สำรวจการใช้ “โดรนกามิกาเซ” ของทัพรัสเซียและยูเครน

Loading

  ซากของโดรนชาเฮด-136 ที่ถูกยูเครนยิงตก   ยูเครนกล่าวหาว่ารัสเซียใช้ “โดรนกามิกาเซ” โจมตีเป้าหมายที่เป็นพลเรือนในกรุงเคียฟ   โดรนชนิดนี้บรรทุกระเบิดที่จะระเบิดขึ้นเมื่อเกิดแรงปะทะ ซึ่งจะทำลายโดรนไปพร้อมกัน     โดรนกามิกาเซ ของรัสเซียคืออะไร   เชื่อกันว่ารัสเซียใช้โดรน “ชาเฮด-136” (Shahed-136) ที่อิหร่านผลิต ในสมรภูมิยูเครนตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา   โดรนชนิดนี้ซึ่งรัสเซียเรียกว่า เจอเรเนียม-2 (Geranium-2) มีระเบิดอยู่ในหัวรบที่ส่วนจมูกของมัน และได้รับการออกแบบให้บินวนเวียนเหนือเป้าหมายจนกว่าจะได้รับคำสั่งให้โจมตี   ชาเฮด-136 มีระยะระหว่างปลายปีก 2 ข้างประมาณ 2.5 เมตร และยากที่จะตรวจจับด้วยเรดาร์   ยังไม่ชัดเจนว่ารัสเซียมีโดรนชนิดนี้อยู่เท่าใด แต่สหรัฐฯ ระบุว่า อิหร่านมีแผนจะจัดส่งโดรนหลายร้อยลำให้แก่รัสเซีย แต่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหานี้       โดรนกามิกาเซสร้างความเสียหายมากแค่ไหนในยูเครน   มีรายงานว่ารัสเซียใช้โดรนชาเฮด-136 ครั้งแรกเมื่อ 13 ก.ย. เพื่อโจมตีเป้าหมายในเมืองคูปิยันสก์ ในภูมิภาคคาร์คีฟ ทางภาคตะวันออกของยูเครน   ช่วงปลายเดือนเดียวกัน…

เริ่มจริงจัง NATO ส่งหุ่นยนต์ติดอาวุธ เข้าใกล้พื้นที่เขตสู้รบ

Loading

  คิดว่าทุกคนน่าจะรู้เรื่องสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนแล้วเนอะ เขารบกันมาพักใหญ่แล้ว แต่ข่าวบ้านเราเงียบหายไปพักนึงแล้วกลับมามีข่าวอีกครั้ง เพราะว่าประธานาธิปบดีของรัสเซียขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์   ผมไม่ขอลงลึกเรื่องราวสาเหตุของสงครามในครั้งนี้ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการที่ใครคนนึง ถือปืนบุกเข้าไปในบ้านคนอื่นแล้วฆ่าคนในบ้านเค้าเนอะ…   ล่าสุดมีข่าวว่า NATO หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ได้เริ่มจริงจังจังกับการใช้หุ่นยนต์ติดอาวุธไร้คนขับเพื่อส่งไปประจำการในประเทศแถบชายแดนรัสเซียแล้ว   โดยยานพาหนะดังกล่าวเป็นหุ่นยนต์ไร้คนขับแบบติดอาวุธติดตามแบบไฮบริด หรือ Armed Tracked Hybrid Modular Infantry Systems ( THeMIS ) ที่สร้างโดย Milrem Robotics ของเอสโตเนีย และได้เข้ารับการฝึกฝนกับกองทัพบกเนเธอร์แลนด์มาบ้างแล้ว และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กองทัพบกเนเธอร์แลนด์ประกาศว่าได้ส่ง THeMIS จำนวน 4 คัน ไปยังลิทัวเนียด้วยหน่วย Robot and Autonomous Systems (RAS)   THeMIS เป็นยานพาหนะภาคพื้นดินไร้คนขับแบบหลายบทบาท (UGV) ที่มีจุดประสงค์เพื่อลดจำนวนทหารในสนามรบ ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า มีฟังก์ชันการขนส่งไปจนถึงการติดอาวุธ การกำจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ฝั่งตรงข้าม หรือการสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวกรองตามลักษณะของภารกิจครับ   ต้องยอมรับว่า นับวัน…

