ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Loading

ปืนใหญ่อัตตาจร (เอพี)  ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   การรุกรานยูเครนของรัสเซียเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดในทวีปยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัสเซียทำการโจมตีหลายเมืองทั่วประเทศยูเครน ซึ่งมีทั้งการยิงขีปนาวุธ การโจมตีทางอากาศ การทิ้งระเบิดและการยิงปืนใหญ่ ส่งผลให้มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และนี่คืออาวุธบางส่วนที่ใช้ในสงครามนี้   เครื่องบินรบและขีปนาวุธต่างๆ   ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์   ขีปนาวุธอิซคานเดอร์   ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง   เครื่องยิงขีปนาวุธอิซคานเดอร์     กองทัพรัสเซียมีการใช้ขีปนาวุธหลายชนิด หนึ่งในขีปนาวุธที่รัสเซียใช้คือ “ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์” อาวุธที่มีความแม่นยำ ซึ่งกองทัพรัสเซียใช้โจมตีสถานที่ราชการ และฐานทัพทหารหลายแห่งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และเมืองคาร์คีฟ เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ หลายครั้งอาคารเหล่านี้อยู่ใกล้กับย่านที่อยู่อาศัย จึงทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขีปนาวุธดังกล่าวถูกติดตั้งบนเครื่องบินรบของรัสเซียด้วย เพื่อใช้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร   อีกหนึ่งขีปนาวุธที่รัสเซียใช้เพื่อให้โจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ คือ “ขีปนาวุธอิซคานเดอร์” ซึ่งมีพิสัยไกลถึง 500 กิโลเมตร และขีปนาวุธนี้มีหัวรบที่ทรงพลังกว่ามากกว่าขีปนาวุธชนิดอื่น ซึ่งสามารถทำลายอาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีการป้องกันเป็นอย่างดีได้ ทั้งนี้มีรายงานว่าขีปนาวุธอิสคานเดอร์บางลูกถูกยิงจากประเทศเบลารุส พันธมิตรของรัสเซีย ที่เป็นเหมือนพื้นที่เตรียมการสำหรับการบุกยูเครนของรัสเซีย    …

รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน

Loading

  รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน   จากกรณีรัสเซีย เปิดฉากใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก “คินชาล” ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงโจมตีทำลายคลังแสงของกองทัพยูเครน ในแคว้นอิวาโน-ฟรานคิฟสค์ ของประเทศยูเครน ที่นับเป็นครั้งแรกที่รัสเซียใช้ขีปนาวุธล้ำยุคดังกล่าว   ขีปนาวุธดังกล่าวตั้งชื่อโดยวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยคินชาล เป็นภาษารัสเซียแปลว่า “กริซ” มีความสามรถในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 10 เท่า และสามารถหลบหลีกระบบป้องกันขีปนาวุธได้ด้วย โดยคินชาล เป็นหนึ่งในอาวุธใหม่หลายๆอย่างของรัสเซียที่เปิดตัวเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา   บีบีซี เปิดเผยข้อมูลของขีปนาวุธ “คินชาล” หรือ “กริซ” ของรัสเซียเพิ่มเติมระบุถึงแสนยานุภาพของขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียเพิ่มเติมโดยระบุว่า     เครื่องบินรบรัสเซียติดตั้งขีปนาวุธคินชาล ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ระหว่างการเดินสวนสนาม ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อปี 2561     – ขีปนาวุธที่มีความเร็วในระดับไฮเปอร์โซนิกสามารถบินเหนือชั้นบรรยากาศโลกได้ที่ความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 5 เท่า   – ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกสามารถหลบหลีกระบบต่อต้านขีปนาวุธได้ดีกว่าขีปนาวุธแบบเดิมๆ   –…

