สหรัฐฯ พร้อมแค่ไหน ในการต่อสู้ ‘สงครามไซเบอร์’ กับรัสเซีย?

Loading

USA-CYBER/ ในแต่ละวัน สหรัฐฯ ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้านไซเบอร์ ซึ่งบางส่วนมีต้นกำเนิดมาจากรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญมองว่าหากความตึงเครียดระหว่างกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโคว์เกี่ยวกับสงครามในยูเครนพุ่งสูงขึ้น ผู้นำรัสเซียอาจจะสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์แบบเต็มรูปแบบที่อาจจะทำลายระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของอเมริกาได้ การที่ประเทศโลกตะวันตกประสานงานกันอย่างดีและนำเอามามาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจมาใช้กับรัสเซียอย่างรวดเร็ว หลังการบุกรุกยูเครนนั้น ได้ทำให้ระบบการเงินของรัสเซียทรุดลงไปมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์มองว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน อาจจะใช้วิธีที่รัสเซียเชี่ยวชาญที่สุด นั่นก็คือ การทำสงครามไซเบอร์ (Cyber Attack) เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ซึ่งเป็นโต้โผในการระดมให้ประเทศโลกตะวันตกลงโทษรัสเซียอย่างพร้อมเพียงและยังเป็นผู้ส่งอาวุธให้ยูเครนอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า การทำสงครามไซเบอร์ ซึ่งเป็นการโจมตีคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น อาจจะน่ากลัวกว่าการทำสงครามที่ใช้อาวุธทั่วไปเสียด้วยซ้ำ แต่หากถามว่า สหรัฐฯ มีความพร้อมแค่ไหนในการเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามทางไซเบอร์นั้น ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก นิโคลาส ไชลาน (Nicolas Chaillan) อดีตเจ้าหน้าที่หัวหน้างานด้านซอฟท์แวร์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ 6 ปีก่อน เพื่อช่วยต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับระหว่างประเทศนั้น กล่าวว่าตั้งแต่เขาทำงานให้รัฐบาลสหรัฐฯ เขารู้สึกผิดหวังในความสามารถของอเมริกาในการปกป้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตัวเอง “สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการโจมตีทางไซเบอร์ ดังนั้นเราจึงมีความสามารถในการโจมตีเป็นอย่างดี แต่ความสามารถในการตั้งรับหรือป้องกันตัวของเรานั้นยังอ่อนแอมาก เทียบได้กับระดับอนุบาล” ไชลานกล่าว   FILE – This Sept. 16, 2016, file photo…

สหรัฐฯ คุมอาวุธปืนญี่ปุ่นได้ แต่คุมคนในประเทศตนเองไม่ได้

Loading

  “คนอเมริกันแปลกใจญี่ปุ่นแทบไม่มีความรุนแรงเกี่ยวกับปืนเลย และที่น่าแปลกใจกว่านั้นก็คือ ญี่ปุ่นได้อานิสงส์จากกฎหมายอาวุธปืนที่สหรัฐฯ ควบคุมเข้มงวดตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” ซีบีเอสนิวส์ รายงาน (6 มิ.ย.) ในขณะที่การอภิปรายเรื่องการควบคุมอาวุธปืนของสหรัฐฯ กำลังทวีความรุนแรงขึ้น ชาวอเมริกันบางคนกำลังมองหาแนวคิดที่จะป้องกันการกราดยิงในประเทศอื่นๆ ญี่ปุ่นมีอัตราความรุนแรงจากอาวุธปืนต่ำที่สุดในโลก ในปี 2019 สหรัฐอเมริกา มีอัตราการเสียชีวิตด้วยอาวุธปืน สัดส่วน 4 คน/ต่อประชากร 100,000 คน เมื่อเทียบกับเกือบศูนย์ในญี่ปุ่น ล่าสุดข้อมูลจาก worldpopulationreview พบว่า ในปี 2022 นี้ ในสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืน 40,175 คน หรือสัดส่วน 12.21 ต่อประชากรแสนคน CBS News รายงานว่า กฎหมายที่เข้มงวดของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนส่วนตัวมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ครั้งสหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายควบคุมการครอบครองอาวุธปืนและดาบ (銃砲刀剣類所持等取締法) นี้เป็นกฎหมายของญี่ปุ่นปี 1958 ที่เกี่ยวกับอาวุธปืน (และชิ้นส่วนอาวุธปืน/กระสุน) และอาวุธที่มีใบมีด ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นในปี 1958 และแก้ไขหลายครั้ง พื้นหลังเดิมนั้นการควบคุมปืนและดาบเริ่มขึ้นในญี่ปุ่นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ เพื่อปลดอาวุธชาวนาและควบคุมการลุกฮือต่อต้านการปกครอง ตั้งแต่นั้นมา…

