คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

ชี้ชะตาเลือกตั้งสหรัฐวันนี้ จับตาการเปลี่ยนขั้ว ‘สภาสูง – สภาล่าง’

Loading

    จับตาผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) และวุฒิสภา (สภาสูง) ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลขั้วอำนาจของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ หรือเกิดเซอร์ไพรส์ของการกวาดเสียงทั้งหมดขึ้นในครั้งนี้ หรือไม่   กฤษฎา บุญเรือง นักวิชาการอิสระจากสหรัฐ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เปิดเผยว่า “สภาผู้แทนราษฎร” ของสหรัฐมีสมาชิกทั้งหมด 435 คน ทุกคนจะต้องแข่งขันในการเลือกตั้งทุกสองปี และครั้งนี้ก็เช่นกันในวันที่ 5 พ.ย.2024 ซึ่งจะเลือกตั้งทั้งหมด 435 ที่นั่ง   ปัจจุบัน “พรรครีพับลิกัน” ครองเสียงข้างมากในสภาล่าง แต่ก็มากกว่าพรรคเดโมแครตเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นที่ 221 ต่อ 214 เสียง   หากเดโมแครตสามารถชนะได้เพียง 5 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม ก็จะคว้าเสียงข้างมากมาครอบครองในทันที เป็นที่คาดว่าพรรครีพับลิกันจะได้รับที่นั่งเพิ่มมา 3 ที่นั่ง แต่เดโมแครตก็จะชิงมาได้ 2 ที่นั่ง ทำให้คาดว่าพรรครีพับลิกันได้เปรียบ 1 ที่นั่ง   รีพับลิกันต้องต่อสู้หนักเพื่อป้องกัน 21 ที่นั่ง…

‘ทรัมป์-แฮร์ริส’…. ใครมาก็กระทบไทย

Loading

    โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐระหว่างปี 2560-2564 จากพรรครีพับลิกัน ก่อนที่จะพ่ายแพ้การเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในปี 2564 ให้กับโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต โดยเป็นการเลือกตั้งที่มีเหตุการณ์พลิกผันตลอด เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศลงเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้ง   ในขณะที่โจ ไบเดน ประกาศถอนตัวออกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของตัวเอง จึงเป็นการชิงตำแหน่งกับคามาลา แฮร์ริส ที่นับได้ว่ามีความสูสีกันมาก   หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยมีการติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพราะมีผลต่อสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกและเศรษฐกิจโลก   โดยในเบื้องต้นมีการประเมินว่าในกรณีที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 สหรัฐจะหันไปฟื้นฟูและพึ่งพาตนเองและมีมาตรการกีดกันการค้าผ่านกำแพงภาษี แต่มาตรการที่ออกมาจากทำให้สหรัฐมีความเสี่ยงที่จะเผชิญ Stagflation และมีความเสี่ยงการขาดดุลการคลังเพิ่มสูงขึ้น   ขณะที่กรณี คามาลา แฮร์ริส ชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี มีการประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยความเสี่ยงเงินเฟ้ออยู่ระดับจัดการได้ ส่วนการขาดดุลการคลังไม่สูงเท่ากรณีโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง ส่วนนโยบายการต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งสนับสนุนการเจรจา Indo-Pacific Economic Framework…

สหรัฐฯ ไฟเขียวร่างกฎหมายปิด สนง.การค้าฮ่องกง หากพบมีเอี่ยวจีน

Loading

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายที่อาจนำไปสู่การปิดสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง (HKETO) ในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลฮ่องกงเป็นอย่างมาก