หลุดแผนสหรัฐฯ ทำ IO ด้วย Deepfake หวังใช้เกลือจิ้มเกลือ

Loading

    สำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) รายงานข่าวอ้างว่ากลาโหมสหรัฐฯ มีแผนใช้ Deepfake หรือหน้าปลอมจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างวิดีโอโฆษณาชวนเชื่อเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ   IO หรือ Information Operation เป็นปฏิบัติการทางความมั่นคงเพื่อใช้ต่อต้านข่าวกรองหรือต่อต้านการปล่อยข่าวด้วยข้อมูลจากภาครัฐที่ในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง (Internet Propaganda) อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวปลอมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations Command: SOCOM) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาจึงมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดีปเฟค (Deepfake) หรือการสร้างใบหน้าปลอมด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาแก้ปัญหานี้   ในเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสำนักโซคอม (SOCOM) จากสำนักข่าวดิอินเตอร์เซปต์ (The Intercept) นั้นระบุว่า มีความพยายามในการเตรียมเทคโนโลยีดีปเฟคยุคใหม่ (Next-generation Deepfake) สำหรับการสร้างวิดีโอขึ้นมาเพื่อส่งข้อมูลและชักนำทางความคิดผ่านช่องทางสื่อสารนอกกระแส (Non-traditional Channel) โดยเล็งเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติซึ่งอาจอพยพเข้ามาหรือมีเชื้อชาติอื่นที่เป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกา   นอกจากนี้ยังมีแผนการรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดียและการพูดคุยบนอินเทอร์เน็ตบนพื้นที่สาธารณะด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนแม่งานเพื่อการโต้ตอบข่าวลวงและข่าวปลอมจากต่างประเทศ   อย่างไรก็ตาม คริส เมเซอโรล (Chris Meserole) หัวหน้าสถาบันบรู๊คกิงส์เพื่อปัญญาประดิษฐ์และการริเริ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Brookings Institution’s Artificial Intelligence and Emerging Technology Initiative…

มาเหนือเมฆ! ‘บอลลูนสอดแนม’ ตัวเปิดเกมการทหารเฉียดอวกาศของกองทัพจีน

Loading

    โครงการระดับความสูงเหนือการบินพลเรือนที่แทบไม่เป็นที่สังเกตซึ่งนำพาบอลลูนสอดแนมจีน ตระเวนไปทั่วอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์นี้ กลายเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ แต่มีรายงานว่านี่เป็นเรื่องที่สื่อของทางการจีนเคยพูดถึงมานาน ในแง่ของการเสริมสร้างศักยภาพด้านการทหารของกองทัพจีน   ในรายงานของสื่อทางการจีนหลายฉบับ ย้อนกลับไปถึงช่วงปี 2011 เน้นนำเสนอการใช้บอลลูนสอดแนมในสิ่งที่สื่อทางการจีนรู้จักกันในชื่อ ‘ความสูงใกล้อวกาศ’ หรือ near space ซึ่งเป็นช่วงของระดับชั้นบรรยากาศที่สูงเกินว่าที่เครื่องบินทั่วไปจะบินได้ แต่ก็ต่ำเกินไปที่ดาวเทียมจะโคจรในชั้นบรรยากาศดังกล่าวได้ ในบทความแรก ๆ ที่นำเสนอเมื่อกว่าทศวรรษก่อนนี้ มีการเปิดเผยรายละเอียดของความสามารถของบอลลูนที่เครื่องบินรบสหรัฐฯ ยิงตกไปเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาด้วย   เนื้อหาบางส่วนในบทความ Near Space – A Strategic Asset That Ought Not to be Neglected ของสื่อทางการจีน People’s Liberation Army Daily ที่เผยแพร่เมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 ระบุว่า “ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘ความสูงใกล้อวกาศ’ ได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งในสื่อต่างประเทศ ที่บรรดาผู้วิจารณ์ด้านการทหารระบุว่านี่คือชั้นบรรยากาศพิเศษที่ไม่ได้รับการใส่ใจโดยกองทัพ แต่ตอนนี้กำลังยกระดับเป็นพิกัดที่น่าสนใจขึ้นเรื่อย ๆ…

