แฮ็กเกอร์นำข้อมูลพนักงานร้าน IKEA ในตะวันออกกลางไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์

Loading

  แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Vice Society เผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจที่ขโมยมาจาก IKEA สาขาในโมร็อกโก คูเวต และจอร์แดน ไว้บนเว็บไซต์ของแก๊ง ขณะที่ทาง IKEA ออกมายืนยันแล้วว่าถูกขโมยไปจริง   ชื่อไฟล์และโฟลเดอร์สะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน รวมอยู่ในข้อมูลที่หลุดออกมาด้วย   IKEA ระบุว่ากำลังร่วมมือกับหน่วยงานและหุ้นส่วนด้านไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องในการสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น แต่ให้ข้อมูลด้วยว่าร้าน IKEA สาขาในโมร็อกโกและคูเวตดำเนินการโดยบริษัทแฟรนไชส์ในคูเวตเป็นอิสระจากร้าน IKEA อื่น ๆ   Vice Society เริ่มออกอาละวาดมาตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า HelloKitty เนื่องจากมีการตั้งชื่อไฟล์และกลยุทธ์การโจมตีที่คล้ายคลึงกัน   ที่ผ่านมา Vice Society เน้นโจมตีองค์กรในวงการการศึกษา โดยเคยปล่อยข้อมูลที่ขโมยมาจากเขตการศึกษาลอสแอนเจลิส (LAUSD) เมื่อเดือนกันยายน 2021 ในขณะที่องค์กรค้าปลีกคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของผู้เสียหายของ Vice Society เท่านั้น   Darkfeed เครื่องมือเฝ้าระวังดีปเว็บเผยว่าบนเว็บไซต์ของ Vice Society…

ESET เผยปฏิบัติการมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตียูเครน ที่เชื่อว่าเป็นฝีมือหน่วยข่าวกรองรัสเซีย

Loading

  ESET บริษัทด้านไซเบอร์จากสโลวาเกียเผยรายละเอียดของปฏิบัติการแพร่มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทางบริษัทเรียกว่า RansomBoggs ที่มุ่งโจมตีองค์กรหลายแห่งของยูเครน โดยตรวจพบครั้งแรกเมื่อ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา   ทางบริษัทชี้ว่ารูปแบบของมัลแวร์ที่ RansomBoggs ใช้มีความคล้ายคลึงกับปฏิบัติการของกลุ่มแฮกเกอร์ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตระกูล Sandworm จากรัสเซีย   ศูนย์เผชิญเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ยูเครน (CERT-UA) องค์กรหลักที่ทำหน้าที่เผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ของประเทศ ชี้ว่า RansomBoggs ใช้สคริปต์ PowerShell (โปรแกรมจัดการระบบ) ที่เรียกว่า POWERGAP ในการปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ และมัลแวร์ลบข้อมูล (data wiper) ตระกูล CaddyWiper   สำหรับ Sandworm เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงและอยู่ในสังกัดหน่วยข่าวกรองทางทหารของรัสเซีย (GRU) โดยเน้นโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของหลายประเทศในช่วงที่ผ่านมา   Sandworm ยังถูกนำไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ NotPetya ในปี 2017 ที่เป็นการมุ่งเป้าโจมตีโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์ทั่วโลก โดยเฉพาะยูเครน รวมถึงเหตุโจมตีระบบผลิตไฟฟ้าของยูเครนในช่วงปี 2015 – 2016 ด้วย     ที่มา thehackernews  …

คนไข้นับแสนรายจากศูนย์การแพทย์ OakBend ในสหรัฐฯ ถูกขโมยข้อมูลประวัติการรักษา

Loading

  ศูนย์การแพทย์ OakBend ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เผยว่าถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แฮ็กเกอร์สามารถขโมยประวัติการรักษาไปได้มากถึง 500,000 คน   ทั้งนี้ OakBend ไม่เชื่อว่าอาชญากรไซเบอร์สามารถนำข้อมูลประวัติการรักษาออกไปได้โดยสมบูรณ์ แต่แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลไปบางส่วน โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ รวมถึงข้อมูลวันเกิด และเลข Social Security (คล้ายเลขบัตรประชาชนของไทย) แต่ก็ได้แจ้งไปยังคนไข้ทั้งอดีตและปัจจุบันให้ระวังข้อความสแปมแล้ว   นอกจากนี้ OakBend ยังอยู่ระหว่างการร่วมมือกับสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา (FBI) และได้ยกระดับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยในอนาคตด้วย   ในส่วนของเหตุโจมตีเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ระบบการสื่อสารไปยังโลกภายนอกของ OakBend ใช้งานได้อย่างจำกัด ระบบอีเมลและโทรศัพท์ใช้งานไม่ได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์   คีธ ฟริก (Keith Fricke) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวทางไซเบอร์ระบุว่ากรณีของ OakBend ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการที่ต้องมีการจัดทำแผนตอบโต้ภัยที่ต้องระบุแนวทางหลักและแนวทางสำรองในการสื่อสารภายในองค์กร   แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อ Daixin ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้เรียกเอาเงินค่าไถ่จำนวนมหาศาล โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เคยออกมารายงานว่า Daixin เน้นโจมตีธุรกิจในสหรัฐฯ โดยเฉพาะธุรกิจด้านสุขภาพและสาธารณสุข     ที่มา…

