หน่วยงานไซเบอร์สหรัฐฯ เตือนเลือกตั้งครั้งนี้มีข่าวเท็จจำนวนมากคุกคามทั้งสองพรรค

Loading

เหลืออีกเพียงไม่กี่ชั่วโมง ที่หน่วยเลือกตั้งทั่วสหรัฐอเมริกาจะเปิดให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ นางเจน อีสเตอร์ลี หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน อัปเดตภัยคุกคามการเลือกตั้ง 2567 พบว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมถึงข้อมูลเท็จที่ถูกเผยแพร่และขยายความโดยต่างประเทศไปในวงกว้างมากกว่าที่เคยเป็นมา พร้อมสรุปว่า มีกระแสข่าวปลอมจำนวนมากที่ชาวอเมริกันกำลังเผชิญอยู่ ส่วนการเผยแพร่ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้งเป็นแสดงให้เห็นถึง “ความไม่รับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึงกรณีที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ และตัวแทนพรรครีพับลิกัน กับนายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท X มักจะกล่าวอ้างว่ามีการโกงเลือกตั้งสหรัฐฯ

รู้จัก ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตาศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

Loading

    เปิดรายชื่อ ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตา ใครจะชนะในศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ปี 2567 ระหว่างรองปธน.คามาลา แฮร์ริส และอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังรุดเข้าสู่ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันสมัยใหม่ โดยเฉพาะใน “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันมีคะแนนสูสีกันมาก   ภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ก่อตั้งประเทศกำหนดให้รัฐทั้ง 50 รัฐมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีของตนเอง แต่ภายใต้ “ระบบคณะผู้เลือกตั้ง” ที่ซับซ้อน ทำให้แต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้งจำนวนหนึ่ง โดยอ้างอิงจากจำนวนประชากร เป็นตัวแทนลงคะแนนเลือกตั้งปธน. ซึ่งรัฐส่วนใหญ่มีระบบผู้ชนะได้คะแนนทั้งหมด (winner-take-all system) หมายถึง คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดของรัฐนั้น ๆ จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด   แคนดิเดตจะต้องมีเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งให้ได้อย่างน้อย 270 เสียง จาก 538 เสียง จึงจะชนะ เลือกตั้งสหรัฐ และการเลือกตั้งมักจะตัดสินจากรัฐที่มีการแข่งขันสูงหรือ “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตมักสลับกันครองเสียงส่วนใหญ่…

สรุปสั้น ทำไม ‘เลือกตั้งสหรัฐ’ จัดขึ้นตรง ‘วันอังคาร’ แรกของเดือนพฤศจิกายน

Loading

  ทุกๆ สี่ปี สหรัฐจะจัดลงคะแนนเสียง “เลือกตั้งประธานาธิบดี” ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน แล้วทำไมต้องเลือก “วันอังคาร” จัดเลือกตั้งสืบทอดนานกว่า 2 ศตวรรษ   ในปีนี้ก็เช่นกัน ชาวอเมริกันเตรียมตัวไปลงคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้งในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันอังคาร จนเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวันเลือกตั้งสืบทอดกันมา ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1800   สำหรับประเทศในละตินอเมริกา มักจัดเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ ส่วนอินเดียจัดในวันเสาร์อาจกินเวลาหลายสัปดาห์ เพราะประเทศกว้างใหญ่   ขณะที่อีกสองวัน ชาวอเมริกันหลายล้านคนจะได้ออกไปลงคะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต หรือคู่แข่งคืออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน   สหรัฐมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดชิงชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แล้วเหตุใดต้องเป็นวันอังคารและประเพณีดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร   ตามคำบอกเล่าจากนักประวัติศาสตร์ “เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรชาวเมริกัน”   แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ต้องรู้ก่อนว่า สหรัฐใช้ระบบใดอยู่ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะจัดขึ้นในวันเดียวกันทั่วประเทศ   ก่อนหน้าจนถึงกลางปี 1800 พบว่า วันเลือกตั้งจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ซึ่งได้กำหนดวันเลือกตั้งมีขึ้นในสัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมในเดือนธันวาคม   ตัวอย่างเช่นในปี 1844 การเลือกตั้งประธานาธิบดีจัดขึ้นนานเป็นเวลาหนึ่งเดือนนั่นคือ ระหว่างต้นเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม…

ตร.ออสเตรเลียบุกค้นสนง. PwC ในซิดนีย์ ขยายผลสอบข้อมูลภาษีรั่วไหล

Loading

ตำรวจออสเตรเลียได้เข้าค้นสำนักงานของบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส หรือพีดับบลิวซี ออสเตรเลีย (PwC Australia) ที่ซิดนีย์ ในวันนี้ (4 พ.ย.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีสืบสวนอดีตหุ้นส่วนที่ถูกกล่าวหาว่าปล่อยข้อมูลลับเกี่ยวกับแผนภาษีของรัฐบาลให้แก่ลูกค้าและเพื่อการใช้งานภายในองค์กร

จับภัยคุกคาม กองทัพสหรัฐติดกล้อง AI ใช้ในโรงงานนิวเคลียร์

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (3 พ.ย.) ประชาชนหลายร้อยคนจากชุมชนชานเมืองแคว้นบาเลนเซียที่ได้รับผลกระทบหนักจากเหตุอุทกภัยเมื่อสัปดาห์ก่อน ออกมาประท้วงระหว่างการเสด็จเยือนของกษัตริย์เฟลิเป สมเด็จพระราชินีเลตีเซีย และนายกรัฐมนตรีเปโดร ซานเชซ ขณะที่บางรายขว้างปาก้อนโคลนเพื่อแสดงความไม่พอใจ

อิหร่านชุมนุมหน้าสถานทูต เผาธงชาติสหรัฐฯ

Loading

ผู้ชุมนุมเผาธงชาติสหรัฐฯ และ ล้อเลียนประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยอ้างว่า สองคนนี้ไม่ต่างกัน เหมือนลากับช้างที่ใช้นโยบายเดียวกัน ผู้ชุมนุมต้องการรำลึกถึงวิกฤตตัวประกันปี1979 หลังการปฏิวัติอิสลามที่นำโดยอดีตผู้นำสูงสุด อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี ที่ได้ขับไล่พระเจ้าชาห์ โมฮัมเหม็ด เรซา ปาห์ลาวี ผู้ที่ประเทศตะวันตกให้การสนับสนุน ออกนอกประเทศ