วิเคราะห์: ‘วัตถุปริศนา’ กระตุ้นสหรัฐฯ ยกระดับความมั่นคง

Loading

  ไม่กี่สัปดาห์มานี้ สหรัฐฯ ยิง 4 อากาศยานไม่ระบุประเภทที่เคลื่อนผ่านน่านฟ้าอเมริกาเหนือ ทั้งดินแดนสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งแม้ว่าการวิเคราะห์ซากชิ้นส่วนของอากาศยานเหล่านี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบอยู่ แต่เรื่องนี้ได้สร้างความกังวลด้านความมั่นคงในอเมริกาเหนือรวมทั้งทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนตึงเครียดขึ้นอีก   อากาศยานทั้ง 4 มีอะไรบ้าง?   ประเด็นอากาศยานปริศนาเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม เมื่อบอลลูนขนาดใหญ่ของจีน ที่ทางการสหรัฐฯ เรียกว่าเป็นอากาศยานสอดแนม ลอยเหนือน่านฟ้าอเมริกันมาหลายวัน ก่อนสหรัฐฯ จะนำเครื่องบิน F-22 ยิงบอลลูนดังกล่าวตกไปนอกชายฝั่งรัฐเซาท์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งฝั่งจีนยืนกรานมาตลอดว่าบอลลูนนี้ใช้เพื่อการสำรวจสภาพอากาศ   ด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือ เพนตากอน ระบุว่าบอลลูนยักษ์นี้มีขนาดเท่ากับรถบัส 3 คัน และมีน้ำหนักมากกว่า 1 ตัน โดยมีเสาอากาศหลายต้น พร้อมแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่เพียงพอสำหรับเป็นแหล่งพลังงานของเซนเซอร์เก็บข้อมูลด้านข่าวกรอง   หลังจากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เครื่องบินขับไล่ของสหรัฐฯ ยิงอากาศยานไม่ระบุประเภท ที่พบทางตอนเหนือของรัฐอลาสกา ตามการเปิดเผยของกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่าอยู่ “ภายในน่านฟ้าและน่านน้ำของสหรัฐฯ” แต่วัตถุชิ้นที่สองนี้ไม่มีระบบขับเคลื่อนหรือระบบควบคุมใด ๆ เลย   ต่อมาในวันที่…

ทั้งสอดแนม ทั้งแฮ็ก ทั้งขโมยข้อมูล สารพัดวิธีที่จีนล้วงความลับจากสหรัฐฯ

Loading

    หลายประเทศต่างก็สอดแนมกันและกันเป็นปกติ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นพันธมิตรกัน เช่น อังกฤษเคยสอดแนมเยอรมนีจากสถานทูตในกรุงเบอร์ลิน   บอลลูนที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบอลลูนสอดแนมจากจีนที่ลอยเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งยังสร้างความหวั่นเกรงต่อวิธีการล้วงข้อมูลประเทศคู่แข่งของจีน   คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอพูดไว้เมื่อปี 2020 ว่า การสอดแนมของจีนเป็น “ภัยคุกคามระยะยาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเรา และต่อความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของเรา”   กระทรวงการต่างประเทศของจีนระบุในแถลงการณ์ถึงสำนักข่าว AFP ว่า จีน “ต่อต้านอย่างเด็ดเดี่ยว” ต่อปฏิบัติการสอดแนม และข้อกล่าวหาของอเมริกา “มีพื้นฐานมาจากข้อมูลเท็จและเป้าหมายทางการเมืองที่เลวร้าย”   สหรัฐฯ เองก็มีวิธีสอดแนมจีนของตัวเองเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคการสอดแนมและสกัดกั้น หรือเครือข่ายผู้ให้ข้อมูล   อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เผยเมื่อปี 2015 ว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีน รับปากว่าจะไม่สอดแนมเกี่ยวกับการค้า ทว่า แถลงการณ์ของสหรัฐฯ หลังจากนั้นบ่งชี้ว่า จีนยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าว   และนี่คือวิธีการที่จีนใช้สอดแนมสหรัฐฯ   สงครามไซเบอร์   สหรัฐฯ เตือนไว้ในรายงานประจำปีว่าด้วยการประเมินข่าวกรองปี 2022 ว่า…

