ส่องจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะในสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

Loading

  เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบพกพาโดยหน่วยทหาร ไม่ว่าจะทำการยิงด้วยทหารเพียงแค่นายเดียวหรือสอง-สามนาย นับเป็นอาวุธหนักที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย จากสงครามในอดีต ปืนต่อสู้รถถังอย่างบาซูกาคืออาวุธต่อต้านยานรบหุ้มเกราะหนาที่ขับเคลื่อนด้วยจรวดรุ่นแรก และถูกใช้โดยทหารราบในสนามรบ จุดเด่นของจรวดประทับบ่าที่มีน้ำหนักไม่มากก็คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็งสำหรับการขับเคลื่อน กับหัวรบระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังที่จะยิงเข้าใส่ยานพาหนะหุ้มเกราะ รังปืนกล และป้อมปราการบังเกอร์ที่อยู่ในระยะพิสัยไกลกว่าการขว้างระเบิดมือ หรือทุ่นระเบิด   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมนีได้ยึดบาซูกามาหลายกระบอกในการบุกแอฟริกาเหนือช่วงแรก ไม่นานนัก หน่วยพัฒนาอาวุธของเยอรมนีสร้างเครื่องยิงจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.8 ซม.   เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้จะยุติลง ญี่ปุ่นได้พัฒนาอาวุธปราบรถถังที่มีความคล้ายคลึง ด้วยเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 70 มม. ไทป์ 4 หัวรบดินระเบิดแรงสูง ขับเคลื่อนด้วยจรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีระยะหวังผลยังไม่ไกลเท่าที่ควร แต่ใช้หยุดยั้งรถถัง หรือสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างดี   คำว่า “บาซูกา” ยังถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นศัพท์ทั่วไปที่อ้างถึงอาวุธต่อต้านรถถังแบบขีปนาวุธที่ยิงด้วยการประทับบ่าจากภาคพื้นดิน         จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin   จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ผลิตโดยบริษัท Raytheon และ Lockheed Martin เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯ…

‘กองทัพบก’ ยกเครื่อง 636 คลังแสงป้องกันกระสุน-ระเบิดรั่วไหล!

Loading

  ‘กองทัพบก’ยกเครื่อง 636 คลังแสงติดตั้งระบบแจ้งเตือนการบุกรุกและอัคคีภัย ด้วยเทคโนโลยีที่การตรวจสอบที่ทันสมัยป้องกันกระสุน-วัตถุระเบิดรั่วไหล ดัดแปลงตู้คอนเทเนอร์ 34 หลังเก็บรักษายุทโธปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.ท.หญิง นุชระวี แจ่มจำรัส ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก แถลงข่าวผลการปฏิบัติงาน กองทัพบกประจําปี 2564 เปิดเผยมาตรการ ยกระดับการเก็บรักษาอาวุธประจำกายและยุทโธปกรณ์ที่หน่วยได้รับการแจกจ่ายให้มีความปลอดภัย รัดกุม ป้องกันการรั่วไหล โดยใช้วิธี ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้สามารถตรวจการณ์ และแจ้งเตือนอัตโนมัติได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน บริเวณภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงการติดตั้งตั้งกล้องตรวจการณ์บนเสาสูง เพื่อตรวจตราให้ครอบคลุมพื้นที่ พร้อมระบบแจ้งเตือนการบุกรุกและอัคคีภัย การก่อสร้างรั้ว และระบบควบคุมการเข้า-ออกคลังด้วยเทคโนโลยีที่การตรวจสอบที่ทันสมัย รวมทั้งการติดตั้งระบบแสงส่องสว่างรอบตัวอาคาร โดยเฉพาะคลังกระสุนและวัตถุระเบิด พื้นที่กองคลังแสง และพื้นที่กองคลังยุทโธปกรณ์ กรมสรรพาวุธทหารบก ตลอดจน พัฒนาระบบและมาตรการการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธของกองทัพบกตามหน่วย ภูมิภาค จำนวน 636 คลัง พ.ท.หญิง นุชระวี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้กองทัพบก ได้ก่อสร้างและดัดแปลงตู้คอนเทเนอร์เป็นคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น จำนวน 34 หลัง สำหรับเก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ยุทโธปกรณ์ที่มีมูลค่าสูง ให้มีสถานที่เก็บเหมาะสมป้อง กันการชำรุดและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น…