ชายแดนใต้ : คนรุ่นใหม่สามจังหวัดฯ ในวงการไอทีที่มาเลเซีย

Loading

    หลายคนอาจจะเข้าใจว่า คนไทยที่ไปทำงานในมาเลเซีย มีแต่แรงงานในร้านต้มยำกุ้ง แต่เรื่องราวต่อไปนี้ บีบีซีไทยจะชวนไปทำความรู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่จากจังหวัดชายแดนใต้ที่อยู่ในแวดวงอาชีพของบริษัทด้านไอทีในประเทศมาเลเซีย   จากสามจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ที่ได้ชื่อว่ารายได้ต่อหัวประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในรุ่น “ทศวรรษที่สูญหาย” จากความไม่สงบในชายแดนใต้ที่ดำเนินมา 19 ปี เด็กสามจังหวัดฯ จำนวนไม่น้อยที่พัฒนาศักยภาพของตัวเองผ่านระบบการศึกษา ความสามารถทางภาษา จนสามารถเข้าทำงานในองค์กรชั้นนำในมาเลเซียได้   ด้วยภาษา วัฒนธรรม วิถีศาสนาที่ใกล้เคียงกัน นี่จึงเป็นพื้นที่ที่คล้ายบ้านสำหรับพวกเขา แต่โอกาสในชีวิตกลับแตกต่าง เพียงแค่ข้ามเขตแดนมายังฝั่งไทย   สำหรับคนอายุวัยกลาง 30 ปี ซึ่งอาจจะนิยามตัวเองว่าเป็นชนชั้นกลาง ในจังหวัดอื่นของประเทศไทยเช่นผู้เขียน ที่เติบโตมากับการเรียนในโรงเรียนมัธยมสามัญ ก่อนแสวงหาเส้นทางเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนเคยมีคำถามสงสัยว่า แล้วเส้นทางชีวิตของคนรุ่นราวคราวเดียวกันในพื้นที่ความไม่สงบอย่างชายแดนใต้ เป็นแบบไหน   การสนทนากับ นัสมี สาและ คนหนุ่มจาก จ.ยะลา เจ้าหน้าที่วิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งเคยทำงานในบริษัทไอบีเอ็มในไซเบอร์จายา เมืองศูนย์กลางทางด้านไอทีของมาเลเซีย ทำให้รู้ว่าคนจากจังหวัดชายแดนใต้ที่ไปทำงานในมาเลย์ ไม่ได้มีเพียงแต่แรงงานในร้าน “ต้มยำกุ้ง” ธุรกิจร้านอาหารไทยฮาลาลที่เฟื่องฟูในประเทศเพื่อนบ้าน   แต่คนไทยจากชายแดนใต้อีกกลุ่ม คือ หนุ่มสาวที่ทำงานในออฟฟิศ และส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรมนุษย์ในแวดวงบริษัทด้านไอที…

เกือบเป็นเที่ยวบินสยอง ผงะ หญิงซ่อนงูเป็นๆ ในกระเป๋า 22 ตัว! ก่อนถูกพบ เลื้อยวุ่นทั้งสนามบิน

Loading

  เจ้าหน้าที่ศุลกากรผงะ เรียกตรวจสัมภาระผู้โดยสารหญิงรายหนึ่ง เจอยัดงูเป็น ๆ 22 ตัว ลอบขนขึ้นเครื่องบินมาจากมาเลเซีย ซ้ำบางตัวเลื้อยหนี ตามจับวุ่นทั้งสนามบิน คาดลักลอบนำไปขาย   เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานเหตุการณ์ที่เกือบเป็นเรื่องราวระทึกขวัญที่เกิดขึ้นภายในสนามบินเจนไน ประเทศอินเดีย หญิงรายหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกตรวจสัมภาระ หลังพบว่ามีสิ่งผิดปกติซุกซ่อนอยู่ในสัมภาระเช็กอินของเธอ และสิ่งที่ค้นพบก็ทำให้เจ้าหน้าที่ถึงกับผงะ เมื่อปรากฏว่ามีงูตัวเป็น ๆ มากถึง 22 ตัว ถูกยัดไว้ในสัมภาระของหญิงรายนี้ พร้อมกิ้งก่าอีก 1 ตัว     ตามรายงานระบุว่า วันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา ศุลกากรประจำสนามบินเจนไน ได้โพสต์ภาพหนึ่งในงูของกลางที่ตรวจยึดได้ พร้อมระบุว่า หญิงรายดังกล่าวเดินทางมาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถึงสนามบินเจนไน โดยเที่ยวบิน AK13 จากการตรวจค้นสัมภาระเช็กอินของเธอ พบว่ามีงูหลากหลายสายพันธุ์ จำนวน 22 ตัว และกิ้งก่า 1 ตัวอยู่ในนั้น จึงทำการตรวจยึดไว้ตามกฎหมาย     อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่น…

โดนเหมือนกันมาเลเซีย! เบอร์มือถือมาเลเซีย 21 ล้านหมายเลขรั่วไหล ถูกขายให้สแกมเมอร์ปี 2022 คิดเป็น 73% ของประเทศ

