สังคมโลก : สวิสการ์ด

Loading

  นอกจากต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ในการสวมใส่เครื่องแบบหลากสีสันของ “สวิสการ์ด” หรือ กองกำลังทหารรักษาการณ์แห่งนครรัฐวาติกัน ทหารนายใหม่ต่างพบในไม่ช้าว่า พวกเขาไม่สามารถใส่ชุดเกราะที่มีน้ำหนักรวม 15 กิโลกรัม ได้ด้วยตัวเอง   เจเรมีและพอล ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยนามสกุลได้ เพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย จะเข้าพิธีสาบานตน และเข้าร่วมองค์กรเก่าแก่อันทรงเกียรติ ซึ่งมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่สมเด็จพระสันตะปาปา ปัจจุบัน นครรัฐวาติกันมีสวิสการ์ดอย่างน้อย 125 นาย   สมเด็จพระสันตะปาปายูลิอุสที่ 2 ก่อตั้งสวิสการ์ด เมื่อปี 2049 ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในเวลาต่อมา จากเครื่องแบบลายแถบสีน้ำเงิน, สีเหลือง และสีแดง แต่ในสามเหตุการณ์สำคัญประจำปีสำหรับคริสตจักร ได้แก่ เทศกาลคริสต์มาส, เทศกาลอีสเตอร์ และพิธีสาบานตน พวกเขาจะสวมใส่ชุดเกราะหนักที่แวววาว   ห่างไปเพียงไม่กี่เมตร ในลานที่ประดับด้วยธงของ 26 รัฐของสวิตเซอร์แลนด์ พอลอยู่ในกลุ่มเล็ก ๆ ที่กำลังซ้อมพิธีสาบานตนเหมือนกับคนอื่น ๆ หลังผ่านการฝึกภาคปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือน ในสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนเข้ารับการฝึกอีกครั้งที่วาติกัน  …

สวิตเซอร์แลนด์ ปิดน่านฟ้าเหตุระบบคอมพ์คุมจราจรทางอากาศขัดข้อง

Loading

  สวิตเซอร์แลนด์ ปิดน่านฟ้าเหตุระบบคอมพ์คุมจราจรทางอากาศขัดข้อง ล่าสุดเปิดน่านฟ้าแล้ว สวิตเซอร์แลนด์ต้องประกาศปิดน่านฟ้าในช่วงเช้าของวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศเกิดปัญหาขัดข้อง ส่งผลให้เที่ยวบินทั้งหมดไม่สามารถขึ้นบินหรือลงจอดได้ทั้งที่สนามบินในเจนีวาและซูริกเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดย Skyguide บริการควบคุมการจราจรทางอากาศของสวิตเซอร์แลนด์ออกมาประกาศในช่วงเช้าตรู่ว่า เกิดปัญหาทางเทคนิกส่งผลให้ต้องปิดน่านฟ้าเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ล่าสุด Skyguide บริการควบคุมการจราจรทางอากาศของสวิตเซอร์แลนด์ ทวีตข้อความในเวลาต่อมาระบุว่า ประกาศเปิดน่านฟ้าสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งแล้ว โดยระบุว่าก่อนหน้านี้เกิดปัญทางทางเทคนิกและล่าสุดได้รับการแก้ปัญหาแล้ว ที่สนามบินเจนีวาหลังประกาศปิดน่านฟ้าส่งผลให้มีผู้โดยสารจำนวนมากที่ติดค้างอยู่ที่สนามบิน ก่อนที่เที่ยวบินในช่วงเช้าที่ล่าช้าไปถึง 3 ชั่วโมง กลับมาบินได้อีกครั้งในเวลา 08.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น แต่ก็มีหลายเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกไปและผู้โดยสารต้องตรวจสอบกับสายการบินโดยตรง ขณะที่สนามบินซูริกที่ก่อนหน้านี้เกิดความโกลาหลขึ้นเช่นกัน ประกาศเช่นกันว่าเที่ยวบินสามารถกลับมาบินได้อีกครั้งโดยบริการเที่ยวบินจะกลับมาราว 50% จนถึงเวลา 09.30 น. และจะกลับมาในสัดส่วน 75% หลังจากนั้น รายงานระบุด้วยว่า มีเที่ยวบินจากต่างประเทศที่เดินทางมายังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเมืองมิลานประเทศอิตาลี ขณะที่สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินจากนครนิวยอร์ก ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ส่วนสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ จากประเทศสิงคโปร์ ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังมิวนิก ประเทศเยอรมนี     ที่มา : มติชนออนไลน์    / …

ทหาร-ตำรวจสวิสคุมเข้มประชุม’WEF’ -ผู้ว่าฯธปท.ร่วมประชุมด้วย

Loading

  เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม (WEF) เตรียมจัดการประชุมประจำปีนี้ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 22-26 พ.ค. หลังจากที่ได้เลื่อนการประชุมจากวันที่ 17-21 ม.ค. ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน   อย่างไรก็ดี การจัดการประชุม WEF ในเดือนพ.ค. ได้สร้างความแตกต่างจากที่มักจัดขึ้นในเดือน ม.ค.   ทั้งนี้ ดาวอส ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่สูงที่สุดในยุโรป และเป็นแหล่งรีสอร์ทสำหรับนักเล่นสกีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสวิตเซอร์แลนด์ มักปกคลุมไปด้วยหิมะในช่วงต้นปี ซึ่งหิมะดังกล่าวจะช่วยเป็น “แนวป้องกันทางธรรมชาติ” สำหรับการจัดการประชุม WEF โดยจะปิดเส้นทางของผู้ที่ต้องการเข้ามาประท้วงและสร้างความวุ่นวายในการประชุม WEF   การจัดการประชุม WEF ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองดาวอสไร้ซึ่งหิมะ ทำให้ทางการสวิตเซอร์แลนด์ต้องระดมกำลังทหารและตำรวจมากถึง 5,000 นายเพื่อรักษาความปลอดภัยในการประชุมดังกล่าว โดยมีการตั้งด่านสกัดในบริเวณที่ไม่เคยตั้งมาก่อน รวมทั้งส่งโดรนสำรวจในพื้นที่บริเวณหุบเขา เนื่องจากไม่มีหิมะขวางกั้นเหมือนในช่วงที่ผ่านมา   การเพิ่มการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวทำให้ทางการสวิตเซอร์แลนด์ต้องใช้งบสูงถึง 32 ล้านฟรังก์สวิส   ทั้งนี้ WEF จัดการประชุมประจำปีนี้แบบพบหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 2…

