ตำรวจอังกฤษ จับกุมสมาชิกกรีนพีซปีนหลังคาบ้านนายกรัฐมนตรี

Loading

  ตำรวจนอร์ธยอร์กเชียร์ ในอังกฤษ รายงานการจับกุมผู้ประท้วง 5 คนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มกรีนพีซสหราชอาณาจักร ซึ่งบุกรุกและปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก ในนอร์ธยอร์กเชียร์ เมื่อเวลาประมาณ 08.05 น.ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อคัดค้านการออกสัมปทานน้ำมันและก๊าซทะเลเหนือฉบับใหม่ 100 ใบ ซึ่งพวกเขาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำด้านการปกป้องภูมิอากาศไม่ใช่ผู้เผาทำลายสภาพแวดล้อม     จากภาพข่าวที่มีการเผยแพร่ พบว่า กลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้ผ้าสีดำคลุมตั้งแต่หลังคาบ้านลงมาปิดหน้าต่าง และประตูบ้าน โดยผ้าสีดำนี้คือสัญลักษณ์ของน้ำมัน และไม่มีใครเข้าไปภายในบ้าน   ในช่วงแรกเจ้าหน้าจับกุมผู้ประท้วง 4 คนตามที่ปรากฏในภาพ คือชาย 2 คนและหญิง 2 คน ถูกตั้งข้อหาสร้างความเสียหายและก่อความรำคาญในที่สาธารณะ จากนั้นเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ประท้วงคนที่ 5 ซึ่งเป็นชาย ในข้อหาสร้างความรำคาญในที่สาธารณะ ทั้งหมดยังอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ   ด้านนายโอลิเวอร์ ดาวเดน รองนายกรัฐมนตรี วิพากษ์วิจารณ์ว่าคนอังกฤษเบื่อหน่ายกับการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ แม้แต่พรรคแรงงานที่เป็นฝ่ายค้านก็ยังมีความเห็นพ้องว่า เป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย บ้านและครอบครัวของนายกรัฐมนตรีไม่ควรตกเป็นเป้าหมายของการรณรงค์ใด ๆ ทั้งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ตำรวจมีการจับกุมสมาชิกกลุ่ม   ด้านทำเนียบนายกรัฐมนตรีถนนดาวนิ่ง ระบุว่า รัฐบาลไม่ขอโทษสำหรับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อรับประกันความมั่นคงด้านพลังงาน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่…

ตำรวจเวลส์ชี้เทคโนโลยีจำใบหน้าช่วยจับอาชญากรมาลงโทษได้

Loading

  สำนักงานตำรวจในเขตเซาต์เวลส์ของสหราชอาณาจักร (SWP) รายงานว่าการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าแบบย้อนหลังทำให้เบาะแสมากกว่า 140 รายการภายในเดือนเดียว   เจเรมี วอแกน (Jeremy Vaughan) ผู้บัญชาการ SWP เผยว่าเทคโนโลยีนี้ใช้เฉพาะในกรณีอาชญากรรมร้ายแรงอย่างการข่มขืนเท่านั้น โดยตรวจจับผู้กระทำผิดในสถานที่และยานพาหนะต่าง ๆ   แหล่งข้อมูลของเทคโนโลยีนีนี้คือกล้อง CCTV โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย โดยนำมาเทียบกับภาพที่ SWP และตำรวจเมืองเกวนต์มีกว่า 600,000 ภาพ   วอแกนยังบอกอีกว่ามีการกำหนดขั้นตอนและมาตรการสำหรับการใช้เทคโนโลยีอย่างรัดกุม และไม่มีการเก็บข้อมูลประชาชน   อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่ม   ซึ่งวอแกนชี้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชน และใช้ตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น แต่ก็สนับสนุนให้มีหลักเกณฑ์ภายในเพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด     ที่มา Biometric Update         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

สหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ภาพจาก freepik   ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักรผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยรับรองของพระมหากษัตริย์ เมื่อ 11 ก.ค.66 เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะจากรัฐต่างประเทศ   ปัจจุบันสหราชอาณาจักรตกเป็นเป้าหมายในการจารกรรม การแทรกแซงของต่างชาติ การบ่อนทำลาย การบิดเบือนข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ การก่อวินาศกรรม การโจมตีด้วยอาวุธเคมี และก่อเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การลอบสังหาร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรถือว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด แม้จะมีการแทรกแซงจากจีน หรือการสังหารหรือลักพาตัวชาวอังกฤษจากอิหร่านก็ตาม   พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Act) มีการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับจารกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการยับยั้ง ตรวจจับ และขัดขวางภัยคุกคามยุคใหม่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรอง   นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงการลงทะเบียนผู้มีอิทธิพลจากต่างชาติ (Foreign Influence Registration Scheme – FIRS) ซึ่งมีเป้าหมายต่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักร เพื่อสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษกรณีทำผิดข้อตกลง ทั้งเป็นการเสริมสร้างความหยืดยุ่น และความโปร่งใสในระบอบประชาธิปไตย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

แฟนเทนนิสไม่พอใจกับระยะเวลารอคิวเข้าสนามวิมเบิลดันในปีนี้ ท่ามกลางการยกระดับรักษาความปลอดภัย

