ศาลสูงสหรัฐฯ ตัดสินสนับสนุนคำสั่งทรัมป์ ห้ามพลเมือง 7 ประเทศเข้าสหรัฐฯ

Loading

ศาลสูงสหรัฐฯ มีคำตัดสินในวันอังคาร ยืนกรานตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ห้ามพลเมืองจาก 7 ประเทศเดินทางเข้าสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่ต้องการใช้นโยบายกีดกันพลเมืองจากประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ไม่ให้เดินทางเข้าสหรัฐฯ คณะตุลาการศาลสูงสหรัฐฯ หรือ Supreme Court ลงมติด้วยคะแนน 5-4 ตัดสินว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีอำนาจตามกฎหมายในการจำกัดการเดินทางของพลเมืองจากประเทศอื่นมายังสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยกขึ้นมาประกอบการเสนอนโยบายดังกล่าว หัวหน้าคณะตุลาการศาลสูงสหรัฐฯ ผู้พิพากษา จอห์น โรเบิร์ต เป็นผู้เขียนประกาศคำตัดสินที่ว่านี้ และยังได้ปฏิเสธคำร้องของรัฐฮาวาย รวมทั้งของสมาคมชาวมุสลิมในรัฐฮาวาย และประชาชนอีก 3 รัฐ ที่ร้องเรียนว่าคำสั่งฝ่ายบริหารของ ปธน.ทรัมป์ ขัดกับบทบัญญัติที่ 1 ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ที่ระบุไว้ว่าห้ามเลือกปฏิบัติต่อคนต่างศาสนา หลังคำตัดสินของศาลสูงได้รับการเปิดเผยออกมา ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้จัดประชุมแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวในช่วงสายวันอังคาร แสดงความยินดีต่อคำตัดสินของศาลสูงในครั้งนี้ ปธน.ทรัมป์ กล่าวว่า คำตัดสินของศาลสูงสหรัฐฯ ถือเป็นชัยชนะและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของคนอเมริกันและรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ และว่า อเมริกาจำเป็นต้องเข้มแข็งและมั่นคงปลอดภัย และต้องมีการตรวจสอบคนที่จะเดินทางเข้าประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อทราบให้ได้ว่าพวกเขามาจากไหน ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ เมื่อ 2…

‘ทรัมป์’ ส่ออดตั้ง ‘กองทัพอวกาศ’ ขนาดพวกเดียวกันยังร้องยี้!!

Loading

  เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิ.ย. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้ง ‘ก’ เป็นเหล่าทัพที่ 6 ของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเรียกร้องมานานหลายเดือน ประเด็นเรื่องการก่อตั้งกองทัพอวกาศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสหรัฐฯ แต่คำสั่งล่าสุดของนายทรัมป์ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องรูปร่างหน้าตาและหน้าที่ของกองทัพอวกาศ, การหางบประมาณ รวมไปถึงปัญหาที่ว่า ผู้นำสหรัฐฯ คนนี้จะสามารถจัดตั้งเหล่าทัพใหม่ขึ้นมาได้หรือไม่     กองทัพอวกาศคืออะไร? นายทรัมป์เคยพูดเอาไว้เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาว่า “อวกาศเป็นเขตสงครามเหมือนกับพื้นดิน, อากาศ และทะเล” แน่นอนด้วยคำพูดแบบนี้อาจทำให้หลายคนนึกถึงฉากการขับยานต่อสู้กันในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไซ-ไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องความมั่นคงทางอวกาศของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่พื้นฐานกว่านั้นมาก ลอรา เกรโก นักวิทยาศาสตร์อาวุโสในโครงการความมั่นคงโลก ของสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย ระบุว่า การรักษาความมั่นคงทางอวกาศส่วนใหญ่คือการป้องกันไม่ให้ประเทศอื่นๆ เข้ามายุ่งกับดาวเทียมของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่มาแห่งความแข็งแกร่งของกองทัพแดนพญาอินทรี นับตั้งแต่ปี 2527 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งดาวเทียมไปยังวงโคจรโลกมากกว่า 280 ดวง ซึ่งมีหน้าที่ตั้งแต่พยากรณ์อากาศ, สังเกตการณ์ขีปนาวุธ และช่วยด้านการสื่อสารของกองทัพ การป้องกันไม่ให้ต่างชาติรบกวนสัญญาณหรือเจาะระบบดทวเทียมแล้วขโมยข้อมูลไป จึงเป็นเรื่องความมั่นคงระดับชาติ และเป็นไปได้ที่กองทัพอวกาศจะเข้ามารับหน้าที่นี้   แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้กองทัพอวกาศของทรัมป์ไม่เกิดขึ้นจริง  …

