กองทัพตุรกีออกคำสั่งห้ามบุคลากรของกองทัพใช้สื่อสังคมออนไลน์ หลังเกิดเหตุการณ์การข้อมูลรั่วไหล

Loading

เว็บไซต์ Nordic Monitor รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.67 ว่า เมื่อ 12 มิ.ย67 รัฐสภาของตุรกีได้อนุมัติร่างกฎหมาย เพิ่มข้อบังคับมาตรา 5 ในการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรทางทหารของตุรกี ภายหลังเกิดเหตุการณ์การข้อมูลรั่วไหลและการโจมตี

หน่วยกำกับอังกฤษเตรียมบังคับให้บริษัทเทคโนโลยียอมให้คู่แข่งเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง

Loading

สำนักงานการแข่งขันและตลาดมีแผนจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีเจ้าใหญ่ยอมให้คู่แข่งเข้าถึงข้อมูล รวมถึงถูกจำกัดการโปรโมตสินค้าด้วย บริษัทที่ตกเป็นเป้ามาตรการใหม่ เช่น Meta, Alphabet (บริษัทแม่ Google) Amazon และ Apple ทั้งนี้ มาตรการใหม่จะอาศัยอำนาจจากร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

สิงคโปร์วางแผนออกกฎหมายครอบคลุม ต่อสู้อาชญากรรมออนไลน์

Loading

    รัฐบาลสิงคโปร์เสนอร่างกฎหมายใหม่ต่อรัฐสภา ซึ่งจะอนุญาตให้ทางการสามารถลบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ เพื่อช่วยให้ตำรวจมีอำนาจครอบคลุมยิ่งขึ้น ในการต่อสู้กับอาชญากรรม และการหลอกลวงทางออนไลน์   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ว่า ร่างกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า “กฎหมายว่าด้วยอันตรายทางอาญาออนไลน์” อาจกำหนดให้แอปพลิเคชันสโตร์หลายแห่ง ลบแอปพลิเคชันออกจากบริการในสิงคโปร์ รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้ให้บริการออนไลน์ปิดใช้งานเนื้อหา ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายใหม่   กระทรวงกิจการภายในสิงคโปร์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า คำสั่งดังกล่าวอาจรวมถึงกรณีที่เกิดเหตุอันควรสงสัยว่า มีการดำเนินกิจกรรมออนไลน์เพื่อก่ออาชญากรรม พร้อมกับเสริมว่า จำเป็นต้องมี “แนวทางเชิงรุก” เพื่อต่อสู้กับขนาดและความเร็วของอาชญากร   If passed, the "Online Criminal Harms Bill" could require app stores to remove an app from Singapore storefronts as well as demand online…

“ความยินยอม” ตามร่างกฎหมายลำดับรอง PDPA | สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์

Loading

สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ (ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 นี้ ผู้เขียนจึงขอหยิบยกบางประเด็นเรื่อง “การขอความยินยอม” (Consent) ตามร่างกฎหมายลำดับรองมาอธิบายให้ฟัง โดยสังเขป รับฟังร่างกฎหมายอะไรบ้าง? ในครั้งนี้ ได้มีการเปิดรับฟังร่างกฎหมายลำดับรองจำนวน 5 ฉบับ โดย 3 ฉบับ ได้ปิดรับฟังไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.65 ได้แก่ 1) ร่างประกาศ เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูล 2) ร่างประกาศ เรื่อง การยกเว้นการบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก และ3) ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้ อีกสองฉบับที่ยังคงเปิดรับฟังถึงวันที่ 25 พ.ค.65 ได้แก่ 1) ร่างแนวทาง เรื่อง แนวทางและวิธีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) ร่างแนวทาง เรื่อง การแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการเก็บรวบรวม ใช้…

ผู้นำฟิลิปปินส์วีโต้ร่างกฎหมาย “ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย”

Loading

  ผู้นำฟิลิปปินส์ยังไม่ลงนามรับรอง ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ การที่ประชาชน “ต้องยืนยันตัวตน” บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การละเมิดความเป็นส่วนตัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายนงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่าประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ใช้อำนาจวีโต้ ร่างกฎหมายซึ่งสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการที่ประชาชนต้อง “ยืนยันตัวตนทางกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าวในด้านความมั่นคง   ทั้งนี้ ทำเนียบมาลากันยังออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้นำฟิลิปปินส์คัดค้านร่างกฎหมายนี้ ที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า “กฎหมายซิมการ์ด” ว่ายังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับอีกหลายประเด็นปลีกย่อย ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็น “ช่องว่างอันตราย” ให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อการล่วงละเมิด และการสอดแนมของเจ้าหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยง เข้าข่ายเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย   Senate President @sotto_tito took to Twitter on Friday to express his displeasure of President Rodrigo…

ร่างกฎหมายองค์กรไม่แสวงหากำไรกับประชาสังคมภาคใต้ | สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ

Loading

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2565 ระบบกลางทางกฎหมายได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ… จัดทำโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวจะดำเนินการไปจนถึงวันที่ 25 มี.ค.2565 อย่างไรก็ตาม ได้ปิดรับฟังความคิดเห็นในระบบกลางทางกฎหมายก่อนกำหนด ในส่วนขององค์กรภาคประชาสังคมในภาคใต้นั้น ได้จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว ในระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมด้วยกันเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และเห็นว่ามีประเด็นจากการพูดคุยที่น่าสนใจที่ควรนำเสนอต่อสาธารณะ ดังนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกเข้าใจและเรียกในชื่อสั้นๆ ว่า “ร่างกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ” ซึ่งหากพิจารณานิยามความหมายของคำว่า “องค์กรไม่แสวงหากำไร” ที่หมายถึง “คณะบุคคลภาคเอกชนซึ่งรวมกลุ่มกัน จัดตั้งในรูปแบบใดๆ ที่มีบุคคลรวมดำเนินงานเพื่อจัดทำกิจกรรมต่างๆ ในสังคม โดยไม่มุ่งแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แต่ไม่รวมถึงการรวมกลุ่มของคณะบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมเป็นการเฉพาะคราว หรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะเพื่อประโยชน์ของคณะบุคคลนั้น หรือพรรคการเมือง” จะพบว่า “องค์กรไม่แสวงหากำไร” มีความหมายที่กว้างมาก ไม่ได้มีความหมายเพียงการรวมกลุ่มของบุคคลเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดกิจกรรมการกุศลหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ไม่เป็นการเฉพาะคราวด้วย ดังนั้น การเรียกร่างกฎหมายดังกล่าวว่า “ร่างกฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ” อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องผลกระทบของร่างกฎหมายดังกล่าวได้ องค์กรที่รวมกลุ่มทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เช่น สมาคมกีฬา ป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกตัญญู กลุ่มเส้นด้าย เป็นต้น อาจจะยังเข้าใจว่ากฎหมายดังกล่าวไม่กระทบต่อตนเอง ทั้งที่หากพิจารณาจากร่างกฎหมายแล้ว องค์กรเหล่านี้ถูกนับรวมเป็น “องค์กรไม่แสวงหากำไร” ตามกฎหมายดังกล่าวทั้งสิ้น…