ทำความรู้จักขีปนาวุธรุ่น S-300 ที่ต้องสงสัยว่าถูกยิงเข้าโปแลนด์

Loading

The debris, which the locals claim to be that of a missile, is pictured at the site of an explosion in Przewodow, a village in eastern Poland near the border with Ukraine, Nov. 16, 2022.   โปแลนด์ระบุว่า ขีปนาวุธที่โจมตีโรงเก็บธัญพืชของตนใกล้กับชายแดนยูเครนเมื่อวันอังคาร และทำให้มีผู้เสียชีวิตสองคนนั้น อาจเป็นจรวดรุ่น S-300 ซึ่งเป็นระบบขีปนาวุธยุคโซเวียตที่ถูกใช้จากทั้งฝั่งยูเครนและรัสเซีย   ทางด้าน เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ กล่าวว่า อาวุธดังกล่าวอาจเป็นขีปนาวุธป้องกันทางอากาศของยูเครน แต่รัสเซียเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อเหตุดังกล่าว เนื่องจากรัสเซียบุกรุกยูเครน จุดชนวนให้เกิดสงครามมาเกือบเก้าเดือนแล้ว โดยขณะนั้น…

เมื่อสมรภูมิยูเครนกลายเป็น สนามประลอง ‘สงครามโดรน’

Loading

  สงครามยูเครนกลายเป็นการสร้างสมรภูมิสำหรับนวัตกรรมทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ล่าสุดที่มีพลังทำลายสูงกว่าทุกสงครามที่ผ่านมา ที่เห็นได้ชัดคือปรากฏการณ์ Drone Warfare หรือ “สงครามโดรน” ได้เปิดตัวอย่างเต็มที่ เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนส่ง “โดรนสงคราม” หรือ “โดรนกามิกาเซ่” มาปะทะกันอย่างดุเดือด   ล่าสุด ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนประกาศจะระดมทุนครั้งใหญ่เพื่อสร้าง “กองกำลังโดรนทางทะเล” เพื่อปกป้องน่านน้ำของตนเองอย่างเป็นกิจจะลักษณะ นั่นหมายถึงการก่อตั้ง “กองทัพโดรน” ที่อาจจะมีทั้งที่อยู่บนฟ้าและอยู่ใต้น้ำพร้อม ๆ กันไปด้วย สร้างกองกำลังแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากวิธีการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และเป็นวิวัฒนาการของการใช้โดรนที่ก้าวไปไกลกว่าที่เคยเห็นในสมรภูมิตะวันออกกลาง, ซีเรีย หรืออัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำไป   มองอีกนัยหนึ่ง สมรภูมิสงครามยูเครนกลายเป็น “โชว์รูม” สำหรับการสำแดงเทคโนโลยีโดรนทางการทหาร อเมริกาส่งโดรน Phoenix Ghost มาให้ยูเครน อิหร่านส่ง Shahed-136 มาให้รัสเซีย ซึ่งส่งมาถล่มเป้าหมายในยูเครนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเหนือน่านฟ้าเมืองหลวงกรุงเคียฟ ตุรกีมี Bayraktar TB2 ที่ยูเครนนำมาใช้ในการต่อสู้กับรัสเซียในหลายแนวรบ     แม้ว่ารัฐบาลอิหร่านจะเคยปฏิเสธว่าไม่เคยส่งโดรนมาให้รัสเซีย…แต่ล่าสุดก็ยอมรับว่าได้ส่งมาให้มอสโกจริง เพียงแต่ว่าเป็นการส่งมอบก่อนที่สงครามยูเครนจะระเบิดขึ้น และส่งมอบเป็นจำนวนจำกัดเท่านั้น ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครนโต้ว่าการพูดเช่นนั้นเป็นเรื่อง “โกหก” เพราะทหารยูเครนสามารถสอยโดรนอิหร่านลงมาจากท้องฟ้าได้วันละกว่า 10 ตัว…

‘เซเลนสกี’ โวยรัสเซียจ้อง ‘ระเบิดเขื่อน’ เสี่ยงทำภาคใต้ยูเครนน้ำท่วมใหญ่ จี้ตะวันตกลงโทษเทียบเท่าใช้ ‘นิวเคลียร์-อาวุธเคมี’