เด็ก 16 โดนจับรอขึ้นศาล หลังแฮกระบบคอมพิวเตอร์แก้ผลการเรียนของตัวเอง

Loading

  เมื่อวันพุธที่แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมด้วยเจ้าหน้าที่ U.S. Secret Service ได้จับกุมเด็กหนุ่มวัย 16 ปีรายหนึ่ง ในความผิดจากการแฮกระบบคอมพิวเตอร์รวม 14 กระทง เจ้าหน้าที่ตำรวจเขต Concord ในรัฐ California ได้รับแจ้งเหตุการแฮกตั้งแต่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ก่อนจะทำการติดตามสืบสวนจนนำไปสู่การจับกุมเด็กคนดังกล่าวได้ที่บ้านของเขาเอง โดยผู้กระทำผิดได้แฮคระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ผลการเรียนทั้งของตนเองและผู้อื่น เด็กหนุ่มได้ทำการสร้างเว็บไซต์หลอกดักรหัสผ่านโดยเว็บดังกล่าวถูกปลอมทำเลียนแบบหน้าเว็บไซต์ของโรงเรียน Ygnacio Valley High School ที่ตนเองเรียนอยู่ และส่งลิงก์หน้าเว็บดังกล่าวทางอีเมลให้บรรดาครูอาจารย์ผู้สอนหลายคน ซึ่งก็มีคนหนึ่งหลงเชื่อเข้าไปกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ ทำให้ผู้ก่อเหตุสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนได้ และทำการแก้ไขผลการเรียนหลายวิชาของนักเรียนหลายคน มีทั้งการแก้เพิ่มคะแนนของตนเอง และแก้เพื่อลดคะแนนของคนอื่นลง โดยมีนักเรียนที่ได้รับการแก้คะแนนราว 14-15 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามหาตัวผู้กระทำผิดโดยการใช้หมายศาลเพื่อตรวจสอบหมายเลข IP แล้วจึงหาข้อมูลแวดล้อมจนสามารถระบุที่อยู่ของเจ้าของหมายเลข IP ดังกล่าวได้ จากนั้นตำรวจได้ขอหมายศาลเพิ่มเติมสำหรับการเข้าตรวจค้นบ้านเจ้าของหมายเลข IP พร้อมทั้งนำสุนัขตำรวจที่สามารถดมกลิ่นหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าตรวจค้นพื้นที่ด้วย ซึ่งสุนัขตำรวจก็ช่วยให้ตำรวจค้นพบแฟลชไดรฟ์ที่ถูกซ่อนไว้ในกล่องกระดาษทิชชู่ อันเป็นหลักฐานมัดตัวเด็กหนุ่มจอมแฮก ในขณะนี้เด็กหนุ่มผู้ก่อเหตุถูกพักการเรียนไปแล้ว และได้รับการปล่อยตัวจากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้พักอยู่กับผู้ปกครองในระหว่างรอการนัดจากศาลในภายหลัง เมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีข่าวการแฮคระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ผลการเรียนเช่นกัน โดยเหตุเกิดที่ Alabama ซึ่งส่งผลต่อการจัด 10 อันดับนักเรียนผู้กำลังจะจบการศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวพันกับโอกาสในการขอรับทุนการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยของนักเรียนด้วย…

ทำไมต้องสิงคโปร์? สถานที่ซัมมิต “ทรัมป์-คิม”

Loading

  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยืนยันแล้วว่า การประชุมสุดยอดครั้งแรกระหว่างผู้นำสหรัฐอเมริกากับผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ จะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน นี้ ที่ประเทศสิงคโปร์ “เราทั้งสองจะพยายามทำให้การประชุมสุดยอดเป็นช่วงเวลาพิเศษสุดเพื่อสันติภาพของโลก” ทรัมป์ ทวิตเมื่อวานนี้ ภาพ : AFP   กระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ ยืนยันเช่นกันว่า สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากแสดงความหวังว่าการประชุมสุดยอดนัดหยุดโลกจะช่วยผลักดันอนาคตสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี การยืนยันในเรื่องนี้มีขึ้นหลังการไปเยือนกรุงเปียงยางครั้งที่สองของ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนใหม่ เพื่อหารือเรื่องการประชุมเช่นกัน มีการคาดการณ์กันมาตลอดว่า สถานที่ใดที่จะได้ร่วมจารึกในประวัติศาสตร์สำหรับการประชุมสุดยอดที่ไม่เคยมีใครคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ก่อนหน้านี้ มีการกะเก็งว่าอาจเป็นเขตปลอดทหาร กรุงเทพฯ เองก็เคยติดโผ หรือมองโกเลีย ก่อนมาลงตัวที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นตัวเก็ง เนื่องจากหลายเหตุผลประกอบกัน ตั้งแต่ความเป็นกลาง ความปลอดภัย และประสบการณ์จัดประชุมสุดยอดระหว่างประเทศมาหลายครั้ง ประเทศเกาะเล็กแต่สุดทันสมัยมีระบบรักษาความปลอดภัยรัดกุมและได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองปลอดภัยที่สุดในเอเชีย การจำกัดสื่อและการชุมนุมในที่สาธารณะอย่างเข้มงวด เป็นบรรยากาศแวดล้อมที่เกาหลีเหนือน่าจะพอใจ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังอยู่ในสถานะที่หาได้ยากนั่นคือมีสัมพันธ์การทูตเป็นมิตรกับวอชิงตันและเปียงยาง เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และมีสถานเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือเปิดดำเนินการเต็มรูปอยู่ในนครรัฐแห่งนี้   ภาพ : ไมค์ ปอมเปโอ -คิม จอง…

