สหรัฐฯ วางแผนตัดท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มมัลแวร์

Loading

  แหล่งข่าวภายในระบุว่ารัฐบาลโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา กำลังวางแผนตัดตอนแหล่งเงินทุนของกลุ่มอาชญากรทางไซเบอร์ที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่เป็นเครื่องมือหากิน โดยในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ กระทรวงการคลังวางจะออกมาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลหรือองค์กรแห่งหนึ่งในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนของกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ นอกจากนี้ ทางสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control) จะส่งมอบแนวปฏิบัติฉบับปรับปรุงที่จะแนะนำวิธีเลี่ยงการละเมิดกฎหมายในกรณีมีการจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับกลุ่มอาชญากรทางไซเบอร์ให้แก่บริษัทต่าง ๆ ที่มา CNN   ———————————————————————————————————————————————— ที่มา : Baertai       / วันที่เผยแพร่   19 ก.ย.2564 Link : https://www.beartai.com/category/news

สหรัฐฯ พร้อมเปิดรับชาติยุโรปเสริมความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิก

Loading

  นานาชาติจับตาความร่วมมือทางการทหารครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยทั้งสองชาติ ประกาศจะมอบเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำที่ทำไว้ร่วมกับฝรั่งเศสสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และล่าสุดสหรัฐฯ เผยยังคงเปิดรับทุกโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับชาติยุโรป ภาพการแถลงข่าวของสามผู้นำประเทศ ได้แก่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโครงการที่ชื่อว่า ออคัส ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีควอนตัม และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารขั้นสูงที่สุด นั่นคือ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์     หลังการประกาศความร่วมมือทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียออกมามีหลายประเทศไม่พอใจ เช่น จีน ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ อย่างฝรั่งเศสออกมาแสดงความหงุดหงิดด้วย ฟลอเรนส์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเปิดแถลงข่าวทันที ระบุว่า เหมือนถูกแทงข้างหลัง เหตุใดฝรั่งเศสจึงไม่พอใจ เพราะก่อนหน้านี้ คื อเมื่อปี 2016 ออสเตรเลียตกลงและทำสัญญากับฝรั่งเศสไว้แล้ว ว่าจะให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำให้ 12…

ตำรวจตรึงกำลังรอบรัฐสภาสหรัฐ หลังม็อบหนุน “ทรัมป์” ชุมนุมประท้วงเหตุจลาจล 6 ม.ค.

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงราว 100-200 คนรวมตัวกันบริเวณอาคารรัฐสภาของสหรัฐเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังอย่างแน่นหนา โดยมีสื่อมวลชนเฝ้าสังเกตการณ์อยู่โดยรอบ รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มผู้ที่ออกมาชุมนุมในครั้งนี้เป็นกลุ่มขวาจัดที่ต้องการสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2563 ทั้งนี้ ผู้ที่มาร่วมชุมนุมนั้นมีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้จัดงานคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะมีราว 700 คน การออกมาชุมนุมในครั้งนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Justice for J6” เป็นความพยายามของฝ่ายขวาจัดที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยผู้ปราศรัยได้ยืนยันว่า ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากเหตุจลาจลเมื่อวันที่ 6 ม.ค.นั้นเป็น “นักโทษทางการเมือง” ซึ่งไม่ได้ก่อความรุนแรง “ประเด็นนี้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย” นายแมตต์ เบรย์นาร์ด แกนนำการชุมนุมและผู้สนับสนุนคำกล่าวอ้างซึ่งระบุว่า การที่อดีตปธน.ทรัมป์พ่ายแพ้เลือกตั้งนั้นเพราะมีการโกงเกิดขึ้น ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายได้ตรึงกำลังรอบอาคารรัฐสภา และนำรั้วสูง 2.44 เมตรมาติดตั้งรอบอาคารอีกครั้ง เนื่องจากไม่น่าไว้วางใจในสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การเกิดเหตุซ้ำรอยเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ขณะที่ตำรวจประจำอาคารรัฐสภาระบุว่า ได้จับกุมบุคคล 4 ราย โดยหนึ่งในนั้นมีชายคนหนึ่งที่พกปืนปะปนเข้ามาในฝูงชน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดชายคนดังกล่าวจึงเข้ามายังที่ชุมนุม นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้แยกชายคนหนึ่งซึ่งพกมีดขนาดใหญ่เหน็บไว้ที่เอวออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย   —————————————————————————————————————————————– ที่มา :…

สหรัฐฯ UK ออสเตรเลีย ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคง ‘Aukus’ คานอำนาจจีน