Loading

  เมื่อ 4 กรกฎาคม มีแฟนเทนนิสจำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อระยะเวลาการเข้าคิวเข้าสนามออลอิงแลนด์คลับ สนามจัดงานการแข่งขันวิมเบิลดัน ซึ่งคิวที่นานนี้เนื่องมาจากความกังวลของการที่จะมีผู้ประท้วงกลุ่ม Just Stop Oil เข้ามารบกวนการแข่งขัน   การต่อคิวซื้อตั๋วหน้างานเป็นธรรมเนียมของการแข่งขันวิมเบิลดัน ที่จะขายตั๋วหน้างานในวันแข่งจำนวน 500 ใบให้เข้าชมสำหรับสนามหลักทั้งสามคอร์ต ได้แก่ เซ็นเตอร์คอร์ต, คอร์ตหมายเลข 1 และคอร์ตหมายเลข 2 และขายกราวด์พาสสำหรับผู้ชมท่านอื่นให้รับชมการแข่งขันนอกสนามหลัก   แฟนเทนนิสมากกว่า 12,000 คนได้เข้าคิวรอที่วิมเบิลดันพาร์กที่อยู่ใกล้สนามแข่งเมื่อ 3 กรกฎาคม บางคนตั้งแคมป์รอตั้งแต่วันก่อน ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงไม่พอใจเป็นอย่างมากเมื่อการเดินคิวเป็นไปอย่างล่าช้า ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น   “พวกเราพลาดที่จะชมเกมทั้งวันนี้ ผมจะไม่มาต่อคิวหน้าสนามอีกแล้ว   “พวกเขาบอกเราว่ามีผู้ชมเยอะมาก แต่ทำไมถึงให้พวกเราเข้าแถวแล้วจึงมาบอกทีหลังว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่พอรองรับผู้ชมที่มาในวันนี้” คริส มีด แฟนเทนนิสคนหนึ่งกล่าวกับ BBC   โดยสาเหตุที่เพิ่มการรักษาความปลอดภัย เนื่องมาจากความกังวลที่ว่ากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ Just Stop Oil อาจบุกเข้ามาประท้วงในสนาม ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวมักจะแสดงจุดยืนประท้วงในการแข่งขันกีฬา เช่น ในการแข่งขันของสมาคมรักบี้ และการแข่งขันสนุกเกอร์ชิงแชมป์โลก   โดยแซลลี…

ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในอังกฤษ จะต้องส่งข้อมูลเพื่อสอบสวนกรณีเด็กเสียชีวิต

Loading

    เว็บไซต์ The Guardian รายงานเมื่อ 22 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ผ่านร่างกฎหมายความปลอดภัยบนโลกออนไลน์   โดยกำหนดให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ต้องส่งข้อมูลของเด็กในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากภัยบนโลกออนไลน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพผ่าน Office of Communications (Ofcom) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคม และการสื่อสารในสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมกันหาสาเหตุการเสียชีวิต   แม้ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะแบ่งปันข้อมูลของเด็กที่เสียชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพโดยสมัครใจแต่กฎหมายได้ให้อำนาจอย่างจำกัด เช่น กรณีของ Molly Russell ที่ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ในการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต เนื่องจากข้อจำกัดด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินสตราแกรม ซึ่งผลการสืบสวนพบว่า เธอได้ดูเนื้อหาจำนวนมากเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ทั้งยังมีภาวะซึมเศร้า และทำร้ายตัวเอง สุดท้ายเธอได้ฆ่าตัวตายในอายุ 14 ปี   พ่อของ Russell กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพและครอบครัวจะต้องเข้าถึงข้อมูลบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเด็ก “มาตรการนี้จะเป็นก้าวแรกในการหยุดวงจรการสูญเสียได้” และแม้บางแพลตฟอร์มจะมีฟีเจอร์ “มรดกดิจิทัล (Digital legacy)” ที่อนุญาตให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตสามารถเข้าถึงบัญชีได้ แต่ฟีเจอร์ดังกล่าวก็ไม่เหมาะกับเด็กที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน      …

เมื่อสมาชิกราชวงศ์อังกฤษระดับสูง ต้องขึ้นศาลครั้งแรกในรอบ 130 ปี เจ้าชายแฮร์รีเบิกความกรณี ‘ข้อมูลลับ’ หลุด

Loading

  หนึ่งในประเด็นใหญ่หน้าสื่อหลายวันที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น ‘การฟ้องร้องของเจ้าชายแฮร์รี (Prince Harry) ดยุกแห่งซัสเซกส์ (Duke of Sussex) ต่อหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ในสหราชอาณาจักร ‘มิร์เรอร์’ (Mirror) หลังให้เหตุผลว่า ต้องการทวงคืนความยุติธรรมให้ตนเอง และเมแกน มาร์เคิล (Meghan Markle) ดัสเชสแห่งซัสเซกส์ (Duchess of Sussex) หรือภรรยาของเขา ซึ่งปรากฏการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 130 ปี ที่สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงแห่งอังกฤษให้ปากคำการพิจารณาคดีตั้งแต่ศตวรรษที่ 19   เพื่อติดตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น The Momentum จึงสรุปและรวบรวมข้อมูลเรื่องราวการยื่นฟ้องของเจ้าชายแฮร์รีต่อมิร์เรอร์ดังต่อไปนี้   มูลเหตุที่เจ้าชายแฮร์รีถึงฟ้องมิร์เรอร์?   เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าชายแฮร์รีปรากฏตัวที่ศาลสูงของประเทศอังกฤษ ในฐานะพยานเพื่อยื่นฟ้องต่อ ‘มิร์เรอร์กรุ๊ป’ (Mirror Group) บริษัทใหญ่เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือ Daily Mirror, Sunday Mirror และ Sunday People ด้วยข้อหา ‘การแฮ็กข้อมูลทางโทรศัพท์’…