อินเดียอาจออกข้อบังคับใหม่ สมาร์ทโฟนต้องลบแอป Pre-installed ได้ทั้งหมด ป้องกันการสอดแนม

Loading

    สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่ตรวจสอบพบ เผยว่าทางการอินเดียมีแผนออกข้อบังคับกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในประเทศ โดยต้องอนุญาตให้ผู้ใช้งานลบแอปพื้นฐานที่ติดตั้งมาได้ทุกแอป รวมทั้งระบบปฎิบัติการรุ่นใหม่ที่ออกอัปเดต ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากทางการก่อน   รายงานบอกว่าเหตุผลที่ทางการอินเดียเตรียมออกข้อบังคับใหม่นี้ เพื่อป้องกันการสอดแนมข้อมูลผู้ใช้งาน ซึ่งมองว่าเป็นความมั่นคงระดับชาติ ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้สั่งแบนแอปจากจีนเป็นจำนวนมาก โดยให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง   ข้อกำหนดเรื่องการอนุญาตให้ลบแอปพื้นฐานได้ ย่อมกระทบกับผู้ผลิตหลายรายที่นิยมลงแอป pre-installed มาให้ก่อน เช่น Xiaomi, ซัมซุง และแอปเปิล ซึ่งในรายของแอปเปิลนั้น แอปบางตัวสามารถซ่อนแต่ไม่สามารถลบได้   ส่วนข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบระบบปฏิบัติการนั้น รายละเอียดเบื้องต้นจะมีหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลในการตรวจสอบ เมื่อมีการออกอัปเดตใหญ่แต่ละครั้ง ทั้งด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งาน   ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดีย มี Xiaomi, vivo และ OPPO ครองส่วนแบ่งรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซัมซุงมีส่วนแบ่ง 20% และแอปเปิล 3%         ที่มา  Reuters         ——————————————————————————————————————————————…

นักวิจัยพบ OnePlus, Xiaomi, Realme ที่ขายในจีน เก็บและส่งข้อมูลผู้ใช้เป็นจำนวนมาก

Loading

    นักวิจัยในสกอตแลนด์ 3 ราย เผยแพร่งานวิจัยที่ชื่อว่า Android OS Privacy Under the Loupe — A Tale from the East ที่ชี้ว่า สมาร์ทโฟน OnePlus, Xiaomi และ Oppo/Realme ที่ขายในจีน มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้รวมถึงส่งข้อมูลออกไปเป็นจำนวนมาก แม้มือถือเครื่องนั้น จะไม่ได้อยู่ในจีนก็ตาม   นักวิจัยเน้นทดสอบไปที่แอปที่ถูกติดตั้งมากับเครื่องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นแอปของแบรนด์เองหรือแอป third-party เช่น Baidu Input, Baidu Navigation แอปข่าว แอปสตรีมมิ่ง หรือแอปช็อปออนไลน์ ซึ่งนักวิจัยก็พบว่า ทั้ง 3 แบรนด์ มีการส่งข้อมูลที่ระบุตัวตนออกไปอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งส่งไปให้ทั้งแบรนด์มือถือ ผู้ให้บริการแอปอย่าง Baidu หรือโอเปอเรเตอร์ แม้มือถือนั้นจะไม่ได้ใส่ซิมจีน ไม่ได้อยู่ในจีน หรือแม้กระทั่งไม่ใส่ซิมเลยก็ตาม   ตัวอย่างข้อมูลที่มีการส่งออกก็ เช่น…

