เมียนมายอมรับ ถูกโจมตีหนักใน 3 รัฐ สั่งจนท.พลเรือน-อดีตทหารเตรียมพร้อมรบ

Loading

วันนี้ (16 พ.ย.) รัฐบาลทหารเมียนมารายงานว่า “มีการโจมตีอย่างหนัก” จากกลุ่มต่อต้านในหลายพื้นที่ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารเมียนมาต้องออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนและผู้ที่มีประสบการณ์ทางทหารทุกคน เตรียมพร้อมรับราชการในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ใช้โดรนทิ้งบอมบ์ ถล่มเมียวดี 6 ศพ นักรบ “เคเอ็นยู” หย่อน 5 ลูกซ้อน

Loading

  ชายแดนแม่สอดระอุ ทหารกะเหรี่ยงเคเอ็นยูกลุ่มต่อต้าน รัฐบาลทหารเมียนมาปฏิบัติการถล่มเมืองเมียวดี ใช้โดรนทิ้งระเบิดใส่สถานีตำรวจและค่ายทหาร 3 ลูกซ้อน วางแผนล่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าตรวจที่เกิดเหตุก่อนทิ้งบอมบ์ถล่มซ้ำอีก 2 ลูกตูมสนั่นกลางวงกลุ่มเจ้าหน้าที่ ปลิดชีพ ผวจ.เมียวดี พร้อม ผบ.พันทหาร ผกก.ตำรวจ และลูกน้องเสียชีวิตรวม 6 ศพ บาดเจ็บระนาวอีก 10 คน คาดฝีมือหน่วยรบโดรนฝูงบินสหพันธ์ใช้โดรนขนาดใหญ่บรรทุกลูกปืน ค.60 ถล่มเป้าหมายกลยุทธ์เดียวกับสงครามยูเครน ช่วงปีที่ผ่านมาคร่าชีวิตทหารเมียนมาตายเจ็บกว่า 200 นาย ผวจ.ตากนำคณะตรวจด่านพรมแดนแม่สอดยังเปิดปกติ สั่งลาดตระเวนตรวจเข้มตามจุดล่อแหลม ยันไม่กระทบฝั่งไทย   ปฏิบัติการกองกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาใช้โดรนทิ้งระเบิดถล่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมืองเมียวดีตายเจ็บจำนวนมากครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 3 ก.ย. เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงหลายครั้งบริเวณศูนย์ราชการย่านใจกลางเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา อยู่ห่างจากด่านพรมแดนถาวรแม่สอดแห่งที่ 1 ประมาณ 2 กม. ฝั่งตรงข้าม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เสียงดังสนั่นมาถึงฝั่งไทย หลังเกิดเหตุนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล นอภ.แม่สอด รายงานให้นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผวจ.ตาก…

ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …

รัฐบาลทหารเมียนมาขยายเวลาภาวะฉุกเฉิน ส่งสัญญาณการเลือกตั้งล่าช้า

Loading

  รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือนเมื่อวันจันทร์ ส่งสัญญาณถึงการชะลอการเลือกตั้งที่พวกเขาให้คำมั่นว่าจะจัดภายในเดือนสิงหาคม   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 31 กรกฏาคม 2566 กล่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติเมียนมา (เอ็นดีเอสซี) ที่อยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ออกประกาศระบุว่า “สถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศจะขยายออกไปอีก 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566”   ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่ร่างขึ้นโดยกองทัพเมียนมาซึ่งรัฐบาลทหารระบุว่ายังคงมีผลบังคับใช้ กำหนดให้ทางการต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 6 เดือนหลังจากยกเลิกภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นการขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน ทำให้การเลือกตั้งใหม่ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้ตามที่รัฐบาลทหารเคยสัญญาว่าจะจัดให้มี ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน   มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหาร อธิบายต่อที่ประชุมฯว่า การสู้รบและการโจมตียังคงเกิดขึ้นในภูมิภาคสะกาย, มะเกว, พะโค และตะนาวศรี เช่นเดียวกับรัฐกะเหรี่ยง, กะยา และรัฐชิน   “เราต้องการเวลาเพื่อทำหน้าที่เตรียมการอย่างเป็นระบบต่อไป และไม่ควรรีบเร่งจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเดิม” เขากล่าวกับที่ประชุม   รัฐบาลทหารได้ขยายภาวะฉุกเฉินออกไปแล้วในปีนี้…

รัฐบาลทหาร “เมียนมา” จ่อขยายสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

    ครบรอบ 2 ปี รัฐประหารในเมียนมา สถานการณ์ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ อาจมีการขยายสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่อแววเลื่อนเลือกตั้ง   เมื่อวานนี้ ( 31 ม.ค.) รัฐบาลเมียนมาออกแถลงการณ์ว่า สภากลาโหม และความมั่นคงแห่งชาติของรัฐบาลทหารเมียนมาได้มีการประชุมหารือร่วมกันเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศ และได้ข้อสรุปว่า สถานการณ์ในเมียนมายังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งรวมถึงกองกำลังป้องกันประชาชน (PDF) ที่ต่อต้านการรัฐบาลทหาร และรัฐบาลเงาที่ครอบงำ โดยฝ่ายนิติบัญญัติจากพรรคของนางอองซาน ซูจี ได้พยายามยึดอำนาจรัฐด้วยวิธีการก่อความไม่สงบ และความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง     นอกจากนี้ยังระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาจะมีประกาศสำคัญออกมาเพิ่มเติมในวันนี้ (1 ก.พ.) แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใด ๆ เพิ่มเติม   ทั้งนี้สถานการณ์ฉุกเฉินที่รัฐบาลทหารเมียนมาบังคับใช้ ได้สิ้นสุดในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญระบุว่า ให้ผู้มีอำนาจต้องกำหนดแผนการจัดการเลือกตั้งใหม่ และวันนี้กองทัพเมียนมาจะต้องมีการประกาศเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้ง   อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2008 ที่เขียนขึ้นโดยกองทัพ ระบุว่า ประธานาธิบดีที่ประสานงานกับ สภากลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติสามารถขยายสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปได้ 6 เดือน เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้บัญชาการกองทัพ ซึ่งเมื่อวานนี้ในวงประชุมด้านความมั่นคงก็มีรักษาการอดีตประธานาธิบดีเมียนมาเข้าร่วมประเมินสถานการณ์ด้วย…

รัฐบาลทหารเมียนมาตั้งข้อหา “ก่อการร้าย” กับนักข่าวอเมริกัน

Loading

  พนักงานสอบสวนของเมียนมาตั้งข้อหา “ก่อการร้าย” กับนายแดเนียล เฟนสเทอร์ ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ว่านายถั่น จอ อ่อง ทนายความของนายแดเนียล เฟนสเทอร์ ผู้สื่อข่าวชาวอเมริกัน กล่าวว่า พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาเพิ่มเติมกับลูกความ คือ ข้อหาปลุกระดมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 ( เอ ) เกี่ยวกับการยุยงปลุกปั่น และมาตรา 50 ( เอ ) ของกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย   #UPDATES New charges of terrorism and sedition against US journalist Danny Fenster in Myanmar, come as he faces trial for allegedly encouraging…