Loading

  ประธานาธิบดี โวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนเรียกร้องให้ชาติตะวันตกช่วยยับยั้งรัสเซียไม่ให้ระเบิดทำลายเขื่อนแห่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ภาคใต้ยูเครนต้องเผชิญ “น้ำท่วม” ครั้งใหญ่ ขณะที่กองกำลังเคียฟเตรียมรุกคืบขับไล่ทหารรัสเซียออกจากภูมิภาคเคียร์ซอน (Kherson)   เซเลนสกี แถลงผ่านสื่อโทรทัศน์วานนี้ (20 ต.ค.) ว่า กองทัพรัสเซียได้วางทุ่นระเบิดเอาไว้ภายในเขื่อนโนวาคาคอฟกา (Nova Kakhovka ) ซึ่งกั้นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และมีแผนที่จะระเบิดทำลายมันทิ้ง   “ตอนนี้ทุกคนทั่วโลกต้องร่วมมืออย่างแข็งขันเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียก่อการร้ายครั้งใหม่ เพราะการทำลายเขื่อนแห่งนี้ย่อมหมายถึงหายนะในวงกว้าง” ผู้นำยูเครนกล่าว   รัสเซียเคยออกมากล่าวหายูเครนว่ายิงจรวดโจมตี และวางแผนที่จะทำลายเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยูเครนชี้ว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามอสโกกำลังคิดที่จะระเบิดเขื่อน และโยนความผิดให้เคียฟ   แม่น้ำดนีโปร (Dnipro) ซึ่งแบ่งยูเครนออกเป็น 2 ส่วนมีความกว้างหลายกิโลเมตร ในบางจุด และการระเบิดทำลายเขื่อนโนวาคาคอฟกาจะส่งผลให้มีมวลน้ำมหาศาลไหลหลากเข้าท่วมชุมชนที่อยู่เบื้องล่าง รวมถึงเมืองเคียร์ซอนซึ่งกองกำลังยูเครนตั้งเป้าว่าจะต้องยึดคืนจากรัสเซียให้ได้ นอกจากนี้ ยังจะส่งผลกระทบต่อระบบคลองชลประทานที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน ตลอดจน “คาบสมุทรไครเมีย” ซึ่งรัสเซียใช้กำลังผนวกไปเมื่อปี 2014   เซเลนสกี เรียกร้องให้ผู้นำทั่วโลกประกาศชัดเจนว่า การระเบิดทำลายเขื่อนมีค่าเท่ากับ “การใช้อาวุธทำลายล้างสูง” และจะต้องได้รับบทลงโทษเช่นเดียวกับในกรณีที่รัสเซียใช้ “ระเบิดนิวเคลียร์” หรือ “อาวุธเคมี”…

จะเกิดอะไรขึ้นหลังรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึก

Loading

Ukraine Russia   เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศใช้กฎอัยการศึกในดินแดนสี่แห่งของยูเครนที่รัสเซียเข้ายึดและอ้างว่าเป็นดินแดนของตน   แม้รัสเซียจะเข้ายึดเขตปกครองดอแนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริห์เชีย เพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้มีอำนาจควบคุมพื้นที่เหล่านี้อย่างเต็มที่ แต่รัสเซียก็ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านี้ เสมือนว่าเป็นพื้นที่ของตน   กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 นี้ ไม่เคยถูกประกาศใช้มาก่อน และจะถูกใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัสเซียเผชิญการรุกราน หรือ”ภัยต่อการถูกรุกรานแบบฉับพลัน”   รอยเตอร์ประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังผู้นำรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกดังต่อไปนี้   การระดมพล   กฎอัยการศึกของรัสเซียกำหนดให้มีการระดมกำลังพลโดยทั่วไปหรือระดมกำลังพลบางส่วน   อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้เริ่มระดมพลบางส่วนแล้วทั้งในประเทศ และในดินแดนของยูเครนที่รัสเซียยึดครอง ดังนั้น จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารัสเซียจะเรียกระดมพลเพิ่มหรือไม่   กฎอัยการศึกมอบอำนาจให้ทางการรัสเซียประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อ “สนองความต้องการของกองกำลังติดอาวุธรัสเซีย” และเพื่อ “ปกป้องดินแดน”   วิตาลี คิม ผู้ว่าการแคว้นมีโคลาอีฟทางตอนใต้ของยูเครน ระบุว่า เขาเชื่อว่ารัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รัสเซีย “ระดมกำลังจากประชาชนของเราที่ยังเหลืออยู่” ในดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดครอง   ทั้งนี้ การบังคับให้พลเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังของฝั่งที่เข้ายึดครอง…

