เมื่อข้อมูลลูกค้ารั่ว

Loading

  ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลกลายเป็นสิ่งมีค่ามหาศาล การรั่วไหลของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลบัตรเครดิตถือเป็นฝันร้ายของทั้งบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายทางการเงิน แต่ยังบั่นทอนความเชื่อมั่นและชื่อเสียงขององค์กรอย่างรุนแรง   หนึ่งในคดีความที่โด่งดังที่สุดและส่งผลกระทบต่อวงการธุรกิจอย่างกว้างขวางคือ คดี Target Corporation Data Security Breach ในปี 2013   Target ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ถูกแฮ็กเกอร์โจมตีจนทำให้ข้อมูลบัตรเครดิตและเดบิตของลูกค้ากว่า 40 ล้านคนรั่วไหล   เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ Target ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ในข้อหาละเลยและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย   ส่งผลให้ Target ต้องจ่ายเงินชดเชยกว่า 100 ล้านดอลลาร์เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเครดิต ค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย และการชดเชยความเสียหายอื่น ๆ   คดีที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นกับ Home Depot ในปี 2014 ซึ่งข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้ากว่า 56 ล้านคนถูกขโมยไป Home Depot ถูกฟ้องร้องในข้อหาละเลยเช่นเดียวกับ Target และต้องจ่ายเงิน 179 ล้านดอลลาร์เป็นค่าชดเชยและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และค่าปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน…

ชีวิตในยุคดิจิทัล เมื่อ AI รู้จักคุณดีกว่าที่คุณคิด

Loading

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ AI จะเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ เพราะในปัจจุบัน เราเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน นาฬิกาอัจฉริยะ และอุปกรณ์ IoT ต่างๆ

ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…

นักคณิตศาสตร์ฯ จับมือ กูรูวงการ Security แนะเคล็ดลับทำยังไงไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

Loading

วันที่ 8 พ.ย.2566 – จากกรณีเกิดประเด็นร้อนภายหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้แถลงผลจับกุม นายพศิน (สงวนนามสกุล) นายหน้าประกันโดยมีพฤติกรรมลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปขายให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ ส่งผลทำให้ลูกค้าอาจได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว

หลักการกำกับดูแลความมั่นคงแห่งชาติและความท้าทายสำคัญในยุคดิจิทัลของจีน

Loading

นายเฉิน อี้ซิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของจีน ได้เขียนบทความเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลความมั่นคงแห่งชาติและความท้าทายสำคัญในยุคดิจิทัลของจีน เผยแพร่ในนิตยสาร China Cyberspace ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์สเปซของจีน เมื่อ 27 ก.ย.66

‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…