รวม 8 อาวุธยูเครน ที่ได้รับจากชาติตะวันตก ทั้งรถถัง ปืนใหญ่ เครื่องบิน และโดรน

Loading

  TNN Tech รวบรวมข้อมูลยุทโธปกรณ์ทางการทหารที่ได้รับจากชาติตะวันตกในความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน     นับจากเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา ปฏิบัติการทางการทหารระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้เข้าสู่เดือนที่ 16 ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของ TNN Tech พบว่ามียุทโธปกรณ์จำนวนมากจากชาติตะวันตกได้ถูกส่งมอบไปยังยูเครนทั้งในรูปแบบของความช่วยเหลือและรูปแบบของการซื้อขาย ซึ่งมีตัวอย่างอาวุธที่น่าสนใจทั้งหมด 4 ประเภท รวม 8 ชนิด ดังต่อไปนี้   รถถังต่อสู้หลัก (Main Battle Tank: MBT)   1. เอ็มวัน เอแบรมส์ (M1 Abrams) รถถังหลักอันโด่งดังซึ่งผลิตและประจำการในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ถูกส่งมอบให้กับยูเครนจำนวน 31 คัน สหรัฐอเมริกา   2. ชาเลนเจอร์ ทู (Challenger 2) รถถังหลักซึ่งผลิตขึ้นยุคปี 1990 ประจำการอยู่ในกองทัพของอังกฤษ จำนวน 14 คัน   3. เลพเพิร์ด ทู (Leopard 2)…

ยูเครนคือสมรภูมิ ประลองอาวุธ AI

Loading

    สมรภูมิรบในยูเครนได้กลายเป็น “โชว์รูม” แห่งอาวุธที่ใช้เทคโนโลยีก้าวล้ำกว่าสงครามโลกครั้งที่สองหลายมิติ   เป็นสนามประลองที่เราได้เห็นการใช้ “โดรนกามิกาเซ่” ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าสงครามครั้งก่อนๆ   เราเห็นการใช้ AI เพื่อประเมินข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการวางยุทธศาสตร์การสู้รบ   เราเห็นเครือข่ายดาวเทียม StarLink ของ SpaceX ของอีลอน มัสก์ ที่มีดาวเทียมจิ๋วๆ จำนวนมากลอยอยู่เหนือยูเครนเพื่อให้ทหารได้ใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินแม้ในแนวรบที่ห่างไกล   การที่กองทัพยูเครนไม่ถูกทหารรัสเซียถล่มโจมตีจนต้องยกธงขาวในสองสามสัปดาห์แรกก็เพราะหน่วยงานด้านเทคโนโลยีของยูเครนโดยการสนับสนุนจากตะวันตกส่งข้อมูลสำคัญๆ บนคลาวด์เพื่อจะปกป้องข้อมูลหลักๆ ไม่ให้ถูกทำลายด้วยขีปนาวุธรัสเซียที่ถล่ม “โครงสร้างพื้นฐาน” ด้านทหารและความมั่นคงของยูเครน   กระทรวงดิจิทัลของยูเครนที่เพิ่งตั้งขึ้นก่อนสงครามเกิดประมาณสองปีปรับตัวทันทีที่ทหารรัสเซียบุก…ด้วยการใช้ Apps ที่ชื่อ Diia เพื่อเก็บข้อมูลจาก open source intelligence หรือข้อมูลข่าวกรองที่ได้จากแหล่งข่าวที่เปิดเผย   เมื่อมี apps นี้แล้วประชาชนยูเครนทั้งหลายสามารถที่จะส่งรูปและคลิปวิดีโอขึ้นไปเพื่อรายงานที่ตั้งของฝ่ายศัตรูให้หน่วยงานทางการได้รับรู้   เหมือนประชาชนเป็นสายข่าวทหารให้กับทั้งกองทัพผ่านมือถือของตน   พอรัสเซียส่งโดรนที่ทำจากอิหร่านมาโจมตีเป้าหมายในสนามรบ ยูเครนก็โต้ตอบด้วยการส่งโดรนของตนที่ออกแบบมาเพื่อการสกัดโครนคู่ต่อสู้โดยเฉพาะ   และทหารยูเครนก็ได้รับการฝึกฝนให้ใช้อาวุธจากตะวันตกที่ตนไม่คุ้นเคยมาก่อน   เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการแข่งขันใช้นวัตกรรมแบบ “แมวกับหนู” ระหว่างรัสเซียกับยูเครนในสนามรบ   เมื่อยูเครนตัวเล็กกว่า…