โทรศัพท์หาย!! แล้วแอปฯ ธนาคารในเครื่องจะต้องทำอย่างไร

Loading

    เชื่อว่าคงเป็นหนึ่งในข้อสงสัยของหลายๆ คนที่นิยมใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารหรือวอลเลต เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้เรามี true money, rabbit line pay หรือแอปของธนาคารต่างๆ สแกนจ่ายกันอย่างสะดวกสบาย   ยังไม่รวมแอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับบัตรเครดิตหรือหักเงินจากบัตรธนาคารต่างๆ เพื่อใช้จ่ายให้สะดวกขึ้น   แล้วถ้าเกิดวันหนึ่งสมาร์ทโฟนของคุณเกิดหายไป สิ่งแรกที่กังวลอาจจะไม่ใช่แค่ข้อความในแชทหาย แต่เป็นจะจัดการกับแอปธนาคารต่างๆ อย่างไรดี   สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือ ตั้งสติให้ดีก่อน จากนั้นก็ยกหูโทรหาผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อแจ้งระงับซิมที่อยู่ในมือถือก่อน เมื่อไม่มีการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์กับแอปธนาคาร ก็ลดความเสี่ยงในการใช้แอปบนมือถือถอนเงินออกไปได้   เบอร์ติดต่อ Call Center แต่ละเครือข่าย   – AIS โทร. 1175 – DTAC โทร. 1678 – True โทร. 1242     ระงับบริการออนไลน์กับธนาคาร   เมื่อโทรแจ้งเครือข่ายแล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำเร่งด่วนคือ แจ้งธนาคารของทุกบัญชีที่ผูกไว้กับแอปฯ ในโทรศัพท์ โดยให้แจ้งการระงับบริการออนไลน์หรือ Mobile…

เชื่อไหม ? อนาคต มือถือราคาถูกลง เพราะข้อมูลส่วนตัวเรามีค่ามากกว่า

Loading

  เปิดอนาคตที่ต้องหันมาฉุกคิด เมื่อมือถือจะราคาถูกลง แต่แลกมาด้วยข้อมูลและความอิสระในการลบแอปฯบางประเภทต้องหายไป เพราะแบรนด์โทรศัพท์ก็หากินด้วยวิธีอื่น   Deloitte Insights คาดการณ์อนาคตตลาดสมาร์ทโฟน ว่า รุ่นที่รองรับ 5G จะมีราคาถูกลง ต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 3,500 บาท มากขึ้น เพราะแบรนด์มือถือสามารถสร้างรายได้จากส่วนอื่น ได้มากกว่าแค่การขายโทรศัพท์   ซึ่งการที่ส่วนต่างของราคาขายไม่ได้เป็นรายได้หลักอีกต่อไป ทำให้เห็นว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟน อาจเป็นหนึ่งในสินค้าที่แบรนด์โทรศัพท์มือถือนำไปขายลูกค้าต่ออีกทอดหนึ่ง   ขายมือถือถูกจะรวยได้อย่างไร ?   จากข้อมูลของ ดีลอยด์ สรุปได้ว่า วิธีการสร้างรายได้ของแบรนด์มือถือนอกจากกินส่วนต่างในราคาขายแล้ว แบรนด์ต่าง ๆ ได้คิดค้นวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ คือ แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า โฆษณา เนื้อหาในแอปฯ และ ตัวโหลดแอปฯของแบรนด์มือถือตัวเอง เพื่อนำข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานไปหากินอีกทางหนึ่ง   แอปฯที่ลงมาล่วงหน้า : หากเราสังเกตมือถือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์หลาย ๆ ยี่ห้อจะมีแอปฯที่ติดตั้งมาล่วงหน้าให้ ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในช่องทางที่แบรนด์มือถือเก็บเงินแอปฯเหล่านั้น โดยแอปฯที่จ่ายเงินก็มีจุดประสงค์คือหว่านแหเพิ่มผู้ใช้นั่นเอง ซึ่งแบรนด์มือถือก็เก็บเงิน เพราะมองว่า…

รู้ก่อนไปญี่ปุ่น! เหตุผล “สมาร์ทโฟน” ที่ญี่ปุ่นต้องมี “เสียงชัตเตอร์”

