เหตุใดบางประเทศไม่รับรอง “ความเป็นรัฐ” ของปาเลสไตน์ ?

Loading

GETTY IMAGES องค์การบริหารปาเลสไตน์หรือพีเอ (Palestinian Authority) ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ที่สหประชาชาติตั้งแต่ปี 2012   ในประกาศร่วมกันเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา มีหลายชาติ เช่น สเปน นอร์เวย์ และไอร์แลนด์ ได้เปิดเผยว่ามีแผนที่จะรับรองปาเลสไตน์ในฐานะ “รัฐ” ในวันที่ 28 พ.ค. นี้   ขณะที่ผู้นำปาเลสไตน์ได้แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจนี้ โดยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization: PLO) ได้เรียกสิ่งนี้ว่า “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์”   ส่วนประเทศที่สนับสนุนการสร้างรัฐปาเลสไตน์เชื่อว่า นี่จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์   อย่างไรก็ตาม อิสราเอลแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง โดยกล่าวว่าจะเรียกทูตของสามประเทศนี้มาเพื่อชมวิดีโอการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2023   “ประวัติศาสตร์จะจดจำว่า สเปน นอร์เวย์ และไอร์แลนด์ตัดสินใจมอบเหรียญทองให้กับนักฆ่าและผู้ข่มขืนอย่างฮามาส” นายอิสราเอล แคทซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอล กล่าว   อิสราเอลไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐปาเลสไตน์และรัฐบาลอิสราเอลในปัจจุบันต่อต้านการสร้างรัฐปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และกาซา โดยอ้างว่ารัฐดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อการมีอยู่ของอิสราเอล  …

สหประชาชาติ เตือนทั่วโลกเพิ่มการป้องกันโจมตีทางไซเบอร์ ปล้นคริปโตของเกาหลีเหนือ

Loading

คณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ รายงานการตรวจสอบตามข้อกล่าวหาที่ว่า เกาหลีเหนือดำเนินกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย เพื่อหารายได้เข้าประเทศ

เกิดอะไรขึ้นที่เฮติ ประเทศใกล้ล่มสลาย? หลังแก๊งอาชญากรครองเมือง

Loading

‘เฮติ’ ประเทศเล็ก ๆ แถบทะเลแคริบเบียน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสหรัฐอเมริกาไม่ถึง 700 ไมล์ (ราว 1,120 กิโลเมตร) กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่สงบทางการเมือง หลังจากแก๊งอาชญากรเดินหน้าใช้กำลังความรุนแรง พร้อมเรียกร้องให้ผู้นำ เฮติ ก้าวลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นสืบสวนการโจมตีทางไซเบอร์โดยโสมแดง 58 ครั้ง

Loading

คณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังเดินหน้าสอบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์หลายสิบครั้งโดยเกาหลีเหนือที่เชื่อว่า ช่วยกรุงเปียงยางหาเงินได้หลายพันล้านดอลลาร์ที่น่าจะนำไปใช้ผลักดันโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

ศาลฝรั่งเศสออกหมายจับผู้นำซีเรีย โยงการใช้อาวุธเคมีกับพลเรือน

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ว่าศาลคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติของฝรั่งเศสออกหมายจับ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรีย ฐานมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสมคบคิดกับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ด้วยการใช้อาวุธเคมีกับพลเรือน ในเขตชานกรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2556 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 ราย

‘นากอร์โน – คาราบัค’ ปัญหา 1 ศตวรรษยังไม่จบ

Loading

เมื่อ 100 ปีที่แล้ว รัฐบาลสหภาพโซเวียตสถาปนา “เขตปกครองตนเองนากอร์โน – คาราบัค” ซึ่งพลเมืองประมาณ 3 ใน 4 มีเชื้อสายอาร์เมเนีย ให้อยู่ภายในอาณาเขตของอาเซอร์ไบจาน แม้การสู้รบระหว่างกองกำลังชาติพันธุ์ของทั้งฝ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้น แต่รัฐบาลของสหภาพโซเวียตสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ตลอด จนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลาย