ประกาศยกระดับการแจ้งเตือน “ก่อการร้าย” ในไอร์แลนด์เหนือ

Loading

  “สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน” ประกาศ ยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ   วันที่ 29 มี.ค.66 เพจเฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, London UK ระบุว่า… ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เรื่อง การยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ   “ด้วยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 นายคริส ฮีตัน-แฮริส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอร์แลนด์เหนือ ได้ประกาศยกระดับการแจ้งเตือนภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ จากระดับ 3 ‘Substantial’ (เป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตี) เป็นระดับ 4 ‘Severe’ (เป็นไปได้สูงที่จะเกิดการโจมตี) โดยเป็นผลจากการประเมินสถานการณ์ของหน่วยข่าวกรองภายในประเทศของสหราชอาณาจักรจากเหตุการณ์ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้อาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่สาธารณะ”   “ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ในไอร์แลนด์เหนือหรือเดินทางไปไอร์แลนด์เหนือในระยะนี้ โปรดใช้ความระมัดระวัง ไม่ตื่นตระหนัก หากพบเป็นเหตุการณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และติดตามข่าวสารของทางการสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด   ทั้งนี้ หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ…

กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร ทำไมรัสเซียขู่ตอบโต้หากส่งให้ยูเครน?

Loading

  รัฐบาลของสหราชอาณาจักรประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะส่งกระสุนปืนเจาะเกราะที่มีส่วนผสมของ แร่ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ ไปให้ยูเครนเพื่อใช้รับการรุกรานจากรัสเซีย ทำให้ฝ่ายรัสเซียออกมาแสดงความต่อต้านทันที โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศจะตอบโต้หากเรื่องนี้เกิดขึ้น   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ มันยังปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตลอดว่า อาวุธชนิดนี้มีอันตรายมากเกินไปหรือไม่   ประเทศอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ชื่อว่า กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำลายรถถังในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษระบุในคู่มือการใช้ของพวกเขาว่า การสูดดมฝุ่นยูเรเนียมเข้าไปในปริมาณมากเกิดการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก สวนทางกับรัสเซียที่บอกว่า กระสุนนี้เป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม   ด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุว่า ในกรณีทั่วไป แร่ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เว้นแต่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่มียูเรเนียมเสื่อมสภาพมาอยู่รวมกันมากๆ ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้     ยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร?   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ (depleted uranium) คือผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ แม้จะเสื่อมสภาพแล้ว ยูเรเนียมประเภทนี้ยังคงเป็นสารกัมมันตรังสี แต่มีไอโซโทป U-235 กับ U-234 ต่ำกว่าในแร่ยูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติมาก ลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีของมัน และไม่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดๆ ได้   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพถูกนำไปใช้ในอาวุธเพราะคุณสมบัติความหนาแน่นสูงของมัน ทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่วที่มีขนาดเท่ากัน เมื่อนำมาทำหัวกระสุนจึงมีความต้านทานของอากาศน้อยกว่าเวลายิงออกไป และสามารถทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีเนื่องจากจุดที่ตกกระทบมีแรงกดดันสูงกว่า…

BBC ให้พนักงานลบแอป TikTok ออกจากมือถือ เหตุกังวลด้านความปลอดภัย

Loading

    บีบีซี (BBC) สำนักข่าวชื่อดังจากอังกฤษ เรียกร้องให้พนักงานของตัวเองลบแอปติ๊กต็อก (TikTok) โซเชียลมีเดียชื่อดังจากประเทศจีน ออกจากโทรศัพท์มือถือของบริษัท ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็เพิ่งสั่งห้ามพนักงานในองค์กรใช้ติ๊กต็อกเหมือนกัน เนื่องจากกลัวว่าจะถูกจีนเข้าถึงข้อมูลสำคัญในเครื่อง   เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าบีบีซีสั่งห้ามไม่ให้ใช้ติ๊กต็อกแค่บนอุปกรณ์ขององค์กรเท่านั้น เว้นแต่จะมีเหตุผลทางธุรกิจที่สมเหตุสมผล เช่นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเผยแพร่ข่าวและการตลาด หากไม่ใช่การใช้เพื่อธุรกิจก็ต้องลบทิ้งสถานเดียว ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ บีบีซีจะติดตามและประเมินสถานการณ์ต่อไป   ส่วนมือถือส่วนบุคคลของแต่ละคนยังสามารถใช้ติ๊กต็อกได้เหมือนเดิม แต่มือถือเครื่องนั้นห้ามมีอะไรที่เชื่อมต่อข้อมูลกับองค์กรเอาไว้   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแนวทางของบีบีซี ซึ่งบีบีซีเองก็ใช้ติ๊กต็อกเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่ แถมยังมีการแต่งตั้งทีมที่ดูแลเฉพาะติ๊กต็อกด้วย ปัจจุบัน ช่อง BBC News ในติ๊กต็อกมีผู้ติดตามสูงถึง 1.2 ล้านผู้ติดตาม ส่วนช่อง BBC มีผู้ติดตาม 4.4 ล้านผู้ติดตาม         ที่มา The Guardian         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :       …