สงครามลุกลาม!เบลารุสสั่งทหารผนึกกำลังรัสเซียใกล้ยูเครน อ้างเคียฟ-ตะวันตกวางแผนโจมตี

Loading

แฟ้มภาพ   ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก แห่งเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เผยว่าได้สั่งการให้ทหารประจำการร่วมกับกองกำลังรัสเซียใกล้ชายแดนยูเครน โดยกล่าวหาเคียฟและบรรดาผู้สนับสนุนตะวันตก กำลังวางแผนโจมตีประเทศของเขา   คำกล่าวของ ลูคาเชนโก ซึ่งครองอำนาจในเบลารุสมาตั้งแต่ปี 1994 บ่งชี้ถึงโอกาสที่สงครามในยูเครนจะลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น จากความเป็นไปได้ที่เกิดการผนึกกำลังกันของกองกำลังร่วมรัสเซีย-เบลารุส ทางภาคเหนือของยูเครน   “ณ เวลานี้ การโจมตีดินแดนของเบลารุส ไม่ใช่แค่กำลังมีการพูดคุยกันในยูเครนเท่านั้น แต่กำลังมีการวางแผนกันแล้วด้วย” ลูคาเชนโกกล่าวในทีประชุมด้านความมั่นคง แต่ไม่ได้มอบหลักฐานใดๆเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างดังกล่าว “พวกเจ้าของของพวกเขากำลังผลักดันให้พวกเขาเริ่มสงครามกับเลบารุส เพื่อลากเราไปตรงนั้น”   “เราเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งนี้มานานหลายทศวรรษ ถ้าจำเป็น เราจะตอบโต้” ลูคาเชนโกกล่าว พร้อมเผยว่าเขาได้พูดคุยกับประธานาธิบดีปูติน เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ ระหว่างพบปะหารือกันในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก   ลูคาเชนโก เผยว่าเขาเห็นพ้องกับ ปูติน ในการประจำการกองทหารในภูมิภาค และเริ่มการทำงานร่วมกันระหว่างกองกำลังของทั้ง 2 ประเทศเมื่อ 2 วันก่อน ความเคลื่อนไหวที่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุโจมตีสะพานถนนและทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างรัสเซียกับไครเมียเมื่อตอนเช้าวันเสาร์(8ต.ค.)   ประธานาธิบดีรายนี้บอกด้วยว่ามีคำเตือนส่งมาถึง เบลารุส ผ่านช่องทางอย่างไม่เป็นทางการ ว่า ยูเครน มีแผนก่อเหตุ…

ทหารรัสเซียขโมยเครื่องจักรการเกษตร John Deere จากยูเครน โดนบริษัทสั่งล็อคทางไกล

Loading

  สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน มีประเด็นที่น่าสนใจคือทหารรัสเซียได้ขโมยเครื่องจักรการเกษตร (พวกรถแทร็คเตอร์ รถไถ รถเก็บเกี่ยว) รวมทั้งหมด 27 คัน มูลค่าสินค้ารวมประมาณ 5 ล้านดอลลาร์ จากร้านตัวแทนจำหน่ายของบริษัท John Deere แห่งหนึ่งในเมือง Melitopol ของยูเครน โดยเครื่องจักรจำนวนหนึ่งถูกขนถ่ายไปใช้งานด้านการเกษตรในรัฐเชเชนของรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม เครื่องจักรการเกษตรสมัยนี้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล (รวมถึงดูพิกัดได้จาก GPS) ทำให้บริษัท John Deere สามารถล็อคการทำงานได้ เท่ากับว่าทหารรัสเซียขนเครื่องจักรเดินทางไกล 700 ไมล์ (ราว 1,100 กิโลเมตร) เพื่อพบว่าสตาร์ตเครื่องไม่ติด   ตามข่าวบอกว่าทหารรัสเซียพยายามบายพาสระบบล็อคของ John Deere แต่ไม่มีข้อมูลว่าทำสำเร็จหรือไม่ และสุดท้ายเครื่องจักรอาจถูกถอดเป็นชิ้นส่วนขายแทน     ที่มา – CNN via The Register, ภาพจาก Agrotek บริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรการเกษตรของยูเครน     —————————————————————————————————————————————————————————————————————…