Facebook ระบุ ข้อมูลผู้ใช้งานกว่า 2,200 ล้านรายทั่วโลกอาจรั่วทางระบบ Search

Loading

เครื่องมือ Search ของ Facebook นี้ถูกนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลกที่ถูกขโมยมาจากช่องทางอื่นๆ และนำไปขายบน Dark Web โดยความสามารถ Search ของ Facebook นี้ได้เปิดให้ผู้โจมตีสามารถนำ Email Address หรือเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อไปทำการค้นหาบน Facebook ได้ และทำให้การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่เปิดเผยบน Public Profile สามารถทำได้ง่ายขึ้น และเมื่อนำไปรวมกับข้อมูลที่ขายบน Dark Web แล้วก็จะทำให้ข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นมีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้นสำหรับการนำไปใช้ต่อยอดในแง่มุมต่างๆ ดูเผินๆ เหมือนอาจไม่ใช่เรื่องอันตรายเท่าไหร่เพราะข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ถูกเปิดเผยอยู่แล้ว แต่ข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำไปรวมกับข้อมูลอื่นๆ ก็อาจถูกนำไปใช้โจมตีแบบ Social Engineering เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้ตกหลุมพรางของเหล่า Hacker ได้ง่ายดายขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งการใช้ Email หรือเบอร์โทรศัพท์ในการค้นหานั้นก็ยังให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่าการค้นหาจากชื่ออย่างชัดเจนด้วย ดังนั้นในทางปฏิบัติการเปิดให้ผู้คนสามารถค้นหา Facebook Profile ได้ผ่านข้อมูลเหล่านี้ก็ถือว่าอันตรายไม่น้อย ซึ่งที่ผ่านมาวิธีการนี้ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานเกือบทั้งหมดของ Facebook ที่มีจำนวนมากถึง 2,200 ล้านคนทั่วโลกเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี Mark Zuckerberg ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ต้องทำการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้งานเอาไว้เป็นจำนวนมหาศาลนี้ว่าต้องการนำไปใช้เพื่อให้การนำเสนอโฆษณาแก่ผู้ใช้งานนั้นมีคุณภาพและมีความแม่นยำสูงที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งาน Facebook ที่ดีขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน…

ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า Swisscom กว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ

Loading

Swisscom บริษัทผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ เผลอทำข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 800,000 ราย รั่วไหลสู่สาธารณะ คิดเป็นเกือบ 10% ของประชากรประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทั้งหมด Credit: Helpnetsecurity ข้อมูลที่รั่วไหลออกสู่สาธารณะ ประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของ Swisscom เช่น ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ ซึ่ง Swisscom เองไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเว็บไซต์เกี่ยวกับรายละเอียดของข้อมูลที่รั่วไหล สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ทัั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่แบบ “Non-sensitive” ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นคือไม่มีข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive) เช่น พาสเวิร์ด, หมายเลขบัตรเครดิต, บทสนทนาต่างๆ และข้อมูลในการชำระเงิน การรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัทคู่ค้าของ Swisscom ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ระบบจะบังคับให้มีการใส่ยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดก่อนเสมอเพื่อเข้าถึงข้อมูล แต่แฮ็คเกอร์น่าจะอาศัยช่องโหว่บางอย่างเพื่อหลบหลีกการยืนยันตัวตนนี้ ท้ายที่สุดแล้ว Swisscom ตัดสินใจเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น มีการเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (Two-factor authentication) สำหรับบริษัทคู่ค้า รวมไปถึงการห้ามให้มีการค้นฐานข้อมูลลูกค้าคราวละมากๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ที่มา : techtalkthai ลิงค์ : https://www.techtalkthai.com/swisscom-data-breach-800000-customers-affected/  

เวียดนามตั้งกองกำลังทำสงครามไซเบอร์เพื่อปราบปรามกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

