ผู้นำยูเครนย้ำ “การปั่นข่าวสงคราม” ยิ่งทำให้ตื่นตระหนกและเสียหาย

Loading

  ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ออกมากล่าวอีกครั้ง ว่า “การปั่นข่าวสงคราม” มีแต่ยิ่งทำให้ยูเครนเสียหาย ขณะที่ประชาชนจัดการเดินขบวนแสดงความสามัคคีและต่อต้านสงคราม   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ว่า ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ลงพื้นที่ในภูมิภาคเคียร์ซอน ทางตอนใต้ของยูเครน และอยู่ใกล้กับคาบสมุทรไครเมีย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา กล่าวว่า จริงอยู่ที่ความเสี่ยงของการโจมตีทางทหารโดยรัสเซีย “ยังคงมีอยู่และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”   อย่างไรก็ตาม “ศัตรูตัวฉกาจ” สำหรับยูเครนในตอนนี้ คือ “ความตื่นตระหนก” ข้อมูลทั้งหมดที่ออกมามีแต่ยิ่งสร้างความหวาดกลัวโดยใช่เหตุและไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อยูเครนแม้แต่น้อย เซเลนสกีกล่าวว่า เขาไม่ได้คัดค้านทุกเรื่อง ทว่าก็ไม่ได้เห็นด้วยกับทุกอย่าง แต่ที่ยืนยันได้คือ จนถึงตอนนี้ “ไม่มีความเสี่ยงของการเกิดสงครามเต็มรูปแบบในยูเครน” และเรียกร้องให้ฝ่ายตะวันตกแสดง “หลักฐานที่น่าเชื่อถืออย่างแท้จริง” ว่ารัสเซียจะรุกรานยูเครน     ทั้งนี้ ผู้นำยูเครนเพิ่งกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า การที่สื่อตะวันตกรายงานราวกับว่า “มีทหารและรถถังอยู่เต็มถนน” เป็นการ “สร้างความตื่นตระหนกโดยใช่เหตุ” ขณะเดียวกัน “ท่าทีปลุกปั่น” ของทำเนียบขาวว่า สร้างความเสียหายให้กับยูเครน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ แต่ยืนยันว่า กองทัพยูเครนมีศักยภาพและประสิทธิภาพเพียงพอรับมือและเผชิญหน้า ในกรณีที่เกิดการรุกรานทางทหาร…

สงครามยุคใหม่! ยูเครนระดมทุนสู้รัสเซียด้วย ‘คริปโต’

Loading

กลุ่ม NGO และแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนยูเครนได้รับบริจาคคริปโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังเกิดวิกฤตตึงเครียดกับรัสเซีย   Reuters อ้างรายงานจากบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านบล็อกเชน Elliptic ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา ระบุว่า องค์กรเอกชนและกลุ่มนักแฮ็กข้อมูลทางไซเบอร์ที่ให้การสนับสนุนยูเครน สามารถระดมทุนในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังเกิดความตึงเครียดบริเวณชายแดนยูเครน ท่ามกลางความกังวลว่ายูเครนจะถูกโจมตีโดยกองทัพรัสเซีย   รายงานระบุว่าในปี 2021 มีการบริจาคสกุลเงินดิจิทัลไปยังองค์กรเอกชนเหล่านี้มูลค่ากว่า 550,000 เหรียญสหรัฐ โดยบางส่วนใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ให้แก่กองกำลังยูเครน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ 6,000 เหรียญสหรัฐในปี 2020   Elliptic ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดิจิทัลบนบล็อกเชน พบว่ากลุ่ม Come Back Alive ซึ่งมีฐานอยู่ในเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน เริ่มระดมทุนคริปโตในปี 2018 แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 ได้รับบริจาคคริปโตไปแล้วมูลค่าเกือบ 200,000 เหรียญสหรัฐ   โดยกลุ่ม Come Back Alive กล่าวว่าได้จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้แก่กองทัพยูเครน รวมถึงโดรน กล้องติดปืนไรเฟิลซุ่มยิง และระบบเฝ้าระวัง   “เราสร้างกระเป๋าเงิน…

มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ผู้นำเอธิโอเปียประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์

Loading

นายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด แห่งเอธิโอเปีย ประกาศสงครามกับภูมิภาค ไทเกรย์ ทางตอนเหนือของประเทศ จนเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม TPLF ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้อยู่ ชนวนของสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นมานานหลายปี และค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และลุกลามกลายเป็นหนึ่งในวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ การต่อสู้ในภูมิภาคไทเกรย์อาจบานปลาย ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วประเทศ และอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วภูมิภาคแหลมแอฟริกา ทหารจากภูมิภาคอัมฮารา ถูกส่งเข้าไปเผชิญหน้ากับกลุ่มกำลังของ TPLF เมื่อ 9 พ.ย. 2563 กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เมื่อนายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปเมื่อปีที่แล้ว ประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองในภาคเหนือของประเทศ อย่างไม่มีใครคาดคิด เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 สงครามครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ‘แนวหน้าปลดปล่อยประชาชนไทเกรย์’ (TPLF) ซึ่งปกครองไทเกรย์ และเคยเป็นสมาชิกสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาลเอธิโอเปียมานานหลายทศวรรษ กับรัฐบาลของนายกฯ อาบีย์ ที่คุกรุ่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก่อนจะปะทุขึ้นเมื่อไทเกรย์ขัดคำสั่งรัฐบาลกลางและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี อาบีย์ สั่งให้กองทัพออกปฏิบัติการโจมตีในภูมิภาคไทเกรย์ หลังจากเกิดเหตุโจมตีที่ฐานทัพแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย รวมทั้งทรัพย์สินของกองทัพได้รับความเสียหาย โดยเขาโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม TPLF เอธิโอเปียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร…

ประเทศในเอเชียเตรียมแผนอพยพประชาชนของตนออกจาก ‘อิรัก-อิหร่าน’

Loading

In this handout photo provided by the Malacanang Presidential Photographers Division, Philippine President Rodrigo Duterte, right, talks with security officials at the Malacanang presidential palace in Manila, Jan. 5, 2020. ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก ดูเตอร์เต้ จัดประชุมฉุกเฉินเพื่อสั่งการให้กองทัพเตรียมส่งเรือรบและเครื่องบินทหารไปยังตะวันออกกลางเพื่ออพยพประชาชนชาวฟิลิปปินส์หลายพันคนออกจากอิรักและอิหร่านทันทีที่ได้รับคำสั่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของรัฐบาลประเทศในแถบเอเชียที่กลัวว่าประชาชนของตนจะได้รับผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ปธน.ดูเตอร์เต้ กล่าวว่าตนค่อนข้างกังวลว่าอิหร่านจะตอบโต้สหรัฐฯ และจะเกิดความรุนแรงและการนองเลือดในตะวันออกกลาง คาดว่าปัจจุบันมีชาวฟิลิปปินส์ทำงานอยู่ในอิรักและอิหร่านมากกว่า 7,000 คน รวมทั้งที่ทำงานให้กับบริษัทของสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกที่มีฐานอยู่ในกรุงแบกแดด นอกจากนี้ ยังมีชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ทำงานอยู่ในประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย ที่คาดว่าตัวเลขรวมอาจสูงถึงหลายแสนคน โดยส่วนใหญ่ทำงานเป็นแม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ลูกเรือ และอาชีพทักษะฝีมือระดับสูงอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ประเทศในเอเชียที่มีประชาชนจำนวนมากไปทำงานอยู่ในตะวันออกกลางก็กำลังเตรียมการอพยพประชาชนของตนออกจากอิรักและอิหร่านเช่นกัน ด้านรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังหารือเรื่องการใช้มาตรการปกป้องชาวเกาหลีใต้…