ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…

เมื่อสมาชิกราชวงศ์อังกฤษระดับสูง ต้องขึ้นศาลครั้งแรกในรอบ 130 ปี เจ้าชายแฮร์รีเบิกความกรณี ‘ข้อมูลลับ’ หลุด

Loading

  หนึ่งในประเด็นใหญ่หน้าสื่อหลายวันที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น ‘การฟ้องร้องของเจ้าชายแฮร์รี (Prince Harry) ดยุกแห่งซัสเซกส์ (Duke of Sussex) ต่อหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ในสหราชอาณาจักร ‘มิร์เรอร์’ (Mirror) หลังให้เหตุผลว่า ต้องการทวงคืนความยุติธรรมให้ตนเอง และเมแกน มาร์เคิล (Meghan Markle) ดัสเชสแห่งซัสเซกส์ (Duchess of Sussex) หรือภรรยาของเขา ซึ่งปรากฏการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 130 ปี ที่สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงแห่งอังกฤษให้ปากคำการพิจารณาคดีตั้งแต่ศตวรรษที่ 19   เพื่อติดตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น The Momentum จึงสรุปและรวบรวมข้อมูลเรื่องราวการยื่นฟ้องของเจ้าชายแฮร์รีต่อมิร์เรอร์ดังต่อไปนี้   มูลเหตุที่เจ้าชายแฮร์รีถึงฟ้องมิร์เรอร์?   เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าชายแฮร์รีปรากฏตัวที่ศาลสูงของประเทศอังกฤษ ในฐานะพยานเพื่อยื่นฟ้องต่อ ‘มิร์เรอร์กรุ๊ป’ (Mirror Group) บริษัทใหญ่เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือ Daily Mirror, Sunday Mirror และ Sunday People ด้วยข้อหา ‘การแฮ็กข้อมูลทางโทรศัพท์’…

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 : ผิดไหมที่ประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” ในงานถวายความอาลัย

Loading

GETTY IMAGES   ในช่วงไม่กี่วันมานี้ มีคนหลายคนถูกจับกุมหลังไปทำการประท้วงที่งานถวายความอาลัยการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพิธีประกาศขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3   พอล พาวส์แลนด์ ไม่ใช่หนึ่งในคนกลุ่มนั้น แต่ทนายคนนี้เป็นตัวละครหลักในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ทำให้เกิดกระแสถกเถียงอย่างแพร่หลาย เรื่องก็คือขณะที่เขากำลังยืนชูกระดาษที่ไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ที่จัตุรัสรัฐสภา เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้ามาถามข้อมูลส่วนตัวของเขา   พาวส์แลนด์ได้อัดวิดีโอบทสนทนาบางส่วนไว้และนำไปโพสต์ลงทวิตเตอร์ เขาอ้างว่าเขาได้รับแจ้งว่าจะถูกจับกุมตัวหากเขียนข้อความว่า “ไม่ใช่กษัตริย์ของผม” ลงบนกระดาษ   มีการประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” แบบนี้เกิดขึ้นเช่นกันที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์ขณะขบวนพระบรมศพเคลื่อนผ่าน แต่ก็ไม่ได้มีรายงานการจับกุมใครแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี วิดีโอของพาวส์แลนด์ทำให้ตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนออกมาประกาศผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่าประชาชนมี “สิทธิที่จะประท้วง”   GETTY IMAGES การประท้วงด้วยกระดาษเปล่าที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์     ท้าทายอย่างเย้ยหยัน ?   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กระดาษเปล่าถูกนำไปใช้ในการประท้วง แต่เรามักเห็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ในประเทศที่รัฐมีความเป็นเผด็จการและการเข้าปราบปรามประชาชนบ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปี 2019 นักเคลื่อนไหววัยหนุ่มในคาซัคสถานชื่ออัสลาน ซากุตดินอฟ ถูกตำรวจควบคุมตัวไปหลังถือป้ายเปล่า ๆ ที่หน้าสำนักงานของสภาเมือง…

แคนาดาเตรียมยุติมาตรการอารักขา”แฮร์รี-เมแกน”

Loading

รัฐบาลแคนาดาจะไม่ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เมื่อทั้งคู่สิ้นสุดสถานะ “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์อย่างเป็นทางการ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 287 ก.พ. ว่านายบิล แบลร์ รมว.กระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของแคนาดา แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ และพระชายาคือเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “จะยุติภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” เพื่อให้เป็นไปตาม “สถานะที่เปลี่ยนไป” ของเจ้าชายแฮร์รีและพระชายา ซึ่งจะสละฐานันดรและลดบทบาทจากการเป็น “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์ ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของแคนาดาจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ เนื่องจากถือเป็นบุคคลซึ่งมีสถานะ “ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ” ตามการหารือกับสำนักงานตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร โดยเจ้าชายแอร์รีและพระชายาประทับที่แคนาดาบ่อยครั้งและเป็นเวลานานขึ้น นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2562 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การที่สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า “บทบาท” ของดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “ในราชวงศ์วินด์เซอร์ จะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มี.ค. นี้ ตามการหารือเป็นการภายในระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองกับพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าชายแฮร์รีและเมแกนจะไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณสนับสนุนด้านความปลอดภัย จากกองทุนสาธารณะของรัฐบาลกลางแคนาดาได้อีกต่อไป ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของแคนาดาเป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่าย และสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นชาวแคเนเดียนโดยสื่อมวลชนและสำนักโพลหลายแห่ง โดยผลสำรวจของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า 77% ของกลุ่มตัวอย่างไม่ประสงค์ให้มีการใช้ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เครดิตภาพ : GETTY IMAGES…