Loading

1. เวียดนามดำเนินมาตรการเชิงรุกขยายวงกว้างปราบปรามกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ซึ่งใช้อินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือเผยแพร่ทัศนคติและข้อมูลข่าวสารโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาลในเชิงลบ โดยพลโท Nguyen Trong Nghia รองประธานกรมการเมืองใหญ่ กองทัพประชาชนเวียดนาม เปิดเผยเมื่อ 25 ธันวาคม 2560 ว่า เวียดนามมีหน่วยพิเศษ Force 47 เป็นหน่วยทำสงครามไซเบอร์ในการควบคุม/ตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเมืองและสื่อมวลชนผ่านกิจกรรมออนไลน์ กองกำลังดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่จำนวนกว่า 10,000 คน ซึ่งมีทักษะ ความรู้ ความชำนาญด้านเทคโนโลยี และอุดมการณ์ที่ดีทางการเมืองเป็นกองกำลังหลักร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงภายใน ทำสงครามข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะกลุ่มที่พยายามบ่อนทำลายความมั่นคงของเวียดนาม     2. การเปิดเผยหน่วยงานดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเวียดนามถึงความจริงจังของรัฐบาลในการควบคุมความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากในห้วงหลายเดือนที่ผ่านมา เวียดนามจับกุมและจำคุกกลุ่มเห็นต่างทางการเมือง กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตย กลุ่มปกป้องสิทธินักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน บล็อกเกอร์ นักเขียน อดีตนายทหาร และชนกลุ่มน้อยทางศาสนา (ตามประมวลกฎหมายอาญา บทลงโทษในข้อหาโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล จำคุกสูงถึง 20 ปี ขณะที่บทลงโทษกลุ่มบุคคลล้มล้างอำนาจรัฐสูงสุดคือ ประหารชีวิต) รวมถึงขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่จากต่างประเทศให้ช่วยสกัดกั้นความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวเมื่อกลางธันวาคม 2560 เช่น Facebook ถอดบัญชีผู้ใช้ซึ่งวิจารณ์ผู้นำรัฐบาลและเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งสิ้น 159 บัญชี ขณะที่ Google…

เอฟบีไอ เตือน “ของเล่น” อาจเป็นเครื่องโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว

Loading

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ ออกมาเตือนว่า ของเล่นที่เด็กๆได้รับในวันคริสต์มาสหรือวันปีใหม่นั้น อาจกลายเป็นฝันร้ายสำหรับคุณได้ เพราะนี่อาจเป็นอุปกรณ์ให้เหล่าแฮกเกอร์เข้ามาล้วงข้อมูลส่วนตัวกันถึงในบ้านได้ เอฟบีไอ ไม่ได้ระบุว่า ของเล่นประเภทใดหรือจากบริษัทใดที่มีความเสี่ยง แต่ให้คำจำกัดความรวมๆว่า ของเล่นที่มีไมโครโฟน กล้อง และระบบติดตามหรือระบุพิกัด เป็นคุณสมบัติของเล่นที่เสี่ยงต่อการถูกเจาะข้อมูลและระบบความปลอดภัยของเด็กๆและครอบครัวคุณได้ ของเล่นที่มีความเสี่ยงอาจจะเป็นตุ๊กตาพูดโต้ตอบกับเด็ก หรือแท็ปเล็ตเพื่อการเรียนรู้ที่ดูไร้พิษสง เนื่องจากของเล่นเหล่านี้อาจหลุดรอดสายตาจากแผนกตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อให้วางขายให้ทันช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ตาม ใครที่ซื้อของเล่นสำหรับลูกหลานไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าของเล่นนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยี แนะนำวิธีง่ายๆให้ห่างไกลจากการถูกโจรกรรมข้อมูล จากของเล่นหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้ตัว 1. ค้นหาข้อมูลของขวัญหรือของเล่นต้องสงสัย – คำแนะนำจาก เบห์นัม ดายานิม (Behnam Dayanim) ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของ Paul Hasting Law ก่อนแกะกล่องของเล่นหรือแก็ตเจ็ตที่ได้มาในวันคริสต์มาส สละเวลาอันมีค่า ค้นหาเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสินค้านั้นๆ เข้าไปที่ Privacy Policy หรือ นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว ถ้าไม่มีให้โทรศัพท์ไปสอบถามโดยตรง อีกวิธีง่ายๆ คือ อ่านรีวิวหรือคำวิจารณ์ถึงสินค้าเหล่านั้นบนอินเตอร์เน็ตก่อนแกะกล่อง ถ้าพบว่ามีความเห็นที่สุ่มเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการใช้สินค้าเหล่านั้น จะช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจะเก็บไว้หรือเอาไปคืนดีหรือไม่ 2. เพิ่มความปลอดภัยให้ Wi-Fi ที่บ้าน –หากของเล่นนั้นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ควรยกระดับความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต Wi-Fi…