Loading

    โดนเหมือนกันมาเลเซีย! เบอร์มือถือมาเลเซีย 21 ล้านหมายเลขรั่วไหล ถูกขายให้สแกมเมอร์ปี 2022 คิดเป็น 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเลเซีย ทำให้มาเลเซียกลายเป็นอันดับหนึ่งในด้านหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ถูกละเมิด ตามรายงานการฉ้อโกงประจำปี 2022 ของ Gogolook บริษัทที่พัฒนาแอป WhosCall นั่นเอง   iT24Hrs   Gogolook บริษัทเทคโนโลยีต่อต้านการโกงและ ผู้ให้บริการด้านการจัดการความเสี่ยง ได้ร่วมมือกับ Constella Intelligence ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการป้องกันความเสี่ยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจการแฮ็กข้อมูลจาก 5 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไทย เกาหลี และมาเลเซีย   Image : Gogolook   พบว่าข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมากที่สุดในมาเลเซีย ไต้หวัน และไทย ได้แก่ รหัสผ่านและชื่อสำหรับเข้าสู่ระบบ ตามด้วยที่อยู่ ประเทศ วันเกิด และอีเมล   ภาพ :…

พูดคุยดับไฟใต้ นับหนึ่ง “สร้างสันติสุขแบบองค์รวม”

Loading

  คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมหารือแบบเต็มคณะกับฝ่ายผู้แทน BRN โดยเห็นพ้องจัดทำ “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” มุ่งการลดความรุนแรงในพื้นที่   เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ กับคณะผู้แทน BRN นำโดย อุซตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน ได้พบหารือและพูดคุยแบบเต็มคณะ ครั้งที่ 6 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยมี พล.อ.ตันศรี ดาโตะซรี ซุลกีฟลี ไซนัล อะบิดิน เป็นผู้อำนวยความสะดวกและมีผู้เชี่ยวชาญร่วมสังเกตการณ์ด้วย ซึ่งผลการพูดคุยฯ มีความคืบหน้าที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกันและกรอบเวลาที่ชัดเจนในการแก้ไข ความขัดแย้งและนำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้   1.คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ และคณะผู้แทน BRN เห็นพ้องที่จะร่วมกันจัดทำ “แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม” หรือ Joint Comprehensive Plan towards Peace (JCPP) เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนการพูดคุย ให้คืบหน้าในรูปแบบที่ครอบคลุมและเป็นองค์รวม อีกทั้งมีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของหลักการทั่วไปของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้…

นายกฯ มาเลเซีย สัญญาช่วยประสานเจรจาสันติภาพชายแดนใต้ไทย

Loading

THAILAND-MALAYSIA/   นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม แห่งมาเลเซียประกาศมั่นว่าจะ “ทำทุกอย่างที่ต้องทำ” เพื่อช่วยหาทางออกอันสันติให้กับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์   นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ที่ความสงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานีและบางอำเภอของจังหวัดสงขลาที่ติดกับพรมแดนมาเลเซีย ยกระดับรุนแรงขึ้น มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหลายและการปรามปรามของรัฐบาลไทยไปแล้วกว่า 7,300 คน   คำประกาศของผู้นำมาเลเซียที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้นี้มีออกมาระหว่างการเยือนกรุงเทพอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี   นายกฯ อันวาร์ เน้นย้ำว่า การก่อความไม่สงบนั้นเป็นเรื่องภายในของประเทศไทย แต่มาเลเซียจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อหาทางออกอันสันติให้แก่ความขัดแย้งที่ดำเนินมานานนี้ โดยจะเริ่มต้นด้วยการแต่งตั้ง ซุลคิฟลิ ไซนาล อบิดิน อดีตผู้นำกองทัพมาเลเซียวัย 65 ปี มาทำหน้าที่ผู้ประสานงานให้   ผู้นำมาเลเซียระบุด้วยว่า “เป็นหน้าที่ของเพื่อนบ้านและครอบครัวที่ดีที่จะทำทุกอย่างที่ต้องทำและจำเป็นเพื่อสนับสนุนกระบวนการ(สร้างสันติ)”   นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า ความร่วมมือนี้จะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้   รอยเตอร์ได้ติดต่อขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (Barisan Revolusi Nasional – BRN) ซึ่งเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มใหญ่ที่รัฐบาลไทยจะร่วมเจรจาด้วยเพื่อขอความเห็น แต่ไม่ได้รับการตอบกลับมาขณะจัดทำรายงานข่าวนี้   มาเลเซียช่วยประสานงานรัฐบาลไทยในการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.…

มาเลเซียสอบสวนแรนซัมแวร์เจาะ “แอร์เอเชีย” กระทบพนักงาน-ผู้โดยสารกว่า 5 ล้านคน

Loading

  ทางการมาเลเซียกำลังดำเนินการสืบสวน เพื่อหาแหล่งที่มาของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารมากกว่า 5 ล้านคน และพนักงานทั้งหมดของสายการบิน “แอร์เอเชีย”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเปอตาลิงจายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า นายฟาห์มี ฟาดซิล รมว.การสื่อสารและดิจิทัลของมาเลเซีย กล่าวว่า กระทรวงกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารและพนักงานจำนวนมากของแอร์เอเชีย ถูกเจาะโดยกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อ Daixin Team   “การสืบสวนก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ของแอร์เอเชีย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา เกิดจากการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งนำไปสู่การโจมตีแรนซัมแวร์ที่อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้” ฟาห์มี กล่าวในแถลงการณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   Malaysia conducts probe into AirAsia ransomware attack, data of 5 million people affected https://t.co/qFZd2mZRQq — ST Foreign…