สกมช. ออกคำเตือนภัยประชาชน ระวัง….เว็บไซต์ปลอมที่ลงด้วย .cc

Loading

  สกมช. เตือนภัยมิจฉาชีพมักจะสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบหน่วยงานรัฐ หลอกลวงให้ประชาชนให้หลงเชื่อ สังเกตุ .cc ปลอมแน่!   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) แจ้ง เตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมเลียนแบบหน่วยงานรัฐ และใช้โดเมนที่ลงท้ายด้วย .cc   ขอให้ทราบทันทีว่าเป็นเว็บปลอม 100% เตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ   ทั้งนี้ โปรดสังเกต เว็บไซต์หน่วยงานจริงจะต้องเป็น “go.th หรือ or.th” เท่านั้น       หากพบเห็นเว็บไซต์ปลอมของหน่วยงานต่าง ๆ แจ้งได้ที่   Line Official : @ncert_ncsa Email : thaicert@ncsa.or.th โทร 02 114 3531         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

กรมที่ดินเผย ผลสอบมิจฉาชีพใช้ข้อมูลหลายแหล่ง รวมถึงแอปพลิเคชัน LandsMapsของกรมที่ดินด้วย

Loading

  นายธนกรณ์ สกุลกิม ผู้อำนวยการกองตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ กรมที่ดิน เปิดเผยว่า อธิบดีกรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างชื่อกรมที่ดิน หลอกลวงประชาชน โดยมอบหมายให้ นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งผลสรุปออกมาว่า ข้อมูลไม่ได้รั่วไหลจากกรมที่ดิน ระบบฐานข้อมูลของกรมที่ดินไม่ได้ถูกแฮ็ก   มิจฉาชีพได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่งแล้วนำมาประกอบกัน โดยได้ชื่อ-ที่อยู่-เบอร์โทร จากบริษัทหรือพนักงานที่ให้บริการส่งสินค้า หรือจาก Dark Web จากนั้นจึงนำที่อยู่ของเหยื่อมาเสิร์ชหาตำแหน่งที่ตั้งจาก Google Maps เมื่อรู้ว่าอยู่บริเวณใดแล้ว ก็ใช้โปรแกรม LandsMaps ในการค้นหาเลขโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ และราคาประเมินที่ดิน (LandsMaps คือระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน ซึ่งเป็นโปรแกรมของกรมที่ดินที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเชื่อมต่อระบบนำทางแผนที่สากลของ Google Maps ซึ่งให้บริการฟรีแก่ประชาชน) โดยมิจฉาชีพจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้หลอกเหยื่อว่า เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดิน ทำให้เหยื่อหลงเชื่อเพราะมิจฉาชีพรู้ข้อมูลอย่างละเอียด   จุดเด่นอีกข้อของ LandsMaps คือเชื่อมกับ Google Earth สามารถใช้ Street View Google เข้าไปดูได้ว่าบริเวณรอบบ้าน…

กรมที่ดินยืนยัน! ข้อมูลที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงประชาชนไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน

Loading

  นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผย หลังการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ สกมช. กรณีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมที่ดินหลอกลวง ให้ปรับปรุงข้อมูลในลิงก์เว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพทำขึ้น อีกทั้งยังมีการโทรศัพท์หาผู้เสียหาย ขอให้ปรับปรุงข้อมูลผ่านโทรศัพท์   กรมที่ดินขอยืนยันว่า ข้อมูลของประชาชนที่หลุดออกไปสู่มิจฉาชีพนั้น ไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน เนื่องจากการเข้าดูข้อมูลของกรมที่ดินนั้น ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้มีรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบเท่านั้น ถึงจะเข้าสู่ระบบได้ อีกทั้งมีการเก็บประวัติการเข้าถึงข้อมูลในระบบ หากมีเจ้าหน้าที่เข้าดูข้อมูลนั้นจะมีข้อมูลชื่อ วัน เวลา บันทึกเสมอ   นอกจากนี้กรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรณีที่เกิดขึ้น โดยจะดำเนินการตรวจสอบผู้เสียหายทุกเคส ฝากประชาสัมพันธ์ถึงประชาชน กรมที่ดินไม่มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงโทรศัพท์ไปหาเจ้าของที่ดิน เพื่อจะให้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือในช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ เพราะว่ากรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ให้บริการพี่น้องประชาชนให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว   กรมที่ดินได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อาทิ แอปพลิเคชัน Landsmaps ซึ่งโฉนดสามสิบล้านแปลง อยู่ในแอปพลิเคชันตัวนี้ ซึ่งสามารถที่จะตรวจสอบ การเสนอขายที่ดินจากมือถือของท่านได้เลยว่า ตําแหน่งที่ดินนั้นๆ มีอยู่จริงหรือไม่ ตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากดาวน์โหลดผ่าน App Store หรือ Play Store ซึ่งเป็นแหล่งดาวน์โหลดแอปพลิชันที่มีความน่าเชื่อถือ…