เตือนมัลแวร์ Triton พุ่งเป้าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ สร้างอันตรายถึงชีวิต

Loading

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก FireEye ผู้ให้บริการโซลูชัน Threat Intelligence ชื่อดังออกมาแจ้งเตือนถึงมัลแวร์ตัวใหม่ ชื่อว่า Triton ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับโจมตีระบบควบคุมโรงงาน (Industrial Control System: ICS) โดยเฉพาะ เสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุซึ่งไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ ชี้อาจมีบางประเทศอยู่เบื้องหลัง   Triton หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Trisis เป็นมัลแวร์ ICS ที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตี Triconex Safety Instrumented System (SIS) Controllers ที่ผลิตโดยบริษัท Schneider Electric โดยเฉพาะ ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นระบบควบคุมสำหรับเฝ้าระวังประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Critical Infrastructure และตอบสนองโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบเหตุการณ์ที่อาจมีอันตรายต่อชีวิต FireEye ระบุว่า มัลแวร์ Triton นี้อาจเป็นการโจมตีที่มีหน่วยงานรัฐของประเทศอยู่เบื้องหลัง (State-sponsored Attack) มีเป้าหมายหลักที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งมัลแวร์ดังกล่าวเกิดจากการ Reverse Engineering โปรโตคอล TriStation ซึ่งเป็นโปรโตคอลเฉพาะทางสำหรับผลิตภัณฑ์เชิงวิศวกรรมและการบำรุงรักษาของ Triconex SIS แล้วนำมาใช้โจมตีระบบ ICS…

ข้อมูลลับสุดยอดของกองทัพสหรัฐและ NSA หลุดจาก Amazon S3

Loading

UpGuard บริษัทที่ให้บริการประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยได้พบเซิร์ฟเวอร์ S3 อีกตัวหนึ่งที่เป็นของหน่วยงานข่าวกรอง (INSCOM) ภายใต้ความดูแลของ NSA และกองทัพสหรัฐ สืบเนื่องจากเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ UpGuard ได้พบข้อมูลรั่วไหลใน Amazon S3 ของ DOD ไปแล้วซึ่งมีข้อมูล Social Media จากคนทั่วโลกกว่า 1.8 พันล้านโพสต์  นักวิจัยพบ VM ที่มีข้อมูลลับสุดยอด นักวิจัยกล่าวว่าพบไฟล์เสมือนของเครื่อง Linux พร้อมกับ Virtual Hard drive (ที่เก็บข้อมูลของเครื่อง) แม้ว่าจะไม่สามารถนำบูตเครื่องขึ้นมาหรือเข้าถึงไฟล์ใน Virtual Hard drive ได้เนื่องจากมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของกลาโหม (DOD) ที่ให้เข้าถึงเครื่องได้จากเครือข่ายภายในเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยสามารถค้นหาเนื้อหาของไฟล์ใน SSD image ที่เก็บข้อมูลสำคัญซึ่งบางไฟล์ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทลับสุดยอดและความมั่นคงปลอดภัยของบุคคลต่างชาติ ไฟล์ที่หลุดออกมามีร่องรอยของแพลตฟอร์ม Red Disk ในโฟลเดอร์ของ VM ดังกล่าวได้ชี้ไปถึงระบบที่เป็นส่วนหนึ่งของ Red Disk หรือแพลต์ฟอร์มการประมวลผลของ Cloud ที่ถูกใช้ในระบบกระจายข่าวกรองภาคพื้นของกองทัพ (DGCS-A) โดยกระทรวงกลาโหม ซึ่งตอนแรก Red Disk ถูกคาดหวังว่าจะใช้เป็นศูนย์รวมข้อมูลของหน่วยข่าวกรองเพื่อให้กองทัพสหรัฐได้ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน โดยใช้เงินลงทุนไปกว่า…