กองทัพสวิส ยุติการใช้งาน Whatsapp ยกเหตุผลความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว

Loading

    กองทัพสวิส ออกโรงเปลี่ยนแอปพลิเคชันแชต จากเดิมที่เคยใช้วอตส์แอป (Whatsapp) มาเป็น Threema ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันท้องถิ่นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุที่เปลี่ยนแอปเพราะความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว   กองทัพสวิส ประกาศสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นวอตส์แอป, ซิกแนล (Signal) และเทเลแกรม (Telegram) ในการใช้ส่งข้อความภายในองค์กร พร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่หันมาใช้แอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Threema แทน ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นเอง   Threema เป็นแอปแชตที่เริ่มให้บริการในช่วงปี 2012 มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 10 ล้านราย รองรับทั้ง iOS และ Android   สาเหตุที่มีการออกประกาศดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กองทัพสวิส มีความกังวลต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว แอปหลักที่ใช้งานเป็นประจำก็คือวอตส์แอป อีกทั้งกองทัพสวิสยังมีความกังวลหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของกองทัพสวิสได้   พร้อมกันนี้ ความกังวลของกองทัพสวิสน่าจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่จากวอชิงตัน ดี.ซี. สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐบาลสหรัฐฯ   ขณะที่แอปพลิเคชัน Threema เป็นบริษัทที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และไม่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐอเมริกา…

ชาวสวิตเซอร์แลนด์ลงประชามติสวมผ้าคลุมหน้าผิด กม. แต่ไม่พาดพิงมุสลิม

Loading

  ข้อเสนอของพวกขวาจัดที่ต้องการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้าในสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียดในศึกประชามติแบบมีพันธะผูกพันเมื่อวันอาทิตย์ (7 มี.ค.) โดยการทำประชามติครั้งนี้เกิดขึ้นตามแรงกระตุ้นของคนกลุ่มเดียวกันที่เคยเสนอโหวตห้ามก่อสร้างหอคอยสุเหร่ามาแล้วในปี 2009 จากผลประชามติอย่างเป็นทางการในเบื้องต้นพบว่า มาตรการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอย่างฉิวเฉียด 51.2% ต่อ 48.8% ข้อเสนอภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยตรงของสวิตเซอร์แลนด์ ยังมีเป้าหมายหยุดความรุนแรงบนท้องถนนจากฝีมือพวกผู้ประท้วงสวมหน้ากาก และไม่ได้พาดพิงของอิสลามโดยตรง แต่กระนั้นก็มีพวกนักการเมืองท้องถิ่น สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวบางส่วน ให้สมญานามมันว่าเป็น “บูร์กาแบน” “ในสวิตเซอร์แลนด์ วัฒนธรรมของเราคือคุณต้องโชว์ใบหน้า มันเป็นสัญญาณของเสรีภาพขั้นพื้นฐาน” วอลเตอร์ ว็อบมันน์ ประธานคณะกรรมการประชามติและสมาชิกรัฐสภาจากพรรคสวิส พีเพิลส์ กล่าวก่อนการโหวต เขาบอกต่อว่า “การปกปิดใบหน้าเป็นสัญลักษณ์อิสลามการเมืองอันสุดโต่ง ที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆในยุโรป ซึ่งไม่ควรปรากฏอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์” กลุ่มมุสลิมต่างๆ ประณามประชามติครั้งนี้ และบอกว่าพวกเขาจะเดินหน้าคัดค้านถึงที่สุด “การตัดสินใจในวันนี้เป็นการเปิดแผลเก่า รังแต่ขยายหลักการความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย และส่งสารอย่างโจ่งแจ้งแห่งการกีดกันชนกลุ่มน้อยมุสลิม” สภากลางมุสลิมในสวิตเซอร์แลนด์ระบุ พวกเขาสัญญาว่าจะยื่นคัดค้านทางกฎหมายต่อกฎหมายทั้งหลายที่บังคับใช้มาตรการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้า และจะดำเนินการระดมทุนไว้คอยช่วยเหลือบรรดาผู้หญิงที่ถูกปรับเงินจากฐานความผิดดังกล่าว “การบรรจุกฎระเบียบด้านการแต่งกายไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่กัดกร่อนสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง แต่มันยังเป็นการก้าวถอยหลังสู่อดีต” สหพันธ์องค์กรอิสลามในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว พร้อมระบุว่าค่านิยมแห่งความเป็นกลาง อดทนอดกลั้นและผู้ประนีประนอมของสวิตเซอร์แลนด์กำลังถูกบั่นทอนจากประเด็นถกเถียงนี้ ฝรั่งเศสห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้ายามอยู่ในที่สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2011 ส่วนเดนมาร์ก ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์และบัลแกเรีย ก็ห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้าหรือบางส่วนในที่สาธารณะแล้วเช่นกัน ขณะที่ในสวิตเซอร์แลนด์เอง มีอยู่ 2…