ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยจากมิจฉาชีพแฝงตัวสร้างเว็บลอยกระทงออนไลน์หลอกกรอกข้อมูล

Loading

  เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสใช้สถานการณ์วันสำคัญก่อเหตุ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ดังนี้   เนื่องในวันที่ 8 พ.ย.2565 ถือเป็นวันลอยกระทง ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะออกมาทำกิจกรรม ร่วมกันสืบทอดประเพณีอันดีงาม และมีประชาชนบางส่วนที่ไม่ได้เดินทางออกมาร่วมกิจกรรม เนื่องจากเหตุผลหลายๆ ประการ โดยจะใช้บริการลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งจะมีการให้ประชาชนกรอกข้อมูลต่างๆ เพื่ออธิษฐานขอพรออนไลน์   ในการลอยกระทงออนไลน์ เหล่ามิจฉาชีพอาจอาศัยโอกาสดังกล่าวสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาทั้งหมดหรือเว็บไซต์ปลอมที่คล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงให้ประชนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัส OTP เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊ก ไลน์ โดยมิชอบ แล้วไปหลอกยืมเงินผู้อื่น หรือใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า หรือถูกโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย…

ทรูมูฟ เอชเตือนภัยแอปปลอม ส่งลิงก์โหลดลงทะเบียนขโมยข้อมูล

Loading

  อย่าหลงเชื่อ…ทรูมูฟ เอช เตือนภัยมิจฉาชีพ มารูปแบบใหม่ อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากทรู ติดต่อลูกค้าและขอรายละเอียดการใช้บริการ หวังดีตรวจสอบให้ว่าเบอร์มือถือของลูกค้าถูกมิจฉาชีพอื่นนำไปใช้ทำธุรกรรมหรือไม่ พร้อมหลอกลวงว่าเบอร์มือถือของลูกค้าที่ใช้ยังลงทะเบียนซิมไม่ครบถ้วน โดยขอให้แอดไลน์ เพื่อส่งรายละเอียด   หากลูกค้าหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม ชื่อ TrueMove H โดยอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจสอบชื่อจริง และทำให้ลูกค้าหลงเชื่อยอมกรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมใส่รหัสยืนยัน ซึ่งบางคนอาจใช้เป็นรหัสเดียวกันกับแอปพลิเคชันการเงินอื่นๆ ของตน หลังจากนั้นมิจฉาชีพแจ้งว่าจะรีบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่ลูกค้าให้มาอย่างละเอียด และขอให้ลูกค้าอย่าเพิ่งใช้โทรศัพท์ในระหว่างนี้ ซึ่งถ้าหากลูกค้าหลงเชื่อปฏิบัติตาม มิจฉาชีพจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเชื่อมต่อแอปธนาคาร และดูดเงินจากบัญชีลูกค้า   ทั้งนี้ ขอย้ำว่า แอปพลิเคชัน TrueMove H โอเปอเรเตอร์ (ดังปรากฏในภาพ) เป็นแอปปลอม ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งหากลูกค้าต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับบริการเพิ่มเติม สามารถโทร.1242 หรือเข้าแอปพลิเคชันทรูไอดี ทรูไอเซอร์วิส ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าทรูมูฟ เอช ยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อแจ้งเตือนเบอร์แปลก รู้ทันทุกสาย หรือโทร.9777 เพื่อแจ้งข้อมูลเบอร์โทร.เข้าที่ต้องสงสัยและ SMS หลอกลวง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย    …

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

ไปรษณีย์ไทยเตือนระวัง SMS ปลอมแจ้งพัสดุตกค้าง ห้ามกรอกข้อมูลสำคัญ

Loading

  ไปรษณีย์ไทยแจ้งเตือนกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ใช้ช่องทาง SMS แจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง พร้อมค่าบริการที่ต้องชำระ ไปรษณีย์ไทยขอย้ำว่าผู้ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกรอกข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงิน   โดยไปรษณีย์ไทยขอแจ้งเตือนภาคประชาชน ซึ่งขณะนี้มีการใช้ช่องทาง SMS ส่งข้อความหาผู้ใช้บริการ โดยระบุข้อความภาษาอังกฤษว่า “Thailandpost : Your Package is still awaiting processing Please confirm Deliver Charges” หรือ “ขณะนี้คุณมีพัสดุตกค้างที่ไม่สามารถจัดส่งได้ กรุณาชำระค่าบริการ”   พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับ SMS กด เพื่อนำไปสู่การกรอกข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตรวันหมดอายุของบัตร และรหัส 3 หลักสุดท้าย (CVC/CVV) ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต/เอทีเอ็ม พร้อมด้วยจำนวนเงินที่ต้องชำระค่าบริการ และหมายเลขติดตามพัสดุซึ่งไม่ใช่ของจริง   ไปรษณีย์ไทยขอย้ำเตือนว่าผู้ที่ได้รับข้อความดังกล่าวห้ามกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลบนบัตรเครดิต/เอทีเอ็มเด็ดขาด เนื่องจากเป็นการหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ และไปรษณีย์ไทยไม่มีนโยบายในการแจ้งเรียกเก็บค่าดำเนินการใดๆ ผ่านทาง SMS ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะสิ่งของฝากส่งทางไปรษณีย์ได้ที่ www.thailandpost.co.th และไลน์ออฟฟิเชียล…

ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจงเหตุลูกค้าถูกดูดเงินออกจากบัญชี พบลูกค้าถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรม

Loading

ภาพโดย TheInvestorPost   หลังจากมีข่าวเจ้าของบัญชีถูกถูกมิจฉาชีพหลอกส่งลิงก์ผ่าน LINE จนกระทั่งเงินถูกโอนออกจากบัญชี 1.4 ล้านบาท ทางธนาคารไทยพาณิชย์ก็แถลงชี้แจงว่าการถอนเงินไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของธนาคาร แต่ผู้ถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมซึ่งอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของธนาคาร   ทางธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความผ่านทาง SMS, อีเมล, LINE, หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสผ่านลูกค้า   แถลงของธนาคารไม่ได้บอกรายละเอียดของเหตุการณ์ครั้งนี้โดยตรง แต่แนะนำ 3 ประเด็น ได้แก่   1.  คนร้ายสามารถให้ข้อมูลเหยื่อได้มากขึ้น สามารถบอกชื่อ, นามสกุล, หมายเลขประจำตัว, ชื่อร้านค้า ฯลฯ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ 2.  คนร้ายอาจจะหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรม remote desktop และหลอกให้เหยื่อบอก PIN สำหรับเข้าควบคุมหน้าจอ 3.  คนร้ายอาจจะอาศัยการแชร์หน้าจอระหว่างวิดีโอคอล แล้วหลอกให้เหยื่อเข้าแอปธนาคาร   การใช้ซอฟต์แวร์ remote desktop ตามปกติเพื่อหลอกควบคุมเครื่องของเหยื่อนั้นเป็นปัญหาที่มีต่อเนื่อง โปรแกรมยอดนิยมเช่น Team Viewer มีรายงานอยู่เนือง ๆ ว่าคนร้ายพยายามหลอกให้เหยื่อลงโปรแกรมเพื่อเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อ ช่วงปี…

เนียนจัด! โจรอังกฤษปลอมเป็น ‘การ์ด’ เข้าไปขนเงิน 6.4 ล้าน พนง.แบงก์ยื่นให้ซื่อๆ ไม่รู้ตัวว่า ‘ถูกปล้น’

Loading

  ชายมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทเอกชน เดินเข้าไปขนเงินกว่า 6.4 ล้านบาท ออกจากธนาคารแห่งหนึ่งในอังกฤษอย่างหน้าตาเฉย โดยที่พนักงานธนาคารก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกปล้น   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ก.ค. โดยคนร้ายซึ่งสวมเครื่องแบบ หมวก และแว่นตาคล้ายกับพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัท G4S ได้เดินเข้าไปที่ธนาคาร Santander สาขาบริกซ์ตัน (Brixton) ทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน พร้อมกับโชว์บัตรประจำตัวปลอม ก่อนจะขนกล่องบรรจุเงินสด 25,000 ปอนด์ จำนวน 6 กล่องออกไปอย่างใจเย็น   พนักงานธนาคารมาเริ่มเอะใจตอนที่โจรรายนี้ขับรถออกไปเฉยๆ โดยไม่กลับเข้ามาเซ็นชื่อตามระเบียบ และเมื่อโทร.ไปเช็กกับทาง G4S ก็ได้คำตอบที่ทำเอาลมแทบจับ เพราะบริษัทยืนยันว่าไม่ได้ส่งรถขนเงินไปที่ธนาคารแต่อย่างใด   หนังสือพิมพ์เดอะซันของอังกฤษรายงานว่า การปล้นครั้งนี้มีข้อผิดสังเกตหลายอย่าง ตั้งแต่การที่โจรไม่ได้สวมเครื่องแบบ G4S อย่างถูกต้อง แถมยังยกกล่องใส่เงินสดออกไปทีละ 2 กล่อง ซึ่งผิดกฎของบริษัทที่กำหนดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องขนเงินออกไปทีละกล่องเท่านั้น ทำให้น่าสงสัยว่าพนักงานธนาคารหลงเชื่อเข้าไปได้อย่างไร   อย่างไรก็ดี ภารกิจปล้นครั้งนี้อาจไม่ใช่เรื่องหมูๆ เสียทีเดียวสำหรับโจร เพราะทางธนาคารได้ใส่ ‘dye pack’ หรือระเบิดสีเอาไว้ในกล่องบรรจุเงินทั้ง 6 กล่องด้วย…