เกาหลีใต้ปรับแผน ใช้ AI สแกนความหนาแน่น ป้องกันโศกนาฏกรรมซ้ำรอย

Loading

สำนักข่าวประเทศเกาหลีรายงาน คุมเข้มช่วงเทศกาลฮาโลวีนที่กำลังจะมาถึงในเดือนตุลาคม ป้องกันโศกนาฏกรรมซ้ำรอยอิแทวอนในปี 2565 ตำรวจเกาหลีได้เพิ่มมาตรการเพื่อป้องกันผู้คนจำนวนมากที่เรียกว่า “Mirroring System” ด้วยการนำกล้องวงจรปิด (CCTV) สามารถนับจำนวนคนได้แบบเรียลไทม์ และจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่หากพบว่ามีผู้คนหนาแน่นมากเกินไป

พร้อมรับมือสงครามรัสเซีย! ‘ฟินแลนด์’ เผยมีบังเกอร์ใต้ดินกว่า 50,000 แห่ง-จุประชากรได้ 4.8 ล้านคน

Loading

  รัฐบาลฟินแลนด์ทำการตรวจนับจำนวน “บังเกอร์ใต้ดิน” ที่สร้างเอาไว้เพื่อเตรียมรับมือภัยสงครามนิวเคลียร์ และพบว่าปัจจุบันมีบังเกอร์ที่พร้อมใช้งานอยู่ถึง 50,500 แห่ง   แม้ฟินแลนด์จะเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) เมื่อเดือน เม.ย. ซึ่งถือเป็นการพลิกนโยบายด้านความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ของรัฐนอร์ดิกแห่งนี้ ทว่ารัฐบาลเฮลซิงกิมีการเตรียมความพร้อมรับมือความขัดแย้งกับรัสเซียมานานเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว นับตั้งแต่เคยถูกสหภาพโซเวียตพยายามรุกรานเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2   กฎหมายฟินแลนด์กำหนดให้อาคารที่พักอาศัยและสำนักงานต่างๆ ต้องสร้างบังเกอร์หลบภัยมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมฟินแลนด์ถึงได้มีจำนวนบังเกอร์ใต้ดินอยู่มากมายขนาดนี้   จากผลสำรวจล่าสุดโดยกระทรวงมหาดไทยฟินแลนด์พบว่า ฟินแลนด์ซึ่งมีประชากร 5.5 ล้านคนได้สร้างบังเกอร์หลบภัยเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 50,500 แห่ง ซึ่งจะสามารถรองรับประชากรได้ 4.8 ล้านคน ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประเทศถูกโจมตี     จากการสำรวจยังพบว่า บังเกอร์ใต้ดิน 91% แข็งแกร่งเพียงพอที่จะต้านทานการโจมตีด้วยอาวุธแบบดั้งเดิม (conventional weapons) และ 83% ยังสามารถรับมือการโจมตีด้วยก๊าซพิษหรือระเบิดนิวเคลียร์ได้ด้วย   “อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าบังเกอร์ส่วนน้อยยังคงมีข้อผิดพลาดที่ทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ภายใน 72 ชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด” อีรา พาซี (Ira Pasi) เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยฟินแลนด์…

สถานทูตแจ้งข่าวพลเมืองไทยร่วมซ้อมอพยพรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินในเกาหลีใต้

Loading

  สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซลออกประกาศเรื่อง “การซ้อมแผนอพยพสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ในประเทศเกาหลีใต้ ผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊กเมื่อวันพุธ (23 ส.ค.)   โดยระบุว่า เกาหลีใต้มีการซ้อมแผนอพยพสำหรับกรณีฉุกเฉินเมื่อวานนี้ (23 ส.ค.) เวลา 14.00 น. (ระยะเวลาฝึกซ้อมประมาณ 20 นาที) โดยสัญญาณเตือนภัยแจ้งการโจมตีทางอากาศจะดังขึ้นทั่วประเทศ ทำให้การเดินทางหยุดชะงัก พลเมืองต้องอพยพไปยังแหล่งหลบภัย และชาวต่างชาติ รวมทั้งชาวไทยสามารถเข้าร่วมฝึกซ้อมได้เช่นกัน   ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซลระบุในเอกสารลงวันที่ 4 ส.ค.ว่า “สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ขอเรียนว่า กระทรวงมหาดไทยและความปลอดภัย สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศแจ้งแผนการซ้อมอพยพเพื่อเตรียมการป้องกันการโจมตีทางอากาศ ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นทั่วสาธารณรัฐเกาหลี (ยกเว้นนครเซจง จังหวัดชุงของใต้ จังหวัดช็อลลาเหนือ และจังหวัดคย็องชังเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ภัยพิบัติพิเศษ เนื่องจากสถานการณ์ฝนตกหนัก) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานงานขอรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมไปยังกระทรวงมหาดไทยฯ ของสาธารณรัฐเกาหลีด้วยแล้ว และได้รับทราบข้อมูล…

เกาหลีใต้ ซ้อมแผนป้องกันภัยทั่วประเทศรับมืออาวุธนิวเคลียร์ แต่ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ

Loading

  เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือ   รอยเตอร์รายงานอ้างกระทรวงความมั่นคงภายในของเกาหลีใต้ว่า เกาหลีใต้จัดซ้อมแผนป้องกันพลเรือนทั่วประเทศครั้งแรกในรอบ 6 ปีในวันนี้ มีการเปิดสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉินในเวลา 14.00น.ของวันนี้ ให้ประชาชนเข้าไปหลบอยู่ในสถานที่ปลอดภัย เช่น หลุมหลบภัย แต่ดูเหมือนว่าประชาชนหลายคนไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่รีบวิ่งไปยังศูนย์พักพิงที่กำหนดไว้ หรือหลุมหลบภัยใต้ดิน   กระทรวงความมั่นคงภายในของเกาหลีใต้ ระบุว่า ทางการเกาหลีใต้ขอให้ผู้ขับขี่ในพื้นที่ต่างๆราว 200 แห่งทั่วประเทศจอดรถไว้ข้างทาง พร้อมทั้งขอให้ห้างสรรพสินค้า 500 แห่ง โรงภาพยนตร์และสถานที่สาธารณะ อพยพคนจากพื้นที่ในช่วงซ้อมแผนป้องกันภัยพลเรือน   ผู้นำชุมชนสวมเสื้อแจ็คเก็ตและหมวกสีเหลือง พร้อมติดป้ายโลโก้ว่า ป้องกันภัยพลเรือน ขอให้ประชาชนออกจากท้องถนนต่าง ๆ 15 นาทีในช่วงซ้อมแผนป้องกันภัย ก่อนที่การเตือนภัยจะเริ่มผ่อนคลายในเวลาต่อมา ที่บริเวณลานจอดรถของออฟฟิสแห่งหนึ่งในกรุงโซล คนงานออฟฟิสหลายร้อยคนรวมกลุ่มกัน เพื่อฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยพลเรือนที่พูดผ่านเครื่องโทรโข่ง บางคนจิบกาแฟ ขณะที่หลายคนบ่นเรื่องอากาศร้อน   สำหรับการป้องกันภัยพลเรือนอุลชี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2512 หลังทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษของเกาหลีเหนือบุกเข้ามายังบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในกรุงโซล ในปัจจุบัน มีการสร้างหลุมหลบภัย 17,000 แห่งทั่วประเทศเกาหลีใต้ รองรับประชากร 52 ล้านคน แต่ไม่มีการซ้อมป้องกันฝ่ายพลเรือนมาตั้งแต่ปี 2560  …

‘แบงก์ชาติ’ผุด BAHTNET Lite ทำแผนฉุกเฉิน รับมือคุกคามไซเบอร์

Loading

  ธปท.ผุดแผนฉุกเฉินรับมือ โดนเจาะคุมคามไซเบอร์ หากต้องปิดระบบบาทเนต ใช้บาทเนตไลท์สำรองแทน ป้องกันระบบโอนเงิน-ชำระเงินถูกกระทบ   “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พิธีปฏิบัติ เรื่อง การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline : BNO) ผ่านระบบ BAHTNET Lite สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนต และ (ร่าง) แนวปฏิบัติ เรื่อง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่าย BAHTNET Lite ของผู้ใช้บริการบาทเนต โดยทั้ง 2 เรื่องจะเปิดรับฟังจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2566   ทั้งนี้ รายละเอียดเบื้องต้น ธปท.ได้จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีระบบบาทเนต หรือโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BNO) โดยได้ทำระบบบาทเนตไลท์ (BAHTNET Lite) ซึ่งเป็นเครื่องมือการปฏิบัติงานในช่วงที่ ธปท. ประกาศใช้ BNO ที่รองรับมาตรฐานข้อความทางการเงิน ISO 20022 เพื่อให้การชำระเงินระหว่างสถาบันสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลกระทบในวงกว้าง…

จนท.ฮาวายโต้เสียงวิจารณ์เรื่องไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนไฟป่า

Loading

  เจ้าหน้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐฯ ชี้แจงสาเหตุที่ไม่เปิดเสียงไซเรนเตือนภัยในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตแล้ว 110 ศพ   เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (16 ส.ค. 2566) หัวหน้าฝ่ายบริหารเหตุฉุกเฉินของเกาะเมาวี กล่าวปกป้องการตัดสินใจของหน่วยงานต่อประเด็นเรื่องการเปิดเสียงไซเรนในช่วงที่เกิดไฟป่ารุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางคำถามว่าการทำเช่นนั้นอาจช่วยชีวิตผู้คนได้หรือไม่   เฮอร์แมน อันดายา ผู้บริหารสำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินเขตเมาวี เคาน์ตี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เสียงไซเรนในฮาวายใช้เพื่อเตือนผู้คนให้ระวังสึนามิ การใช้มันขณะเกิดไฟไหม้อาจทำให้ผู้คนต้องอพยพไปยังจุดอันตราย   ไฟไหม้ทุ่งหญ้าเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ลุกลามลงมาจากฐานของภูเขาไฟที่ลาดลงสู่เมืองลาไฮนา เมืองท่องเที่ยวชื่อดัง คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 110 ศพ และทำลายหรือสร้างความเสียหายให้กับอาคารราว 2,200 หลัง   นายอันดายา กล่าวระหว่างการแถลงข่าว เมื่อนักข่าวตั้งคำถามถึงการตอบสนองของรัฐบาลระหว่างที่เกิดไฟป่าว่า “ประชาชนถูกฝึกให้หนีไปยังที่สูงในกรณีที่เสียงไซเรนดังขึ้น หากเราเปิดไซเรนในคืนนั้น เราเกรงว่าผู้คนจะไปรวมตัวกันบริเวณไหล่เขา และถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงเข้าไปในกองไฟแล้ว”   เขากล่าวว่า เมาวีใช้ระบบเตือนภัย 2 ระบบแทนการเปิดไซเรน ระบบหนึ่งจะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ และอีกระบบหนึ่งจะเป็นการออกอากาศข้อความฉุกเฉินทางโทรทัศน์และวิทยุ และเสริมว่า เนื่องจากเสียงไซเรนจะดังในพื้นที่ที่อยู่ริมทะเลเป็นหลัก พวกมันจึงไร้ประโยชน์สำหรับคนที่อาศัยอยู่บนที่สูง  …