ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง

Loading

    ทีมข่าวไอที ก่อนที่ไทยจะเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเพียงหนึ่งวัน (27 มี.ค.2568) มีข่าวว่าข้อมูลคนไทยหลุดออกมาขายซ้ำอีกครั้ง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาแถลงข่าวกรณีข้อมูลคนไข้ในระบบ A-Med Care Plus 1.3 แสนรายถูกโจรกรรมเอาไปขายบนเว็บบอร์ดซื้อขายข้อมูลแห่งหนึ่งว่า ไม่ได้หลุดจากระบบ แต่เกิดขึ้นระหว่างโอนถ่ายข้อมูล     ล่าสุดเมื่อวานนี้ไปรษณีย์ไทยก็ออกมาแถลงว่าข้อมูลผู้ใช้บริการของตัวเองทั้ง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์ อีเมล ถูกเอาไปเผยแพร่บน Dark Web แต่ข้อมูลที่ถูกเอามาเผยแพร่นี้ไม่มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน และทางหน่วยงานก็ได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลทันทีพร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้บริการแล้ว     อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวลองเข้าไปดูในเว็บบอร์ดที่มีการขายข้อมูลเหล่านี้ยังพบอีกว่ายังมีการขายข้อมูลอีกชุดจากระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ด้วยมีจำนวน 210 ไฟล์ ขนาดไฟล์รวมทั้งหมด 150 GB ในโพสต์ขายระบุด้วยว่าเป็นข้อมูลจำนวน 622 ล้านบรรทัด และปัจจุบันโพสต์ประกาศขายดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดนั้น   ประกาศขายข้อมูล Health Data Center ของไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums…

ปลัดสธ.สั่ง 35 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงเตรียม 6 มาตรการ รับมือภัยพิบัติธรรมชาติ

Loading

กระทรวงสาธารณสุข วาง 6 มาตรการ เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะ 35 จังหวัดเสี่ยง ให้ เตรียมแผนป้องกันอาคารสถานที่ เคลื่อนย้ายครุภัณฑ์/อุปกรณ์การแพทย์ ไปไว้ในที่ปลอดภัย สำรองยา/เวชภัณฑ์ตามระดับความเสี่ยงของพื้นที่ พร้อมจัดทีมเฝ้าระวังสถานการณ์ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง และรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินทันที

กต. เดินหน้าภารกิจการทูตเชิงรุก สำรวจการปักปันเขตแดนไทย-มาเลเซีย เยี่ยมชาวสยามรัฐกลันตัน

Loading

กระทรวงการต่างประเทศ นำโดย ณัฐพล ขันธหิรัญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและเมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย ในโครงการการทูตเชิงรุกเพื่อประชาชนพื้นที่ชายแดนใต้ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม โดยมีการล่องเรือสำรวจความคืบหน้าโครงการปักปันเขตแดนระหว่างไทยและมาเลเซียในแม่น้ำโก-ลก ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ​ร่วมกับกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมแผนที่ทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินการภายใต้คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย-มาเลเซีย และมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ในปี 1972