วยต้องย้ายไปรักษาที่อื่น

Loading

    เจ้าหน้าที่สเปนเผยว่ามีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยบาร์เซโลนาหลายแห่งหยุดชะงัก   ส่งผลให้การผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน 150 กรณี และการตรวจสุขภาพผู้ป่วย 3,000 รายต้องถูกยกเลิก ระบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลปิดตัวลง เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องฉุกเฉิน ร้านขายยา และคลินิก เป็นต้น   อันโตนิ คาสเตลส์ (Antoni Castells) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ระบุว่าไม่สามารถประเมินได้ว่าระบบจะกลับมาทำงานเป็นปกติเมื่อใด โรงพยาบาลต้องนำแผนดำรงความต่อเนื่องทางธุรกิจมาใช้ก่อน   โดยมีการกลับไปใช้กระดาษในการทำงาน และย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลอื่นแล้ว   สำนักข่าว EFE ของรัฐบาลสเปนรายงานด้วยว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถใช้งานข้อมูลผู้ป่วยและระบบการสื่อสารได้   ด้านรัฐบาลภูมิภาคกาตาลุญญาเผยว่าหน่วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภูมิภาคกำลังเร่งมือกู้ระบบให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมอยู่ โดยชี้ว่าผู้อยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อ Ransom House   เซกิ มาร์เซน (Segi Marcén) รัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของกาตาลุญญาระบุว่าแฮ็กเกอร์ยังไม่ได้เรียกเงินค่าไถ่ แต่ถึงอย่างไรทางรัฐบาลก็จะไม่จ่ายเงินแน่นอน         ที่มา  NTD      …

การโจรกรรมข้อมูลและมัลแวร์เรียกค่าไถ่: คุณพร้อมรับมือหรือพร้อมจ่ายหรือไม่?

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี อย่างเช่นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ และหากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร อย่างเช่นที่ Daixin Team ซึ่งโจมตี AirAsia ถึงกับหาญกล้าระบุว่า พวกเขาตัดสินใจไม่โจมตีระบบของที่นี่ต่อไปเนื่องจากหงุดหงิดกับความไร้ระเบียบในการตั้งค่าระบบเครือข่ายของสายการบิน   เตรียมพร้อม รักษาความปลอดภัย   การละเมิดข้อมูลส่วนตัวโดยมากเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ บริษัทต่างๆ มักพูดถึงผู้บุกรุกที่อาศัยเทคนิคอันซับซ้อน แต่ที่จริงแล้วมีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ในช่วงที่เกิดโรคระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป ฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกลเพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัยและรองรับการทำงานได้อย่างดี  …

ข้อมูลเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังของตำรวจศาลสหรัฐฯ ถูกแฮ็ก

Loading

    สำนักงานตำรวจศาลสหรัฐอเมริกา (USMS) เผยว่าถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จนแฮ็กเกอร์สามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังได้   USMS ชี้ว่าการโจมตีฯ ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแฮ็กเกอร์เจาะเข้าไปยังระบบที่มีข้อมูลการสืบสวน ข้อมูลระบบตัวตนของเจ้าหน้าที่ ผู้ต้องขัง และผู้ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก แต่ก็เป็นเพียงระบบเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ   ดรูว์ เวด (Drew Wade) โฆษก USMS เผยว่าทางหน่วยได้ตัดการเชื่อมต่อกับระบบที่ถูกโจมตีแล้ว รวมทั้งกระทรวงยุติธรรม (DoJ) ก็ได้เริ่มกระบวนการพิสูจน์หลักฐานแล้ว   สำหรับ USMS เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางที่มีหน้าที่คุ้มครองพยานและครอบครัวพยานในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ภายใต้โครงการคุ้มครองพยาน (WITSEC) ซึ่งในกรณีนี้ แฮ็กเกอร์ยังไม่สามารถล้วงข้อมูลเกี่ยวกับพยานได้   ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแฮ็กเกอร์ต้องการอะไร หรือได้ข้อมูลไปแค่ไหน ซึ่ง USMS ชี้ว่าอยู่ระหว่างการใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อให้ยังสามารถทำงานสืบสวนไปพลางก่อน   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายสหรัฐฯ แล้วถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ (major incident) ที่จะต้องแจ้งให้รัฐสภาทราบภายใน 7 วัน หลังจากตรวจพบ   ทั้งนี้ มติเมื่อปี 2020 ของสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ…

Dole Food ผู้ผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนต้องปิดระบบในอเมริกาเหนือ