อียูเตรียมยกระดับป้องกันโครงสร้างพื้นฐาน ผวารัสเซียก่อวินาศกรรมแก้แค้น

Loading

  ยุโรปต้องใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน โทรคมนาคม การขนส่ง และสาธารณูปโภคที่สำคัญอื่น ๆ จากความเป็นไปได้ของการถูกลอบวินาศกรรม บลูมเบิร์กรายงานในวันจันทร์ (17 ต.ค.) อ้างว่าทางคณะกรรมาธิการอียูจะออกคำแนะนำดังกล่าวในช่วงกลางสัปดาห์   นอกจากนี้ สำนักงานบลูมเบิร์ก รายงานด้วยว่า ทางคณะกรรมาธิการยุโรปจะเผยแพร่ “พิมพ์เขียว” ฉบับหนึ่ง สำหรับเป็นแนวทางตอบสนองต่อวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “สงครามของรัสเซียในการรุกรานยูเครน นำมาซึ่งภัยคุกคามชุดใหม่ บ่อยครั้งมาพร้อมกันในฐานะการโจมตีลูกผสม” เอกสารระบุ พร้อมเน้นว่า “ภัยคุกคามดังกล่าวมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามหลังเหตุลอบก่อวินาศกรรมท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1”   ทางกลุ่มมีความกังวลว่ามอสโกจะลงมือแก้แค้นแผนจำกัดเพดานราคาอุปทานก๊าซรัสเซียที่ส่งมอบทางทะเล ด้วยการลอบก่อวินาศกรรมโครงสร้างพื้นฐานในยุโรป   ความกังวลนี้มีขึ้นไม่กี่สัปดาห์หลังเหตุระเบิดที่ทำให้ท่อลำเลียงก๊าซนอร์ดสตรีม 1 และ 2 เกิดรอยรั่วในทะเลบอลติก และการพบท่อลำเลียงน้ำมันดรูซบา ซึ่งลำเลียงน้ำมันดิบรัสเซียไปยังยุโรป เกิดรอยรั่วในแถบภาคกลางของโปแลนด์   ขณะเดียวกัน การขนส่งทางรถไฟทางเหนือของเยอรมนี ต้องหยุดให้บริการเป็นเวลานานหลายชั่วโมงเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ตามหลังเกิดเหตุการณ์ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นการลอบก่อวินาศกรรมเล็งเป้าเล่นงายสายเคเบิลสื่อสารไฟเบอร์ออปติก แม้เจ้าหน้าที่ไม่ได้สงสัยว่าเป็นฝีมือของต่างชาติก็ตาม   บรรดาประเทศยุโรปหลายชาติ มีทั้งชี้เป้ารัสเซียทั้งทางตรงและโดยอ้อมในฐานะผู้ร้ายของเหตุลอบก่อวินาศกรรมท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 แม้แทบไม่มีหลักฐานใดๆ เลยก็ตาม…

สะเทือนเลื่อนลั่น!! สะพานเชื่อมรัสเซียกับแหลมไครเมีย เจอ ‘ระเบิดทรัคบอมบ์’ เสียหายตกทะเลไปบางส่วน ด้านมอสโกประกาศตั้ง ผบ.รับผิดชอบทหารทั้งหมดใน ‘ศึกยูเครน’