ยูเครนกับสงครามนิวเคลียร์

Loading

    มีคำถามมาว่า สงครามในยูเครนมีโอกาสจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ และไม่น่าจะพัฒนาไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะประเทศคู่ขัดแย้ง คือ ยูเครนไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนรัสเซียซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าก็คงมีความยับยั้งช่างใจ สหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ก็คงไม่กล้านำมาใช้   แม้แต่รัสเซีย คู่ขัดแย้งโดยตรงกับยูเครน ซึ่งได้ประกาศเตรียมพร้อมทางนิวเคลียร์เต็มที่ ก็ประกาศเชิงป้องปรามเท่านั้น ในเชิงปรามสหรัฐว่าอย่าแม้แต่จะคิดใช้นิวเคลียร์ทีเดียวนะ ใครเริ่มต้นใช้ก็ตายกันทั้งโลก   อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธในเชิง “ป้องปราม” มากกว่า เพราะผู้นำประเทศนิวเคลียร์ต่างรู้ดีว่าหากนำมาใช้ก็ตายกันทั้งโลก คนที่มีคำสั่งให้ใช้ก็ตายด้วย ไม่เฉพาะตัวเองตายเท่านั้น ครอบครัวก็ตายด้วย ตายแล้วคงตกนรกขุมลึกที่สุดไม่ได้ผุดได้เกิด   จากสถิติของสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์แห่งกรุงสต็อคโฮล์ม เปิดเผยว่า ในปี 2563 ห้าประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์คือ สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร์ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ มีหัวรบนิวเคลียร์รวมกัน 13,400 หัวรบ ซึ่งประจำการพร้อมที่จะใช้ทันที 3,720 หัวรบ และสำรองพร้อมใช้อีกประมาณ 1,800 หัวรบ   มากพอที่จะทำให้โลกทั้งใบพินาศ สิ่งที่มีชีวิตตายหมด ถ้าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต…

SOF หน่วยปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียที่บุกตะลุยไปทุกแห่ง

Loading

  หนึ่งในพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วย SOF คือสมรภูมิสู้รบในยูเครนขณะนี้   ก่อนหน้านี้ โพสต์ทูเดย์นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยสงครามพิเศษของรัสเซียที่ชื่อว่า Spetsnaz ไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งหน่วยที่น่าสนใจนั่นคือ Special Operations Forces (SOF) หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่โหดไม่แพ้ Spetsnaz   SOF เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีความคล่องตัวสูง ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีความพร้อมในการรบอยู่ตลอดเวลา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัสเซียทั้งในและนอกประเทศ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม   ภารกิจที่ขึ้นชื่อของหน่วย SOF คือภารกิจไครเมียเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2014 เจ้าหน้าที่ติดอาวุธไม่ทราบจำนวนของ SOF ร่วมกับหน่วยอื่นของกองทัพรัสเซียปลอมตัวเป็นทหารไม่มียศบุกเข้าแคว้นไครเมียของยูเครน แล้วยึดอาคารรัฐสภาไครเมีย รวมทั้งปิดกั้นสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น สนามบินซิมเฟอโรปอล   ปลายปี 2015 SOF เริ่มปฏิบัติการอย่างลับๆ ในซีเรีย และเริ่มเผยตัวในเดือน ม.ค. 2016 หลังประสบความสำเร็จในการสู้รบที่ลาตาเกีย สงครามกลางเมืองที่รัฐบาลซีเรียเปิดปฏิบัติการยึดพื้นที่เขตลาตาเกียติดกับพรมแดนตุรกีคืนจากกลุ่มกบฏ นอกจากนี้ยังชี้เป้าหมายให้กองทัพอากาศรัสเซียโจมตีทางอากาศและให้กองทัพเรือยิงขีปนาวุธ ไปจนถึงเป็นที่ปรึกษาการฝึกทหารให้รัฐบาลซีเรีย ค้นหาและทำลายเป้าหมายที่สำคัญของศัตรู สกัดกองกำลังศัตรูด้วยการซุ่มโจมตี การลอบสังหาร และโจมตีตอบโต้   SOF…

หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนี แนะองค์กรเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี ออกโรงแนะนำให้ผู้ใช้งานเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มาจากรัสเซีย เพราะอาจถูกนำไปใช้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้การจัดการของรัฐบาลรัสเซีย   เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศเยอรมนี ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอนตีไวรัสของแคสเปอร์สกี (Kaspersky) ให้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นๆ   ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนี ระบุว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรัสเซีย อาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรัสเซีย บังคับให้กระทำการแฮกระบบ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นตัวแทนในการเข้าไปโจมตีทางไซเบอร์อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน   คำเตือนของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี เกิดขึ้นท่ามกลางการเข้าไปรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่รุนแรงมากขึ้น   ทางด้านแคสเปอร์สกี ออกมาปฏิเสธถึงการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า แคสเปอร์สกีเป็นบริษัทเอกชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งพวกเขาบอกด้วยว่า คำเตือนของบีเอสไอ มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าด้านเทคโนโลยี   อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี จะติดต่อไปยังบีเอสไอ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้เพิ่มเติม   นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวด้วยว่า โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทย้ายไปตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ขณะที่ ข้อมูลของผู้ใช้งานชาวเยอรมนี…

ถึงแบนก็ไม่สน นอร์เวย์สร้างเว็บกลาง ให้ส่งข่าวสงครามไปรัสเซีย

Loading

  ในขณะที่สงครามที่ยูเครนกำลังดำนเนินการอยู่ เหมือนทั่วโลกจะเอนเอียงไปทางฝั่งยูเครนมากกว่า สาเหตุน่าจะมาจากเพราะรัสเซียเป็นฝ่ายบุกเข้าไปทำสงครามในยูเครน   และด้วยสถานการณ์ดังกล่าว รัสเซียได้พยายามบล็อคไม่ให้คนในประเทศเข้าถึงข้อมูลในการบุกเข้าไปทำสงครามในยูเครน เพราะกลัวว่าจะเกิดการต่อต้านภายในประเทศ ซึ่งตอนนี้รัสเซียก็โดนคว่ำบาตรในหลาย ๆ เรื่องและทำให้เศรษฐกิจในประเทศย่ำแย่อย่างมาก   แต่แม้รัสเซียจะพยายามบล็อคแพลทฟอร์มต่าง ๆ พร้อมทั้งออกกฏหมายที่ไม่ให้ประชาชนพูดถึงกรณีการบุกรุกยูเครน แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ชาวนอร์เวย์ได้สร้างเว็บไซต์ที่ให้ทุกคนสามารถส่งอีเมลเกี่ยวกับข้อมูลสงครามในยูเครนไปยังที่อยู่อีเมลของคนรัสเซียได้ครั้งละ 150 ที่อยู่ เพื่อให้คนรัสเซียมีโอกาสได้เข้าถึงความจริงที่รัฐบาลของพวกเขาปกปิดไว้   เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นภาษารัสเซีย และมีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยหนึ่งในเนื้อหาคือ “เพื่อนที่รัก ฉันกำลังเขียนถึงคุณเพื่อแสดงความกังวลต่ออนาคตที่ปลอดภัยของลูกหลานของเราบนโลกใบนี้ ตอนนี้โลกส่วนใหญ่ประณามการรุกรานยูเครนของปูติน”   นอกจากนี้ ยังมีอีเมลฉบับยาวส่งถึงคนรัสเซียเพื่อให้ปฏิเสธสงครามในยูเครนและค้นหาความจริงเกี่ยวกับการบุกรุกจากบริการข่าวที่ไม่ได้มาจากรัฐ   ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ไม่ใช่แค่สงครามที่ใช้กำลังทางทหารเพียงอย่างเดียวแล้ว ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสงครามจะไม่บานปลายจนถึงขั้นใช้อาวุธนิวเคลียร์ และภาวนาให้มันจบไว ๆ ครับ เพราะตอนนี้บ้านเราก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามดังกล่าวแล้ว     ที่มาข้อมูล  https://www.bbc.com/news/technology-60697261       ——————————————————————————————————————————————————- ที่มา :    Techhub             …