สหรัฐฯ เตือนคนไอทีเกาหลีเหนือปลอมเป็นคนชาติอื่น รับงานไอที เขียนแอปมือถือ , แพลตฟอร์มคริปโต , ซัพพอร์ต

Loading

  กระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Department of Treasury) ออกประกาศแจ้งเตือนว่า เกาหลีเหนือกำลังส่งออกแรงงานไอทีนับพันคน รับงานบริษัทต่างชาติโดยปิดบังสัญชาติที่แท้จริงของคนทำงานเพื่อหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรสหรัฐฯ แรงงานไอทีเหล่านี้มักมีฐานรับงานอยู่นอกเกาหลีเหนือ เช่น จีน , รัสเซีย , บางส่วนอยู่ในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยการปลอมแปลงเอกสารประจำตัวว่าเป็นคนจีน , เกาหลีใต้ , ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังตั้งบริษัทนอกเกาหลีเหนือเพื่อบังหน้า งานที่แรงงานไอทีจากเกาหลีเหนือรับงานมีหลากหลาย เช่น การพัฒนาแอปและเว็บ , สร้างแพลตฟอร์มเงินดิจิทัล , ให้บริการไอทีซัพพอร์ต , ทำกราฟิก/อนิเมชั่น , พัฒนาเกม , สร้างแพลตฟอร์มพนันออนไลน์, ระบบปัญญาประดิษฐ์ , งานพัฒนาฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์ โดยเกาหลีเหนือลงทุนกับการพัฒนาบุคลากรไอทีอย่างหนัก คาดว่าในช่วงรัฐบาลคิมจองอึนมีนักเรียนด้านไอทีจบจากมหาวิทยาลัยในเกาหลีเหนือมาแล้วประมาณ 30,000 คน แรงงานเหล่านี้รับงานที่ในลักษณะฟรีแลนซ์ที่ได้รายได้สูง บางคนอาจจะมีรายได้ถึงปีละ 300,000 ดอลลาร์หรือกว่าสิบล้านบาท บางทีมรับงานได้ปีละ 3 ล้านดอลลาร์หรือร้อยล้านบาทเลยทีเดียว แม้ว่าแรงงานเหล่านี้จะทำงานจริง และดูไม่ได้มุ่งร้ายกับองค์กรที่ไปรับงานนัก แต่ประกาศก็เตือนว่าแรงงานเหล่านี้เป็นแหล่งรายได้ให้รัฐบาลเกาหลีเหนือไปพัฒนาอาวุธ และการจ้างแรงานเหล่านี้เป็นการละเมิดการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มา – Department…

