การใช้ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า โอกาสหรือความเสี่ยง

Loading

Dutch DPA บังคับใช้กฎหมาย GDPR ปรับและคำสั่งลงโทษเพิ่มเติม ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต่อกรณีการกระทำผิดของ Clearview AI ผู้ให้บริการข้อมูลภาพจำลองใบหน้า

ยูไนเต็ดเฮลท์เผยแฮ็กเกอร์อาจขโมยข้อมูลคนอเมริกันไปได้ถึง 1 ใน 3

Loading

นายแอนดรูว์ วิตตี ซีอีโอของยูไนเต็ดเฮลท์ ได้แจ้งต่อคณะกรรมาธิการสภาคองเกรสเมื่อ 1 พ.ค. ว่า แฮกเกอร์ที่เจาะเข้าระบบเทคโนโลยีของบริษัทฯ เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา อาจขโมยข้อมูลของชาวอเมริกันไปได้มากถึง 1 ใน 3

นักวิจัยพบว่าพื้นผิวของลิ้นอาจระบุตัวตนของเราได้ผ่านการทดสอบด้วย AI

Loading

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และมหาวิทยาลัยลีดส์ได้ร่วมกันสร้างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการอ่านภาพ 3 มิติของลิ้นมนุษย์เพื่อระบุลักษณะของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งลิ้นของคนเราจะมีปุ่มลิ้น (Papillae) ขนาดเล็กจำนวนหลายพันปุ่มที่ช่วยในการลิ้มรส การสัมผัส การพูด และการกลืน

นักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ค้นพบความเสี่ยงในสมาร์ตโฟน Android จากมัลแวร์ EarSpy

Loading

ภาพ : Getty Images   เมื่อ 28 ส.ค.66 เว็บไซต์ TEXAS A&M Today ของมหาวิทยาลัย Texas A&M สหรัฐฯ รายงานบทความ ระบุว่า ทีมนักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์จาก Texas A&M และสถาบันอื่น ๆ อีกสี่แห่ง ได้สร้างซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือมัลแวร์ ที่เรียกว่า EarSpy เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบน สมาร์ตโฟน Android โดยพบว่าสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้   EarSpy ใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสั่นสะเทือนของลำโพงที่บันทึกโดยเซนเซอร์ตรวจจับของสมาร์ตโฟน สามารถระบุเพศของผู้พูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 98.6 ผู้พูดเป็นผู้โทรซ้ำด้วยความแม่นยำร้อยละ 91.6 ตรวจจับคำพูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 45-90 มัลแวร์ยังจดจำตัวเลขที่พูด โดยเฉพาะตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 โดยมีความแม่นยำร้อยละ 56 ซึ่งสูงกว่าการคาดเดาแบบสุ่มถึงห้าเท่า   การวิจัยมุ่งเน้นไปที่สมาร์ตโฟน Android เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้งจากผู้ใช้ รวมถึงสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ซึ่งผู้ผลิตบางรายกำลังปรับเปลี่ยนลำโพงที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับวิดีโอและการสตรีม ทำให้อัลกอริทึมสามารถตรวจจับข้อมูลได้ดีขึ้น จากผลลัพธ์นี้…

5 จังหวัดประเดิม…สแกนม่านตา ระบุตัวตนบุคคลไม่มีเอกสารประจำตัว

Loading

  3 หน่วยงานลงนามร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยการสแกนม่านตาของบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสาธารณสุขและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม   นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้เรียนรู้และเห็นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องภายใต้ภารกิจการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารระบุตัวตน   ปัญหาที่พบคือ มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่ปรากกฏในเอกสารประวัติการได้รับวัคซีน อันจะส่งผลต่อความครอบคุลมและการดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากรดังกล่าว   ปีที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สภากาชาดไทย และ เนคเทค สวทช. จัดทำโครงการนำเทคโนโลยีการระบุตัวบุคคลด้วยใบหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรข้ามชาติอาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดสมุทรสาคร หรือกรุงเทพมหานคร   เพื่อให้การระบุตัวตนของบุคคลนั้นๆ สามารถรับบริการสุขภาพที่เหมาะสมเป็นไปตามคำแนะนำทางการแพทย์ และทำให้ประวัติการรับวัคซีนมีความสมบูรณ์มากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นำร่องใช้เทคโนโลยีระบุตัวบุคคลดังกล่าว   ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายผลการดำเนินงานจากเดิม โดยมุ่งพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีการสแกนม่านตาที่มีความเที่ยงตรงมากขึ้น     กรมควบคุมโรคและหน่วยงานภาคีเครือข่ายจะดำเนินการระยะแรก ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์…

คำเตือนของ FBI : โจรกำลังใช้ Deepfakes เพื่อสมัครงานเทคโนโลยีระยะไกล

Loading

Credit : iStock   ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง กับปัญหาด้านเศรษฐกิจ ภาวะการว่างงานสูงส่งผลให้จำนวนการสมัครงานต่างต่อแถวกันเข้าสัมภาษณ์งานมากขึ้นเช่นกัน การประยุกต์ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์งานออนไลน์เป็นสิ่งที่ดีและปลอดภัยต่อการแพร่เชื้อไวรัส   ตามรายงานข้อมูลของ FBI อาชญากรกำลังใช้ Deepfakes เป็นช่องทางขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ระหว่างการสัมภาษณ์งานออนไลน์   ขณะนี้มีการร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (IC3) ของ FBI เกี่ยวกับการใช้ Deepfakes และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้เพื่อสมัครการทำงานทางไกล ส่วนใหญ่เป็นงานด้านเทคโนโลยี   การใช้ Deepfakes หรือเนื้อหาเสียง ภาพ และวิดีโอสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นด้วย AI หรือเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง ได้รับความสนใจอย่างมากจากภัยคุกคามจากฟิชชิ่ง   รายงานไปยัง IC3 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานว่างในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล และฟังก์ชันงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ ซึ่งทุกตำแหน่งงานจะรายงานการใช้ข้อมูลประจำตัวและการตรวจสอบประวัติภูมิหลังก่อนการจ้างงานโดยพบว่า PII ที่ได้รับจากผู้สมัครบางคนนั้นเป็นของบุคคลอื่น   รูปแบบที่อาชญากรนิยมใช้ เป็นการใช้เสียงปลอมในระหว่างการสัมภาษณ์ออนไลน์กับผู้สมัคร ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้สังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกันของภาพ การเคลื่อนไหวของริมฝีปากของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ในกล้องนั้นไม่ได้ตรงกับเสียงของผู้พูด เช่น การไอ จาม หรือการได้ยินอื่นๆ   การโจมตีที่ฉ้อโกงในกระบวนการจัดหางานไม่ใช่ภัยคุกคามใหม่ แต่การใช้…