Loading

  “เที่ยวญี่ปุ่น” อย่างไรให้ปลอดภัยไม่เสี่ยงคุกจากการถ่ายภาพด้วย “สมาร์ทโฟน” เพราะแค่การ “ปิดเสียงชัตเตอร์” ก็อาจเท่ากับทำผิดกฎหมายแล้ว   ประเทศญี่ปุ่น กำลังจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว แน่นอนว่าคนไทยก็เตรียมตัวที่จะแห่ไป เที่ยวญี่ปุ่น กันหลังจากอัดอั้นมานานกับมาตรการปิดประเทศของญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในหมุดหมายในดวงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย   แต่ก่อนจะไป “เที่ยวญี่ปุ่น” ครั้งนี้ รู้หรือไม่ว่า ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ สมาร์ทโฟน ถ่ายภาพที่บังคับใช้มานานแล้ว แต่หลายคนยังไม่รู้ ที่สำคัญกฎหมายที่ว่านี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศยอดนิยมของคนไทยอย่างเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ การบังคับให้สมาร์ทโฟนห้าม ปิดเสียงชัตเตอร์   โดยปกติแล้วกฎนี้จะบังคับใช้กับ “สมาร์ทโฟน” ที่จำหน่ายภายในประเทศดังกล่าว หมายความว่าถ้าคุณซื้อสมาร์ทโฟนที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะแบรนด์ใด รุ่นใด ก็จะ “ปิดเสียงชัตเตอร์” ไม่ได้   เหตุผลที่ประเทศญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้สมาร์ทโฟนในประเทศถ่ายภาพโดยปิดเสียงก็เพื่อแก้ปัญหาการแอบถ่าย ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรง และเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย อย่างที่รู้ๆ กันว่า ชาวญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ จริงจังเรื่องสิทธิส่วนบุคคลมากขนาดไหน   การที่ “สมาร์ทโฟน” ปิดเสียงชัตเตอร์ได้ อาจทำให้มีการละเมิดด้วยการแอบถ่ายภาพใม่พึงประสงค์ ทางการญี่ปุ่นจึงออกกฎนี้เพื่อตัดปัญหา แต่ใช่ว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นจะปิดเสียงชัตเตอร์ไม่ได้เลย เพราะยังมีวิธีการปิดเสียงแบบเลี่ยงบาลีที่ทำได้ง่ายๆ แต่หลายคนยังไม่รู้…

5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน ป้องกันข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย

Loading

  5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน เชื่อว่าทุกคนเคยให้แอปบนโทรศัพท์ของคุณได้รับอนุญาตให้ทำบางสิ่งโดยไม่ได้คิดอะไรหรือไม่? หลายคนให้สิทธิ์แม้ที่ละเอียดอ่อน เช่น เข้าถึงกล้อง ไมโครโฟน และตำแหน่งของคุณทันทีที่ปรากฏ บทความนี้มาดูเรื่องสำคัญเกี่ยวกับประเภทการอนุญาตมือถือที่อันตรายที่สุด และวิธีที่แอปอันตรายอาจใช้ในทางที่ผิดเพื่อขโมยข้อมูลเกี่ยวกับคุณก็เป็นได้ ดังนั้นขณะติดตั้งและใช้แอป ต้องทบทวนเกี่ยวกับสิทธิ์อนุญาตของแอปมือถือด้วย ทั้ง iPhone และ Android   5 สิทธิอนุญาต (app permission) บนสมาร์ทโฟน ที่ต้องระวังเช็คทุกวัน       1. ไมโครโฟน ไม่แปลกใจเลยที่แอปบันทึกเสียงต้องการเข้าถึงไมโครโฟนของคุณ เป็นเรื่องขึ้นมาเมื่อมีเกมฟรีที่คุณเพิ่งติดตั้งมาขอการอนุญาตเข้าถึงไมโครโฟน ในปี 2017 The New York Times รายงานว่ามีเกมหลายร้อยเกมบน Google Play และบางเกมใน App Store ถูกรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Alphonso Automated Content Recognition ซึ่ง ซอฟต์แวร์ของ Alphonso ใช้ไมโครโฟนของอุปกรณ์ของคุณเพื่อระบุภาพยนตร์และรายการทีวีที่กำลังเล่นอยู่รอบตัวคุณ…