สหรัฐฯเร่งส่งทีมไซเบอร์หนุนลิทัวเนียต้านภัยคุกคามรัสเซีย

Loading

  พลตรีโจ ฮาร์ตแมน ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการไซเบอร์แห่งกองทัพสหรัฐ (U.S. Cyber National Mission Force) เผยว่า ขณะนี้สหรัฐฯได้เร่งส่งกองทัพไซเบอร์เข้าสนับสนุนลิทัวเนียในการป้องกันการโจมตีทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครน พลตรีฮาร์ตแมนให้สัมภาษณ์นักข่าวที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ว่าการส่งกำลังพลดังกล่าวไปยังลิทัวเนียครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤตที่ยูเครนกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปฏิบัติการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Hunt forward mission) เป็นการส่งกองกำลังไซเบอร์ไปยังประเทศต่าง ๆ ตามที่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯได้ขอความร่วมมือ เพื่อสอดส่องดูแลเครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความยืดหยุ่น และแบ่งปันข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับภัยคุกคาม โดยภาครัฐและเอกชนจะส่งข้อมูลกลับไปวิเคราะห์ที่สหรัฐฯ ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการฯ เพิ่มเติมว่า ปฎิบัติการในลิทัวเนียเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยเร็ว เนื่องจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากรัสเซียส่งผลต่อกลุ่มประเทศบอลติกและองค์กรอื่น ๆ ในภูมิภาค พลตรีฮาร์ตแมนยังเสริมอีกว่า สหรัฐฯเริ่มปฏิบัติการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงตอนนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 28 ภารกิจใน 16 ประเทศ โดยวางเครือข่ายมากกว่า 50 เครือข่าย ปัจจุบันประเทศเอสโตเนีย , มอนเตเนโกร , มาซิโดเนียเหนือ และยูเครนเป็นประเทศที่ประกาศตนอย่างชัดเจนในการให้ความร่วมมือกับปฏิบัติการนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 พ.ค. 65)…

สหรัฐฯ พบ รัสเซียใช้โลมาฝึกในทะเลดำ คาดใช้ป้องกันกองเรือจากการโจมตีใต้น้ำ

Loading

  จากการรายงานการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า รัสเซียได้นำโลมาที่ได้รับการฝึกทางการทหารมาประจำการในฐานทัพเรือของตนเองบริเวณทะเลดำ โดยสหรัฐฯ คาดว่าอาจเป็นความพยายามในการใช้โลมาเพื่อปกป้องกองเรือของตนเองจากการโจมตีใต้น้ำ สถาบันกองทัพเรือสหรัฐฯ (USNI) เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมฐานทัพเรือบริเวณท่าเรือเซวาสโตโปล ก่อนจะชี้ให้เห็นภาพของโลมาสองจุดที่ถูกเคลื่อนย้ายมายังฐานทัพ ตั้งแต่ช่วงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียเมื่อช่วง ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัสเซียเคยมีประวัติการฝึกหัดโลมาทางการทหาร เพื่อใชhโลมาในการทำภารกิจกู้วัตถุหรือขัดขวางนักดำน้ำของศัตรู ฐานทัพเรือเซวาสโตโปลตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของไครเมีย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของรัสเซียที่ยึดมาจากยูเครนตั้งแต่ปี 2557 โดยจากการวิเคราะห์ของสถาบันกองทัพเรือสหรัฐฯ เผยว่า มีเรือรัสเซียหลายลำที่จอดอยู่ที่นั่น แม้ว่าฐานทัพนี้จะอยู่นอกระยะยิงขีปนาวุธ และมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกโจมตีใต้ทะเลได้ก็ตาม ยูเครนเองก็เคยมีการฝึกโลมาในทางการทหารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสถานเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณใกล้กันกับเซวาสโตโปล ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยยุคสหภาพโซเวียต โลมายังถูกใช้ในทางยุทธวิธีกองทัพเรือทั้งในสหรัฐฯ และโซเวียตตลอดช่วงสงครามเย็น โดยโลมาที่ถูกฝึกจะสามารถตรวจหาวัตถุใต้น้ำได้ โดยเฉพาะทุ่นระเบิด ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้มีการใช้งบประมาณ 28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 960 ล้านบาท) ในการฝึกโลมาและสิงโตทะเล ที่สามารถนำมาเรียนรู้ยุทธวิธีทางการทหารของมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้อาจจะถูกนำมาใช้กับภารกิจในสงครามยูเครนในตอนนี้ได้ อย่างไรก็ดี ยูเครนรื้อฟื้นการฝึกโลมาทางการทหารขึ้นมาอีกครั้งเมื่อปี 2555 ก่อนที่โลมาทั้งหมดจะตกไปเป็นของรัสเซียในปี 2557 จากการเข้ายึดไครเมีย โดยรัสเซียไม่ยอมส่งคืนโลมาให้กับทางยูเครน แต่กลับขยายโครงการการฝึกต่อเนื่อง “ผู้เชี่ยวชาญของเราได้พัฒนาอุปกรณ์ใหม่ที่แปลงการตรวจจับโซนาร์ใต้น้ำของโลมา ให้เป็นสัญญาณส่งไปยังจอภาพของผู้ปฏิบัติงาน กองทัพเรือยูเครนขาดเงินทุนสำหรับความรู้ดังกล่าว และบางโครงการต้องถูกระงับ” แหล่งข่าวระบุกับทางสำนักข่าวของรัสเซีย…