สหรัฐฯ ชี้แจงทูต 40 ประเทศ ยันบอลลูนจีนคือ ‘เรือเหาะสอดแนม’ ที่กองทัพจีนควบคุม

Loading

    สหรัฐฯ เชิญนักการทูตจาก 40 ประเทศทั่วโลกร่วมรับฟังการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และกรุงปักกิ่ง โดยชี้แจงกรณี “บอลลูนสอดแนมจีน” ที่รุกล้ำเข้าน่านฟ้าสหรัฐฯ และถูกเครื่องบินขับไล่ยิงตกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (4 ก.พ.)   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า เวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แถลงสรุปสถานการณ์ต่อบรรดานักการทูตเกือบ 150 คนจาก 40 ประเทศเมื่อวันจันทร์ (6) ส่วนที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง ได้มีการเชิญทูตต่างชาติเข้ารับฟังข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเมื่อวันจันทร์ (6) และวันอังคาร (7)   “เราต้องการแชร์ข้อมูลที่เรามีอยู่ให้มากที่สุดกับประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจเสี่ยงเผชิญภัยคุกคามจากปฏิบัติการในลักษณะนี้เช่นกัน” เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าว   ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังได้ส่งข้อมูลไปยังคณะทูตอเมริกันทั่วโลก เพื่อนำไปแชร์ต่อให้ชาติพันธมิตรและหุ้นส่วน   การพบเห็นบอลลูนสอดแนมจีนเหนือท้องฟ้าสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้กระพือเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในวอชิงตัน และยังทำให้ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต้องยกเลิกกำหนดการเยือนจีน ซึ่งเดิมทีเขาควรจะเดินทางถึงปักกิ่งในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ.   กองทัพอากาศสหรัฐฯ…

วิเคราะห์: อาวุธใหม่ ‘จรวดติดจีพีเอส’ จะเปลี่ยนทิศทางสงครามยูเครนอย่างไร?

Loading

    สหรัฐฯ เตรียมจัดส่งความช่วยเหลือทางทหารรอบใหม่ให้แก่ยูเครน ด้วยจรวดที่สามารถโจมตีในระยะไกลลึกเข้าไปในเขตแนวหน้าของรัสเซีย ซึ่งทำให้รัสเซียอาจต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อรับมืออาวุธชนิดใหม่นี้   อาวุธดังกล่าวเรียกว่าระเบิดนำวิถีขนาดเล็กที่ยิงจากภาคพื้นดิน (Ground Launched Small Diameter Bomb) หรือ GLSDB ซึ่งมีระยะยิงได้ไกล 150 กิโลเมตร ไกลกว่าระบบยิงจรวด High Mobility Artillery Rocket System (HIMARS) ของสหรัฐฯ ที่ยูเครนใช้อยู่ในขณะนี้ราวสองเท่า ซึ่งหมายความว่าจะสามารถโจมตีได้ถึงเส้นทางขนส่งเสบียงของกองทัพรัสเซียในภาคตะวันออกของยูเครน รวมทั้งบางส่วนของแคว้นไครเมีย     ยูเครนเชื่อว่า อาวุธใหม่นี้จะกดดันให้รัสเซียต้องถอยเส้นทางขนส่งเสบียงไปไกลจากแนวหน้ามากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้กองทัพรัสเซียอ่อนแอลงและยังเพิ่มความยากลำบากให้แก่รัสเซียในการโจมตีรอบใหม่ด้วย   แอนเดรีย ซาโกรอดเนียค อดีตรัฐมนตรีกลาโหมยูเครน เชื่อว่า “ระบบยิงจรวดแบบใหม่อาจทำให้การรุกคืบของรัสเซียช้าลงมาก และจะส่งผลกระทบต่อทิศทางของสงครามครั้งนี้ยิ่งกว่าที่ระบบ HIMARS เคยส่งผลมาแล้ว”   GLSDB คือระเบิดนำวิถีแบบร่อนที่ใช้จีพีเอสนำทาง สามารถสั่งการโจมตีเป้าหมายที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น ศูนย์บัญชาการรบ ผลิตโดยบริษัทซาบ เอบี (SAAB AB) และ โบอิ้ง…