Loading

  รบ.สหรัฐฯ UK และออสเตรเลีย ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ Aukus หวังคานอำนาจจีน โดยสหรัฐฯ และ UK จะช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ให้กับออสเตรเลียเป็นลำแรก เมื่อ 16 ก.ย. 64 บีบีซีรายงาน รัฐบาลสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร (UK) จับมือออสเตรเลีย ผนึกกำลังสร้างความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกาศสนธิสัญญาความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ ภายใต้ชื่อ ‘Aukus’ เพื่อคานอำนาจจีน ภายใต้สนธิสัญญานี้ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะครอบคลุมทั้งในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีต่างๆ ด้านการทหาร การป้องกันทางไซเบอร์ และการคำนวณควอนตัม โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร จะช่วยเหลือออสเตรเลียในเรื่องเทคโนโลยีในการสร้างเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์เป็นลำแรกของประเทศออสเตรเลีย เพื่อสร้างกองเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ ที่จะประกอบด้วยเรือดำน้ำอย่างน้อย 8 ลำ สำหรับการประกาศจับมือในสนธิสัญญาประวัติศาสตร์ ‘Aukus’ ของ 3 ประเทศผ่านการประชุมทางไกล เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งสหราชอาณาจักร และนายสกอตต์ มอร์ริสัน…

ตาลีบันกร้าว จะล้างแค้นสหรัฐฯ หลังเจอ “คุกลับ”

Loading

  พวกนักรบตาลีบัน ที่เข้าไปดู “คุกลับ” ในเมืองบากรัม ที่เป็นศูนย์ควบคุมนักโทษที่ใหญ่ที่สุดในอัฟกานิสถาน พากันโกรธแค้นเมื่อเห็นสภาพแวดล้อม ก็รู้ได้ทันทีถึงความเป็นอยู่ของคนที่ถูกคุมขัง ที่ต้องโดนทรมานโดยปราศจากการดำเนินคดีตามกฎหมาย นักรบตาลีบัน ที่เข้าไปยัง “คุกลับ” ภายในฐานทัพอากาศของสหรัฐฯ ในเมืองบากรัม ที่ตอนนี้ถูกทิ้งร้าง หลังจากเคยได้ชื่อว่าเป็นศูนย์การทรมานและกักขังนักโทษโดยไม่มีการส่งตัวไปเข้ารับการพิจารณาคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ และกองทัพอัฟกันในสมัยรัฐบาลชุดเดิม โดยคุกลับแห่งนี้ ยังถูกเปรียบเทียบว่า  ไม่ต่างจากเรือนจำที่อ่าวกวนตานาโมของคิวบา ซึ่งนักโทษที่นั่นก็ถูกจองจำ ถูกทรมานเพื่อรีดข้อมูลเช่นกัน     Sky News รายงานว่า คุกลับที่บากรัมถูกพบในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังตาลีบันยึดกรุงคาบูล ทำให้นักโทษพากันหนีออกมา ส่วนคนที่ไม่สามารถออกมาได้ด้วยตัวเอง ได้รับการช่วยเหลือจากตาลีบัน รวมทั้งคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม ISIS-K     ภายในคุกลับ ยังหลงเหลือที่นอนเรียงอยู่ในห้องขัง ของใช้ส่วนตัวที่กระจายอยู่ตามพื้นเฟอร์นิเจอร์ชำรุดและแฟ้มของอดีตผู้ต้องขัง นักรบตาลีบันคนหนึ่ง บอกว่า อดีตรัฐบาลและสหรัฐฯทำลายประเทศของเขา และต้องการแก้แค้นทั้งอดีตรัฐบาลและสหรัฐฯ     ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : nationtv     / วันที่เผยแพร่  14 ก.ย.2564 Link…

11 ก.ย. : 149 นาทีมรณะขณะเหตุวินาศกรรม 9/11

Loading

  โลกเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม หลังเหตุการณ์เช้าวันนั้น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 11 ก.ย. 2001 ผู้ก่อเหตุจี้เครื่องบิน 4 ลำ พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐฯ ถึงทุกวันนี้ เหตุวินาศกรรม 9/11 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 2,996 ราย ยังนับเป็นการโจมตีครั้งรุนแรงที่สุดบนแผ่นดินสหรัฐฯ และยังส่งผลกระทบจนถึงทุกวันนี้     หลังจากนั้น สหรัฐฯ ได้เริ่มสิ่งที่เรียกกันว่า “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” โดยการบุกเข้าไปยังอัฟกานิสถานและอิรัก หากพูดเรื่องนี้ในระดับความทรงจำส่วนตัว แทบทุกคนยังจำได้ว่าตัวเองอยู่ไหนและทำอะไรอยู่ตอนที่ได้ยินข่าวนี้ บีบีซีไล่เรียง 149 นาทีขณะโศกนาฏกรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันนั้น …………………………………. 07:59 น. เที่ยวบิน AA11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์บินออกจากสนามบินนานาชาติโลแกนในบอสตัน มุ่งหน้าไปลอสแอนเจลิสโดยมีผู้โดยสารเต็มความจุ มีนักบิน ผู้ช่วยนักบิน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องอีก 9 คน ในจำนวนผู้โดยสาร 81 คน มีผู้ก่อเหตุจี้เครื่องบิน 5 คน นำโดยโมฮัมเหม็ด อัตตา…