สหรัฐหวั่นอาวุธที่ส่งไปช่วยยูเครนหลุดไปอยู่ในมือฝ่ายอื่น

Loading

  แม้แต่สหรัฐฯเองก็สุดจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับอาวุธมหาศาลที่ส่งไปช่วยยูเครน แหล่งข่าวหลายรายเผยกับ CNN ว่า สหรัฐฯ มีหนทางติดตามอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งขีปนาวุธต่อต้านรถถัง ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน ที่ส่งไปสนับสนุนยูเครนเพียงไม่กี่วิธี สาเหตุหลักเป็นเพราะสหรัฐฯ ไม่มีทหารอยู่ในยูเครน ขณะที่ระบบอาวุธชิ้นเล็กๆ ที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายกำลังหลั่งไหลเข้าไปในยูเครนอย่างต่อเนื่อง แต่มันคือความเสี่ยงที่รัฐบาลไบเดนเต็มใจจะเสี่ยง ในระยะสั้นสหรัฐฯ มองว่าการส่งอาวุธมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐสำคัญอย่างยิ่งต่อศักยภาพของยูเครนในการสู้กับการรุกรานของรัสเซีย ทั้งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และนักวิเคราะห์ด้านกลาโหมมองว่า ความเสี่ยงอยู่ที่ระยะยาว อาวุธเหล่านั้นบางส่วนอาจตกอยู่ในมือของกองทัพและกองกำลังติดอาวุธอื่นๆ ที่สหรัฐฯไม่ได้ตั้งใจจะส่งมอบอาวุธให้ แหล่งข่าวรายหนึ่งที่ได้รับการบรรยายสรุปข่าวกรองของสหรัฐฯ เผยกับ CNN ว่า “เรามีความซื่อสัตย์ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่เมื่อเข้าสู่เมฆหมอกแห่งสงคราม เราแทบจะไม่มีเลย มัน (อาวุธ) ตกลงไปในหลุมดำขนาดใหญ่ และไม่นานจากนั้นคุณแทบจะไม่รับรู้เกี่ยวกับมันเลย” CNN ระบุว่า เจ้าหน้าที่กลาโหมรายหนึ่งเผยว่า ในการตัดสินใจที่จะส่งอาวุธและอุปกรณ์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ไปยังยูเครน ฝ่ายบริหารของไบเดนได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่ในท้ายที่สุดอาวุธบางส่วนอาจไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่คาดคิด แต่ขณะนี้ฝ่ายบริหารมองว่าการจัดหาอาวุธให้ยูเครนไม่เพียงพอเป็นความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากกองทัพสหรัฐฯไม่ได้เข้าไปในยูเครน ดังนั้นสหรัฐฯและนาโตจึงต้องพึ่งพาข้อมูลจากรัฐบาลยูเครนเป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเจ้าหน้าที่หลายคนทราบดีว่า ยูเครนมีแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูลเฉพาะที่จะช่วยสนับสนุนให้ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับอาวุธมากขึ้น และความช่วยเหลือทางการทูตมากขึ้น เจ้าหน้าที่อีกรายหนึ่งที่เชี่ยวชาญข่าวกรองตะวันตกเผยว่า “มันคือสงคราม ทุกสิ่งที่พวกเขาทำและพูดในที่สาธารณะล้วนมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้พวกเขาชนะสงคราม แถลงการณ์ต่อสาธารณทุกฉบับคือปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร ทุกการให้สัมภาษณ์ ทุกการปรากฏตัวออกอากาศของเซเลนสกีคือปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาทำผิดแต่อย่างใด” CNN ระบุว่า ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและตะวันตกได้แบ่งปันข้อมูลต่างๆ…