แคนาดาจับกุมแฮ็กเกอร์ที่พัวพันกับแก๊ง LockBit

Loading

  ตำรวจในจังหวัดออนทาริโอของแคนาดาเข้าจับกุม มิคาอิล วาซิเลฟ (Mikhail Vasiliev) ชายถือ 2 สัญชาติ แคนาดา-รัสเซีย จากเมืองแบรดฟอร์ด ในข้อหามีความเกี่ยวพันกับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ LockBit   วาซิเลฟอาจถูกส่งตัวไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อไปรับโทษทางอาญาว่าด้วยการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่อัยการกลางในรัฐนิวเจอร์ซีย์เป็นผู้ฟ้อง   หากศาลตัดสินว่าวาซิเลฟมีความผิดจริงตามข้อกล่าวหา อาจต้องได้รับโทษจำคุกและค่าปรับ 250,000 เหรียญ (ราว 9 ล้านบาท) หรือ 2 เท่าจากรายได้ที่ได้รับจากการแฮ็ก ทั้งนี้ วาซิเลฟได้รับสิทธิ์การประกันตัว แต่ถูกติดตามด้วย GPS   ตำรวจแคนาดาทำการค้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของวาซิเลฟและพบภาพการสื่อสารผ่านข้อความบนแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Tox ระหว่างตัวเขาและคนที่ใช้ชื่อว่า LockBitSupp รวมถึงยังพบวิธีการใช้มัลแวร์ LockBit บน Linux ด้วย   นอกจากนี้ Europol ยังรายงานว่าตำรวจเจออาวุธปืน 2 กระบอก คอมพิวเตอร์ 8 เครื่อง External Hard drive 32 ตัว และคริปโทเคอเรนซีที่มีมูลค่ากว่า…

แฮ็กเกอร์ปล่อยข้อมูลของ Medibank ลงดาร์กเว็บ หลังไม่ได้รับค่าไถ่

Loading

  REvil กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่นำข้อมูลละเอียดอ่อนของลูกค้าที่ขโมยมาได้จาก Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ของออสเตรเลียไปปล่อยลงดาร์กเว็บ หลังจากที่ Medibank ไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   ข้อมูลที่ถูกนำมาปล่อยมีทั้ง ชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขหนังสือเดินทาง และข้อมูล Medicare หรือข้อมูลประกันสุขภาพของลูกค้า   ในจำนวนนี้ยังมีข้อมูลประวัติการรักษาของเหยื่อด้วย ซึ่งในบางกรณีเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และการติดยาเสพติด รวมถึงข้อมูลการทำแท้งด้วย   Medibank เผยว่าได้รับทราบกรณีดังกล่าวแล้ว และเชื่อว่าข้อมูลที่ REvil เอามาปล่อยนั้นเป็นข้อมูลลูกค้าของทางบริษัทจริง และย้ำว่าจะแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยละเอียด พร้อมให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป   ก่อนหน้านี้ทาง REvil เรียกค่าไถ่สูงถึง 10 ล้านเหรียญ (ราว 368.9 ล้านบาท) ก่อนจะลดลงมาเหลือ 9.7 ล้านเหรียญ (ราว 357 ล้านบาท) ตามจำนวนของลูกค้าที่ถูกแฮ็กข้อมูล   ทรอย ฮันต์ (Troy Hunt) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ให้ความเห็นว่าการปล่อยข้อมูลของ REvil…

ผลการศึกษาเผย ผู้บริหารด้านไซเบอร์ส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  รายงานของ Rubrik Zero Labs ที่สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ในระดับบริหารจำนวนทั้งสิ้น 1,600 คน พบว่าร้อยละ 76 ของกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินค่าไถ่หากถูกโจมตีด้วย   ในจำนวนนี้ ร้อยละ 92 ชี้ว่าที่ต้องจำใจจ่ายเงินก็เพราะไม่มั่นใจว่าหากไม่จ่ายแล้วจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าบอร์ดบริหารของบริษัทมีความมั่นใจน้อยมากหรือไม่มีความมั่นใจเลยว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญของบริษัทหลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้   นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทุกคนเผยว่าบริษัทของตัวเองถูกโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้วถูกโจมตีมากถึง 47 ครั้งใน 12 เดือน ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่สามารถกลับไปดำเนินการธุรกิจตามปกติได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังตรวจพบการโจมตี ที่สำคัญคือมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้นที่ได้แก้ไขช่องโหว่ที่พบในระบบของบริษัทไปแล้ว   การโจมตีทางไซเบอร์ยังส่งผลสำคัญต่อสุขภาพจิตของบุคลากร ร้อยละ 96 ของผู้ตอบแบบสำรวจเผยว่าได้รับผลกระทบทางอารมณ์และจิตวิทยาจากการโจมตีทางไซเบอร์   เหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในหน้าที่การงาน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็กลัวว่าจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งราวร้อยละ 30 เผยว่าการโจมตีทางไซเบอร์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับบริหารทันที     ที่มา TechRadar      …