Loading

  เกิดระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันเสาร์ (8 ต.ค.) ซึ่งเป็นเหตุให้ “สะพานเคิร์ช” ที่เชื่อมระหว่างแหลมไครเมียกับผืนแผ่นดินหลักของรัสเซียพังครืนลงมาเป็นบางส่วน สร้างความเสียหายให้แก่เส้นทางลำเลียงสำคัญเส้นหนึ่งไปสู่ภาคใต้ยูเครนที่มอสโกกำลังประสบความเพลี่ยงพล้ำในการสู้รบ ทั้งนี้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของรัสเซียแถลงว่าเหตุการณ์คราวนี้เกิดจากคนร้ายใช้ระเบิดรถบรรทุก ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 3 คน     ประธานสภาแคว้นไครเมีย ได้ออกมากล่าวหายูเครนในทันทีว่าอยู่เบื้องหลังการระเบิดครั้งนี้ ถึงแม้มอสโกเองยังไม่ได้ร่วมประณามด้วยโดยตรงก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่ยูเครนนั้นเคยข่มขู่คุกคามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะโจมตีสะพานแห่งนี้ และในคราวนี้ก็มีบางรายออกมาสรรเสริญความเสียหายที่เกิดขึ้น ทว่า กรุงเคียฟเองยังยั้งตัวไม่กล่าวอ้างแสดงความรับผิดชอบ   เหตุระเบิดครั้งนี้เสี่ยงอย่างแรงที่จะทำให้เกิดการบานปลายขยายตัวในสงครามที่ทำกันมา 8 เดือนแล้วนี้ โดยที่มีสมาชิกรัฐสภารัสเซียบางรายกำลังเรียกร้องขอให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ตอบโต้ด้วยการประกาศให้มันกลาย “การปฏิบัติการตอบโต้การก่อการร้าย” แทนที่จะยังใช้คำว่า “การปฏิบัติการพิเศษทางการทหาร” อย่างที่ใช้อยู่   ถ้าหากเครมลิมตกลงเห็นชอบในเรื่องนี้ จะทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มอำนาจมากขึ้นอีกให้แก่พวกหน่วยงานความมั่นคง สั่งห้ามการชุมนุมเดินขบวน เพิ่มการเซ็นเซอร์สื่อ สั่งจำกัดการเดินทาง และขยายการระดมพลบางส่วนซึ่งปูตินได้สั่งให้ดำเนินการไปในเดือนที่แล้ว   ไม่กี่ชั่วโมงหลังเหตุระเบิดครั้งนี้ กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศว่า ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ.เซียร์เก ซูโรวิคิน จะได้รับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองทหารรัสเซียทั้งหมดที่กำลังสู้รบอยู่ในยูเครน ถือเป็นครั้งแรกที่มอสโกประกาศตั้งผู้บังคับบัญชาเช่นนี้อย่างเป็นทางการ   ซูโรวิคิน ซึ่งช่วงฤดูร้อนต้นปีนี้ได้เข้าทำหน้าที่รับผิดชอบกองทหารรัสเซียในภาคใต้ยูเครนนั้น มีประสบการณ์การสู้รบในสงครามช่วงทศวรรษ 1990 หลายครั้ง ทั้งในทาจิกิสถาน และเชชเนีย…

สะพานเชื่อมรัสเซีย-ไครเมียสำคัญอย่างไร ใครอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด

Loading

  ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา (8 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ขึ้นในจุดที่สำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมไครเมีย นั่นคือ ‘สะพานเคิร์ช’ (Kerch Bridge) สะพานที่ทอดพาดผ่านช่องแคบเคิร์ช เชื่อมระหว่างรัสเซียและดินแดนไครเมีย เป็นสะพานที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการผนวกรวมไครเมีย (ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2014   เกิดอะไรขึ้นบนสะพานเคิร์ช   คณะกรรมการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติของรัสเซียระบุว่า เหตุระเบิดบนสะพานดังกล่าวเกิดจากรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างบางส่วนของสะพานถูกทำลาย เบื้องต้นตรวจสอบพบว่า รถบรรทุกคันดังกล่าวจดทะเบียนในพื้นที่ทางตอนใต้ของรัสเซีย   ทางการรัสเซียได้ตั้งทีมตรวจสอบเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศผนวกรวมดินแดนของยูเครน (โดเนตสก์, ลูฮันสก์, ซาปอริซเซีย และเคอร์ซอน) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและชี้ว่าดินแดนเหล่านี้จะอยู่กับรัสเซียตลอดไป รวมถึงขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ปกป้องดินแดนใหม่ของรัสเซีย   อีกทั้งเหตุระเบิดดังกล่าวยังเกิดขึ้นภายหลังจากวันเกิดครบรอบ 70 ปีของปูตินได้เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น สร้างแรงกดดันและความท้าทายให้กับผู้นำรัสเซียไม่มากก็น้อย   ท่าทีและผลกระทบจากแรงระเบิด   แรงระเบิดเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย โครงสร้างบางส่วนของสะพานที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมของรถยนต์ได้รับความเสียหาย หักและพังทลายลงยังผืนน้ำเบื้องล่าง ถนนบางเลนแม้จะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ก็ยังพอจะสามารถสัญจรไปมาได้ อาจพบการจราจรติดขัดและล่าช้าในบางช่วง…

ทันใจปูติน!! รัสเซียกลับมาเปิดใช้สะพานไครเมียอีกครั้ง รักษาความปลอดภัยเข้ม หลังเจอระเบิดเสียหายหนัก

Loading

  ขบวนรถไฟโดยสารซึ่งกลับมาให้บริการอีกครั้ง แล่นอยู่บนสะพานเคิร์ช ที่เชื่อมระหว่างแหลมไครเมียกับแผ่นดินใหญ่รัสเซีย เมื่อวันอาทิตย์ (9 ต.ค.) ขณะวิ่งเข้าไปใกล้ๆ ขบวนรถไฟบรรทุกเชื้อเพลิงที่ถูกพระเพลิงเผาผลาญ จอดแน่นิ่งอยู่ที่ทางรถไฟอีกรางหนึ่ง เนื่องจากแรงระเบิดซึ่งเกิดขึ้นในวันเสาร์ (8) โดยที่ด้านล่างลงมา สามารถมองเห็นส่วนที่เป็นถนนของสะพานนี้ซึ่งขาดและหล่นลงไปในทะเล   ปูตินออกคำสั่งคุมเข้มรักษาความปลอดภัย ขณะรัสเซียเร่งดำเนินการสอบสวนในวันอาทิตย์ (9 ต.ค.) พร้อมกับรีบฟื้นการเดินทางด้วยรถไฟและการสัญจรทางถนนบางส่วนบนสะพานใหญ่ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อสายสำคัญมากระหว่างแผ่นดินใหญ่รัสเซียกับแหลมไครเมีย หลังจากเมื่อวันเสาร์ (8) เกิดเหตุวินาศกรรมคนร้ายใช้ “ระเบิดรถบรรทุก” ทำลายตัวสะพานได้รับความเสียหายไปบางส่วน ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งยูเครนระบุว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีเมืองซาโปริซเซีย ซึ่งยังอยู่ในความควบคุมของเคียฟในตอนเช้ามืดวันอาทิตย์ ทำให้กลุ่มอาคารที่พักอาศัยได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คน บาดเจ็บ 87 คน   หลังเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” หรือ “สะพานเคิร์ช” ความยาว 19 กิโลเมตร ที่ทอดยาวข้ามเหนือช่องแคบเคิร์ชเมื่อวันเสาร์ (8) บรรดาเจ้าหน้าที่ยูเครนต่างออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างยินดีแต่ไม่มีการประกาศความรับผิดชอบ ขณะที่รัสเซียยังไม่ได้ชี้นิ้วกล่าวหาใครทันทีเช่นเดียวกัน   ด้านรองนายกรัฐมนตรีมารัต คุสนุลลิน ของรัสเซีย แถลงในวันอาทิตย์ว่า นักประดาน้ำแดนหมีขาวเริ่มสำรวจความเสียหายส่วนใต้น้ำของสะพานตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์ และคาดว่า การสำรวจเหนือเส้นระดับน้ำข้างเรือ…