Loading

  Dole Food Company บริษัทผลผลิตทางการเกษตรจากไอร์แลนด์ หนึ่งในผู้ผลิตผลไม้และพืชผักรายใหญ่ที่สุดในโลก เผชิญกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่กระทบต่อระบบโรงงานของบริษัท   บริษัทชี้ว่าได้เข้าควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพิสูจน์หลักฐานทางไซเบอร์จากภายนอกเข้ามาจัดการเหตุร่วมกับพนักงานของบริษัทแล้ว อีกทั้งยังได้แจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐด้วย   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้ระบบโรงงานของบริษัทต้องปิดตัวลงชั่วคราว และยังส่งผลต่อการส่งอาหารให้กับร้านค้าในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในรัฐเท็กซัส และรัฐนิวเม็กซิโก   ร้านของสดแห่งหนึ่งในเมืองเท็กซัสเผยแพร่ข้อความที่ Dole ส่งมาให้ซึ่งระบุว่าบริษัทจำเป็นต้องปิดระบบในอเมริกาเหนือเพื่อจำกัดความเสียหายจากการโจมตีที่เกิดขึ้น   Dole Food ให้บริการผลิตภัณฑ์อาหารมากกว่า 300 ชนิด ใน 75 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานรวมกันราว 40,000 คน   ทั้งนี้ Dole Food ยังไม่ได้ออกมาเผยรายละเอียดของมัลแวร์ที่ใช้ในการโจมตี รวมถึงยังไม่มีความชัดเจนว่าแฮ็กเกอร์ได้ขโมยข้อมูลออกไปหรือไม่         ที่มา  Security Affairs         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :       …

การป้องกัน Ransomware หลังแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่กลับมาระบาดอีกแล้ว!

Loading

ภาพ : กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB   การป้องกัน Ransomware หลังแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่กลับมาระบาดอีกแล้ว!   โดยพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ออกเตือน หลังพบแนวโน้มองค์กร บริษัทติดแรมซัมแวร์มากขึ้นในช่วงนี้ ซึ่งจะมาล็อกไฟล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ จนทำให้ไม่สามารถเปิดไฟล์ใด ๆ ได้ โดยหากต้องการกู้ข้อมูลคืนมา จะต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตามที่ผู้โจมตี หรือมิจฉาชีพเรียกร้อง จำนวนเงินค่าไถ่ก็จะแตกต่างกันไป และการชำระเงินจะต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบ หรือติดตาม เช่น การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์, การชำระเงินออนไลน์แบบเติมเงินโดยใช้บัตรกำนัล (Paysafecard), เงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น   พนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายว่า บริษัทของผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากการถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ถูกล็อกไฟล์ข้อมูล ไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ มีการเรียกค่าไถ่เป็นบิตคอยน์ (Bitcoin) มูลค่าหลายล้านบาท กรณีดังกล่าว บช.สอท. ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)…

แรงกว่าเดิม ไวรัสเรียกค่าไถ่ LockBit Ransomware 3.0

Loading

  การโจรกรรม การขู่กรรโชก การแบล็กเมล และการแอบอ้างบุคคลอื่นนั้นมีอยู่มากมายในโลกออนไลน์ โดยมีผู้คนหลายพันคนตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงและการโจมตีต่าง ๆ ทุกเดือน   ผมว่า เรารู้จัก Ramsomware มาสักพักใหญ่แล้วเนอะ แต่ปีนี้มันกำลังจะรุนแรงมากขึ้นอีก ด้วยการมาของ Ransomware 3.0 ที่แฮ็กเกอร์จะพยายามกดดันให้องค์กรธุรกิจจ่ายเงินให้พวกเขามากขึ้น   ข้อมูลจาก Kaspersky ระบุว่า โดยปกติแล้ว Ransomware ที่เราเคยเจอ จะเข้าโจมตี ล็อกไฟล์ และกดดันให้ธุรกิจจ่ายเงิน แต่ตอนนี้ เมื่อโดนกันบ่อย ๆ เข้า องค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญกับระบบ Backup & Recovery ที่ทำให้ระบบกลับมาทำงานได้เร็ว แม้ไม่ต้องจ่ายเงินให้แฮ็กเกอร์   เมื่อมีระบบป้องกันที่ดี ฝ่ายโจมตีก็ต้องหาวิธีการที่จะทำให้จ่ายเงิน หนึ่งในนั้นคือการ Shutdown Server ของธุรกิจนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น หาก Techhub โดน Ransomware ไฟล์ข้อมูลในระบบหายไป แต่ Techhub ไม่ยอมจ่ายเงิน…