ย้อนรอยความเชื่อมโยง “คุกลับ” ในไทยกับว่าที่ ผอ. ซีไอเอคนใหม่

Loading

  หลังจากนางจีนา แฮสเปล ได้รับเสนอชื่อให้เป็น ผอ. ซีไอเอ คนใหม่เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เรื่องราวที่ยังไม่กระจ่างเกี่ยวกับศูนย์กักตัวและซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยของสหรัฐฯ กลับมาเป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง และความสนใจก็พุ่งไปยังประเทศไทย ที่เป็นที่ตั้ง “คุกลับ” ที่แฮสเปลเคยกำกับดูแล บีบีซีไทยเสนอรายงานของนายโจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยความเกี่ยวข้องระหว่างว่าที่ ผอ. ซีไอเอคนใหม่และ “คุกลับ” ในประเทศไทย เมื่อเดือน เม.ย. 2002 เครื่องบินลำหนึ่งบินออกจากสนามบินในปากีสถานมุ่งสู่ประเทศไทย หนึ่งในผู้โดยสารบนเครื่องบินลำนั้นคือ นายอาบู ซูเบย์ดาห์ ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน เขาถูกจับตัวได้ในปฏิบัติการร่วมระหว่างสหรัฐฯ และปากีสถาน ที่นำกำลังบุกทลายเซฟเฮาส์ของเครือข่ายอัลกออิดะห์ที่เมืองไฟซาลาบัดในปากีสถาน นายซูเบย์ดาห์ วัย 31 ปี เป็นชาวปาเลสไตน์ที่เกิดในซาอุดิอาระเบีย และเชื่อกันว่าเขาเป็นหนึ่งสมาชิกระดับสูง ในเครือข่ายผู้ก่อการร้ายของนายโอซามา บินลาดิน เขาอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ซีไอเอ ซึ่งได้ตัดสินใจให้นายซูเบย์ดาห์เป็นผู้ต้องขัง “มูลค่าสูง” คนแรกที่สามารถถูก “สอบสวนด้วยเทคนิคพิเศษ” ซึ่งกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่ามันคือการซ้อมทรมาน     ในเดือน ธ.ค. 2014 คณะกรรมาธิการวิสามัญด้านข่าวกรองของวุฒิสภาสหรัฐฯ (SSCI) ได้ตีพิมพ์รายงานลับจำนวน…

‘สายลับต่างชาติ’ นิยมแฝงตัวเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ

Loading

 ภายในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสถานที่เเรกที่นักสอดแนมจะแฝงตัวเข้าไปปนเปกับนักศึกษา เเต่ แดน โกลด์เดน (Dan Golden) ผู้สื่อข่าวสายสอบสวน กล่าวว่าคุณจะแปลกใจ เพราะมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เต็มไปด้วยนักสอดแนมหรือสายลับ โกลด์เดน กล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มีนักศึกษาเเละศาสตราจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากมาย บางคนมาหาข้อมูลให้แก่ประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางวิทยาศาสตร์หรือมาสร้างเเหล่งข่าว โกลด์เดน พูดถึงตัวอย่างการสอดแนมในรั้วมหาวิทยาลัยในหนังสือที่เขาเขียน เรื่อง “สปาย สคูลส์” (“Spy Schools”) เขากล่าวว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นแหล่งดึงดูดนักสอดแนม เพราะมีการเเลกเปลี่ยนทางความคิดและวัฒนธรรมกันอย่างอิสระ ชาร์ลี แม็คกอลนิกัล (Charlie Mcgonigal) เจ้าหน้าที่พิเศษที่ดูแลฝ่ายต่อต้านข่าวกรองของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเพราะในสหรัฐฯ สถาบันการศึกษาเปิดกว้าง มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนามากมายที่บรรดารัฐบาลต่างชาติต้องการได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และจะส่งนักศึกษาของตนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกันเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ส่วนชาวอเมริกันที่ไปเรียนในต่างประเทศก็มักตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลต่างชาติที่ต้องการใช้เป็นนักสอดแนม ในปี พ.ศ. 2557 เอฟบีไอได้สนับสนุนเงินในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่อิงเนื้อหาจากเรื่องจริง เกี่ยวกับนาย เกลน ชริฟเฟอร์ (Glenn Shriver) นักศึกษาชาวอเมริกันที่รัฐบาลจีนว่าจ้างให้เป็นนักสอดแนมแก่จีน เเม็คกานิกัลกล่าวว่า นักศึกษาถูกใช้โดยรัฐบาลต่างชาติให้เป็นสายลับ เเละสั่งให้ไปสมัครทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ หรือในภาคเอกชนที่ต้องการได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์…