สงครามใต้พิภพ (2) สงครามอุโมงค์ในยุคสมัยใหม่

Loading

“สงครามใต้พิภพมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ จนกลายเป็นเทคนิคสำหรับการลดค่าของประสิทธิภาพในการใช้กำลังทางอากาศ” Major Donald M. Heilig (US. Army)   การทำสงครามใต้พื้นผิวของโลก (Subterranean Warfare) ที่มีนัยถึงการทำสงครามใต้ดินในทางกายภาพนั้น เป็นสิ่งที่เกิดมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ และสงครามอุโมงค์เป็นตัวอย่างรูปธรรมของสงครามในแบบแผนเช่นนี้ สงครามในบริบทของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เช่นนี้เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยของการสงคราม และพัฒนาไปสู่การเป็น “ทฤษฎีการสงครามใต้ดิน”   สาเหตุส่วนหนึ่งแห่งการกำเนิดของสงครามชุดนี้ อาจเป็นผลจากประสบการณ์ของมนุษย์ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ที่เคยอาศัยถ้ำทางธรรมชาติเป็นที่พักพิง และ/หรือหลบภัย อันเป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชีวิตประจำวันเป็นเครื่องมือของการปกป้องตัวมนุษย์เอง เช่น ถ้ำหรือโพรงดินต่างๆ เป็นต้น   ซึ่งสภาพของเหล่านี้เอื้อประโยชน์โดยตรงต่อการทำเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังใช้ในการป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่า หรือจากมนุษย์ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามได้อีกด้วย   อุโมงค์ในบริบททางทหาร ฉะนั้น ถ้าหรืออุโมงค์ในเบื้องต้นจึงถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะของการป้องกันเป็นด้านหลัก แต่เมื่อมีวิวัฒนาการยาวนานขึ้น ถ้ำเหล่านี้อาจถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของการโจมตีได้ด้วย เช่น การขุดอุโมงค์ไปใกล้เป้าหมายที่ต้องการจู่โจม การใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขทางธรรมชาติเช่นนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในเรื่องของ “สงครามใต้พิภพ” ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อของการสงครามทางบก   ว่าที่จริงแล้ว นักการทหารในแต่ละยุคมีประสบการณ์กับสงครามในลักษณะเช่นนี้มาโดยตลอด แม้ในโลกสมัยใหม่ก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่ง สงครามใต้พิภพเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในทางการทหารแต่อย่างใด   บันทึกใน “สงครามยุคคลาสสิค” ของโพลิบิอุส ( Polybius)…

สงครามใต้พิภพ (1) สงครามอุโมงค์จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Loading

“สงครามอุโมงค์เอื้อให้กองทหารที่เผชิญหน้ากับข้าศึกที่มีความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีนั้น มีหนทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการใช้กำลังทางอากาศที่เหนือกว่า” The Jerusalem Center for Public Affairs (2014)   เรื่องของอุโมงค์ในฉนวนกาซาไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างแน่นอน หากแต่เดิมนั้นอุโมงค์ไม่ได้ทำหน้าที่ในทางทหาร หากเป็นอุโมงค์ถูกจัดทำเพื่อใช้ในการลักลอบนำสิ่งของต่างๆ ผ่านการปิดพรมแดนของรัฐบาลอียิปต์ที่ด่านราฟาห์ (Rafah) การลักลอบเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แล้ว และยิ่งเมื่อเกิดการปิดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทั้งทางอียิปต์และอิสราเอลในปี 2007 อุโมงค์เช่นนี้ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกับชีวิตที่ดำเนินไปในกาซา   กล่าวคือ อุโมงค์กลายเป็นเส้นทางของการลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่ของกาซ่า และโดยนัยคืออุโมงค์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ   พร้อมกันนี้อุโมงค์ดังกล่าวก็มีพัฒนาการมากขึ้น ทั้งในเรื่องของขนาด ความซับซ้อน และความแข็งแรง จนในเวลาต่อมา อุโมงค์เริ่มถูกใช้ในอีกภารกิจหนึ่งคือ อุโมงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร จนทำให้นักการทหารในโลกปัจจุบันต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องราวเก่าแก่ในวิชาประวัติศาสตร์สงคราม คือ สงครามอุโมงค์ (Tunnel Warfare) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามใต้พิภพ” (Subterranean Warfare) เพราะเป็นสงครามที่ทำในระดับใต้พื้นผิวของโลก (Underground Warfare) [คำว่า “subterranean” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวที่เรามองไม่เห็น]   คำอธิบายที่น่าสนใจของตัวประกันหญิงอาวุโสชาวอิสราเอลชื่อ Yocheved Lifshitz…