เกาหลีเหนือลุยต่อยิง “มิสไซล์พิสัยใกล้” วันอาทิตย์ไปทางตะวันออกก่อนตกกระทบเป้าหมาย ส่วน “กัมพูชา” คึกคักได้ “จีน” ซ้อมรบร่วม “ทหาร 3 พัน-ยานยนต์กว่า 300 ร่วม”

Loading

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – เปียงยางวันอาทิตย์ (19 มี.ค.) ยิงมิสไซล์พิสัยใกล้เช้าวันอาทิตย์ (19 มี.ค.) จาก Dongchang-ri ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศ ก่อนมุ่งหน้าไปทางชายฝั่งตะวันออกก่อนตกกระทบเป้าหมาย ตอบโต้สหรัฐฯ ฝึกซ้อมร่วมโซล ด้านปักกิ่งเตรียมเปิดฉากปฏิบัติการมังกรทอง 2023 ซ้อมรบร่วมกับกัมพูชา กระหึ่มทหารเข้าร่วมถึง 3,000 นาย และยานยนต์อีก 300 คัน มีขึ้นช่วงปลายมีนาคม   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (19 มี.ค.) ว่า แถลงการณ์กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า เปียงยางยิงมิสไซล์พิสัยใกล้ หรือ SRBM เมื่อเวลา 11.05 น.ของวันอาทิตย์ (19) จากไซต์ตงชาง-รี (Dongchang-ri) ซึ่งเป็นศูนย์ยิงมิสไซล์พิสัยไกลทางตะวันตกของเกาหลีเหนือ ก่อนมุ่งหน้าสู่ชายฝั่งทางตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี   ในแถลงการณ์ระบุว่า มิสไซล์เดินทางไกลราว 800 กิโลเมตร ก่อนตกกระทบเป้าหมาย   ขณะเดียวกัน เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่นแถลงว่าทางกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นและหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นต่างรายงานตรงกันถึงสิ่งที่น่าจะเป็นมิสไซล์พิสัยใกล้   รอยเตอร์รายงานว่า…

สหรัฐฯ เผยรัสเซียสกัดโดรนสอดแนมตกในทะเลดำ

Loading

    สหรัฐฯ เผย เครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย เข้าสกัดโดรนสอดแนม MQ-9 REAPER ของกองทัพ จนตกในทะเลดำ เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติขึ้นอีกครั้ง   วันนี้ (15 มี.ค.2566) เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลไปทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อโดรนสอดแนมของสหรัฐฯ ตกในทะเลดำ โดยสหรัฐฯ ระบุว่ามีเครื่องบินรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นับว่าเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในสงครามยูเครน   การกระทบกระทั่งกันในลักษณะนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตามองสถานการณ์ในแถบนั้นวิตกมาตลอดว่าจะเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายและมีสหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้องในสมรภูมิอย่างโดยตรง   เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติมหาอำนาจขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางสงครามในยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน MQ-9 REAPER ของกองทัพ ถูกเครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย 2 ลำบินสกัดหลายครั้ง และทิ้งน้ำมันใส่โดรนและบินตัดหน้า ก่อนจะบินชนใบพัด จนส่งผลให้โดรนสอดแนมดังกล่าวตกในทะเลดำ   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่า การกระทำของเครื่องบินรัสเซียเป็นการสกัดที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นมืออาชีพและไม่ปลอดภัย   ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า โดรนลำนี้บินอยู่ในน่านฟ้าสากล…

หลุดแผนสหรัฐฯ ทำ IO ด้วย Deepfake หวังใช้เกลือจิ้มเกลือ

Loading

    สำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) รายงานข่าวอ้างว่ากลาโหมสหรัฐฯ มีแผนใช้ Deepfake หรือหน้าปลอมจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ   IO หรือ Information Operation เป็นปฏิบัติการทางความมั่นคงเพื่อใช้ต่อต้านข่าวกรองหรือต่อต้านการปล่อยข่าวด้วยข้อมูลจากภาครัฐที่ในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Internet Propaganda) อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวปลอมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command: SOCOM) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาจึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดีปเฟค (Deepfake) หรือการสร้างใบหน้าปลอมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาแก้ปัญหานี้   ในเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสำนักโซคอม (SOCOM) จากสำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) นั้นระบุว่า มีความพยายามในการเตรียมเทคโนโลยีดีปเฟคยุคใหม่ (Next-generation Deepfake) สำหรับการสร้างวิดีโอขึ้นมาเพื่อส่งข้อมูลและชักนำทางความคิดผ่านช่องทางสื่อสารนอกกระแส (Non-traditional Channel) โดยเล็งเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติซึ่งอาจอพยพเข้ามาหรือมีเชื้อชาติอื่นที่เป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกา   นอกจากนี้ยังมีแผนการรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดียและการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนแม่งานเพื่อการโต้ตอบข่าวลวงและข่าวปลอมจากต่างประเทศ   อย่างไรก็ตาม คริส เมเซอโรล (Chris Meserole) หัวหน้าสถาบันบรู๊คกิงส์เพื่อปัญญาประดิษฐ์และการริเริ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Brookings Institution’s Artificial Intelligence and Emerging Technology Initiative…