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก

Loading

  ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากการตรวจสอบในระบบศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) และได้รับสายโทรศัพท์จากมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน โดยให้ทำการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของหน่วยงานปลอมนั้น ๆ   จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายก่อนที่จะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมให้ผู้เสียหายติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาแล้วหลอกลวงให้ทำตามขั้นตอน ตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึง และให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งาน หลอกลวงให้กรอกรหัส PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง หรือหลอกลวงให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเล็กน้อย เช่น โอนเงินจำนวน 10 บาท เพื่อดูรหัสการทำธุรกรรมธนาคารของผู้เสียหาย แล้วเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วโอนเงินออกจากบัญชี จำนวนกว่า 6 หน่วยงาน ดังนี้   1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับข้อความสั้น (SMS) หรือได้รับสายโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินค่าชดเชยหม้อแปลงไฟฟ้า หรือคำนวณเงินค่า FT ผิดพลาด หรือได้รับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า เป็นต้น   2. กรมที่ดิน…

วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม เช็กเพจให้ดีก่อนจอง

Loading

  วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม โดยเฉพาะเพจร้านค้า และเพจโรงแรม ที่เปิดจองโรงแรมต่าง ๆ หลังมีเพจปลอมแอบเนียนเปลี่ยนชื่อมาหลอกขายผ่านทาง Facebook และมีผู้ถูกหลอกจำนวนมาก ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีว่าเพจนั้นเป็นเพจจริงหรือไม่ด้วยวิธีการดังนี้   วิธีสังเกตเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นโรงแรม ยกตัวอย่างโดยข้อมูลจากเพจ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เผยแพร่ภาพว่าเพจโรงแรมจริง กับเพจโรงแรมปลอมนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยทำตามขั้นตอนดังนี้   iT24Hrs   เข้าไปที่เพจของโรงแรม แล้วคลิก เกี่ยวกับ >> เลือก ความโปร่งใสของเพจ >> แล้วเลือกที่ ดูทั้งหมด   iT24Hrs   จะปรากกฎข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชื่อเพจ และคนจัดการเพจ จะเห็นได้ว่าเพจปลอม มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเพจอื่น ไม่ได้ใช้ชื่อโรงแรมตั้งแต่แรก และดูคนจัดการเพจนี้ไม่ใช่คนไทย แต่มาจากเมียนมา เป็นต้น   iT24Hrs   ซึ่งจากเพจจริงก็ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ปี 2012 และระบุจากประเทศไทยตั้งแต่แรก   และยังพบโรงแรมอื่น ๆ ที่ถูกเพจปลอมแอบอ้างเป็นโรงแรมจำนวนมาก ดังนั้นนอกจากตรวจสอบเพจแล้ว อาจลองโทรสอบถามกับทางโรงแรมโดยตรงก็ได้ มิฉะนั้นอาจเสียเงินฟรีโดยไม่ได้พักในโรงแรมเลย…

วิธีป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment

Loading

iT24Hrs-S   วิธีป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment แม้การจ่ายเงินแบบไร้เงินสดสะดวกรวดเร็วไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องเสียเวลานับแค่กดจำนวนเลขแล้วโอนก็เป็นการจ่ายเงินเรียบร้อย และเดี๋ยวนี้ช่องทางชำระบิลสามารถจ่ายผ่านมือถือ โดยไม่ต้องออกเดินทางไปจ่ายแล้ว แต่ก็มีปัญหาที่เจอบ่อยโดยเฉพาะผู้ใช้บัตรเครดิต และบัตรเดบิต โดนหักเงินหรือชำระเงินโดยที่ไม่ได้สั่งให้จ่ายเงิน หรือถูกหักเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่ทราบสาเหตุ   บางรายเจอถูกหักเงินออกจากบัญชีในจำนวนไม่มาก แต่โดนไปหลายร้อยครั้งในคนเดียววันเดียว เมื่ออายัดบัตรและเช็กข้อมูลพบว่าเป็นการซื้อของในเกมออนไลน์ และอีกกลุ่มคือมีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบัญชีธนาคาร/บัตรเดบิต โดยทำการหักเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือนไปยังเจ้าของบัตร   วิธีแก้และป้องกันเงินในบัญชีหายโดยไม่รู้ตัว จากการใช้ e-payment   1. หากพบรายการผิดปกติ แจ้งอายัดบัตรเดบิต/บัตรเครดิตทันที เพื่อป้องกันมิจฉาชีพนำเลขหน้าบัตร รวมถึงรหัส CVV ไปใช้   2. ติดต่อ Call Center ของธนาคารต้นเรื่อง และดำเนินการตามขั้นตอนธนาคารเพื่อปฏิเสธการจ่ายรายการหรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่ผิดปกติ   3. เก็บหลักฐานทั้งหมดที่ได้รับ เช่น SMS หน้าจอ วงเงิน Statement ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ  …