มาเหนือเมฆ! ‘บอลลูนสอดแนม’ ตัวเปิดเกมการทหารเฉียดอวกาศของกองทัพจีน

Loading

    โครงการระดับความสูงเหนือการบินพลเรือนที่แทบไม่เป็นที่สังเกตซึ่งนำพาบอลลูนสอดแนมจีน ตระเวนไปทั่วอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์นี้ กลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ แต่มีรายงานว่านี่เป็นเรื่องที่สื่อของทางการจีนเคยพูดถึงมานาน ในแง่ของการเสริมสร้างศักยภาพด้านการทหารของกองทัพจีน   ในรายงานของสื่อทางการจีนหลายฉบับ ย้อนกลับไปถึงช่วงปี 2011 เน้นนำเสนอการใช้บอลลูนสอดแนมในสิ่งที่สื่อทางการจีนรู้จักกันในชื่อ ‘ความสูงใกล้อวกาศ’ หรือ near space ซึ่งเป็นช่วงของระดับชั้นบรรยากาศที่สูงเกินว่าที่เครื่องบินทั่วไปจะบินได้ แต่ก็ต่ำเกินไปที่ดาวเทียมจะโคจรในชั้นบรรยากาศดังกล่าวได้ ในบทความแรก ๆ ที่นำเสนอเมื่อกว่าทศวรรษก่อนนี้ มีการเปิดเผยรายละเอียดของความสามารถของบอลลูนที่เครื่องบินรบสหรัฐฯ ยิงตกไปเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วย   เนื้อหาบางส่วนในบทความ Near Space – A Strategic Asset That Ought Not to be Neglected ของสื่อทางการจีน People’s Liberation Army Daily ที่เผยแพร่เมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 ระบุว่า “ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘ความสูงใกล้อวกาศ’ ได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งในสื่อต่างประเทศ ที่บรรดาผู้วิจารณ์ด้านการทหารระบุว่านี่คือชั้นบรรยากาศพิเศษที่ไม่ได้รับการใส่ใจโดยกองทัพ แต่ตอนนี้กำลังยกระดับเป็นพิกัดที่น่าสนใจขึ้นเรื่อย ๆ…

วิเคราะห์: ‘วัตถุปริศนา’ กระตุ้นสหรัฐฯ ยกระดับความมั่นคง

Loading

  ไม่กี่สัปดาห์มานี้ สหรัฐฯ ยิง 4 อากาศยานไม่ระบุประเภทที่เคลื่อนผ่านน่านฟ้าอเมริกาเหนือ ทั้งดินแดนสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งแม้ว่าการวิเคราะห์ซากชิ้นส่วนของอากาศยานเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบอยู่ แต่เรื่องนี้ได้สร้างความกังวลด้านความมั่นคงในอเมริกาเหนือรวมทั้งทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนตึงเครียดขึ้นอีก   อากาศยานทั้ง 4 มีอะไรบ้าง?   ประเด็นอากาศยานปริศนาเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม เมื่อบอลลูนขนาดใหญ่ของจีน ที่ทางการสหรัฐฯ เรียกว่าเป็นอากาศยานสอดแนม ลอยเหนือน่านฟ้าอเมริกันมาหลายวัน ก่อนสหรัฐฯ จะนำเครื่องบิน F-22 ยิงบอลลูนดังกล่าวตกไปนอกชายฝั่งรัฐเซาท์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งฝั่งจีนยืนกรานมาตลอดว่าบอลลูนนี้ใช้เพื่อการสำรวจสภาพอากาศ   ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน ระบุว่าบอลลูนยักษ์นี้มีขนาดเท่ากับรถบัส 3 คัน และมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน โดยมีเสาอากาศหลายต้น พร้อมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เพียงพอสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของเซนเซอร์เก็บข้อมูลด้านข่าวกรอง   หลังจากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ยิงอากาศยานไม่ระบุประเภท ที่พบทางตอนเหนือของรัฐอลาสกา ตามการเปิดเผยของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ “ภายในน่านฟ้าและน่านน้ำของสหรัฐฯ” แต่วัตถุชิ้นที่สองนี้ไม่มีระบบขับเคลื่อนหรือระบบควบคุมใด ๆ เลย   ต่อมาในวันที่…

ทั้งสอดแนม ทั้งแฮ็ก ทั้งขโมยข้อมูล สารพัดวิธีที่จีนล้วงความลับจากสหรัฐฯ

Loading

    หลายประเทศต่างก็สอดแนมกันและกันเป็นปกติ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นพันธมิตรกัน เช่น อังกฤษเคยสอดแนมเยอรมนีจากสถานทูตในกรุงเบอร์ลิน   บอลลูนที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบอลลูนสอดแนมจากจีนที่ลอยเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งยังสร้างความหวั่นเกรงต่อวิธีการล้วงข้อมูลประเทศคู่แข่งของจีน   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอพูดไว้เมื่อปี 2020 ว่า การสอดแนมของจีนเป็น “ภัยคุกคามระยะยาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเรา และต่อความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของเรา”   กระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุในแถลงการณ์ถึงสำนักข่าว AFP ว่า จีน “ต่อต้านอย่างเด็ดเดี่ยว” ต่อปฏิบัติการสอดแนม และข้อกล่าวหาของอเมริกา “มีพื้นฐานมาจากข้อมูลเท็จและเป้าหมายทางการเมืองที่เลวร้าย”   สหรัฐฯ เองก็มีวิธีสอดแนมจีนของตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคการสอดแนมและสกัดกั้น หรือเครือข่ายผู้ให้ข้อมูล   อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เผยเมื่อปี 2015 ว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน รับปากว่าจะไม่สอดแนมเกี่ยวกับการค้า ทว่า แถลงการณ์ของสหรัฐฯ หลังจากนั้นบ่งชี้ว่า จีนยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าว   และนี่คือวิธีการที่จีนใช้สอดแนมสหรัฐฯ   สงครามไซเบอร์   สหรัฐฯ เตือนไว้ในรายงานประจำปีว่าด้วยการประเมินข่าวกรองปี 2022 ว่า…