เอาด้วย! อังกฤษแบน ‘ติ๊กตอก’ บนอุปกรณ์สื่อสารของรัฐบาล

Loading

TikTok Ban อังกฤษประกาศแผนห้ามใช้แอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) ให้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันพฤหัสบดีเป็นต้นไป ตามหลังชาติตะวันตกทั้งสหรัฐฯ แคนาดา และอีกหลายประเทศในยุโรป ที่สั่งแบนแอปฯ ดังกล่าวด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย   ทางการอังกฤษ ระบุว่า “ความปลอดภัยของข้อมูลรัฐบาลต้องมาก่อน ดังนั้นในวันนี้เราจึงห้ามใช้แอปฯ นี้บนอุปกรณ์ของรัฐ” และว่า “การห้ามใช้แอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของรัฐเป็นขั้นตอนที่รอบคอบและเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง” พร้อมทั้งให้หน่วยงาน National Cyber Security Centre ตรวจสอบข้อมูลอ่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ และความเสี่ยงว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้าถึงและนำไปใช้ได้อย่างไร   ด้านติ๊กตอกแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจของอังกฤษ โดยโฆษกของบริษัท ระบุว่า “เราเชื่อว่าการแบนเหล่านี้มีพื้นฐานบนความเข้าใจผิดในหลักการและขับเคลื่อนด้วยประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งติ๊กตอกและผู้ใช้นับล้านรายของเราในอังกฤษ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย” พร้อมเสริมว่า “เรายังคงมุ่งมั่นในการทำงานกับรัฐบาลเพื่อหารือเกี่ยวกับความกังวลต่าง ๆ แต่เราควรได้รับการวิจารณ์บนข้อเท็จจริงและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับคู่แข่งของเราด้วยเช่นกัน” และว่าทางบริษัทได้เริ่มต้นกระบวนการที่จะปกป้องข้อมูลผู้ใช้ในยุโรปแล้ว   แอปฯ ติ๊กตอก ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีจีน ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เป็นเจ้าของ ได้ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่รัฐบาลชาติตะวันตกเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ว่าจะตกไปอยู่ในมือของรัฐบาลจีน และบั่นทอนความมั่นคงของชาติตะวันตก   ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ แคนาดา เบลเยียม และคณะกรรมาธิการยุโรปและสภาสหภาพยุโรปสั่งถอดแอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนไปแล้ว  …

WhatsApp จะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายสหราชอาณาจักรที่จะลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Loading

  ผู้บริหาร WhatsApp ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายด้านความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรที่บริษัทมองว่าจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน   ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ (Online Safety Bill) มีเนื้อหาที่ระบุว่าเจ้าของแพลตฟอร์มการสนทนาจะต้องสามารถเข้าดูเพื่อกรองเนื้อหาการสนทนาของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มได้ ผู้ใช้ก็จะเสียความเป็นส่วนตัวไป   ซึ่งหาก WhatsApp ยอมปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายความว่าต้องมีการนำวิธีการเข้ารหัสแบบ 2 ฝั่ง (E2EE) ที่เป็นเครื่องมือปกป้องความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้สนทนาออกไป   วิล แคตคาร์ต (Will Cathcart) ผู้บริหาร WhatsApp ชี้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้สำหรับเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่จะกระทบผู้ใช้ส่วนอื่นของโลกด้วย   แคตคาร์ตอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อเสนอการแก้เนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับฝ่ายนิติบัญญัติ   แคตคาร์ตชี้ว่าบางประเทศแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นไม่ให้ใช้งานแพลตฟอร์มที่ไม่ยอมทำตามกฎหมายในลักษณะนี้ ตัวยกตัวอย่างอิหร่าน   “เราไม่เคยเห็นว่ามีประเทศประชาธิปไตยเสรีนิยมที่ทำแบบนั้น” แคตคาร์ตระบุ     ที่มา Silicon Republic       ————————————————————————————————————————- ที่มา :             …

รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรชี้บริษัทจีนที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลเคยโจมตีไซเบอร์ต่อประเทศ

Loading

  จอร์จ ฟรีแมน (George Freeman) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของสหราชอาณาจักร (DSIT) ชี้ว่าบริษัทจีนที่ได้รับสัมปทานด้านโควิดของรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS)   บริษัทนี้มีชื่อว่า BGI Group ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่าเป็นผู้แฮ็ก Genomics England โครงการข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุข (DHSC) เมื่อปี 2014   BGI Genomics ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BGI Group สามารถชนะการประมูลสัญญาการทดสอบโควิดมูลค่า 11 ล้านปอนด์ (ราว 457 ล้านบาท) จากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้เมื่อปี 2021   ก่อนหน้านี้สมาชิกรัฐสภาเคยขอให้รัฐบาลยุติการทำงานร่วมกับบริษัทดังกล่าว โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคง   ด้าน BGI Group ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทไม่เคยและไม่มีทางที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กใครก็ตาม และย้ำว่าบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน   ห้องทดลองที่อยู่ในสหราชอาณาจักรก็มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ไม่เคยส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศ   ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาก็ออกมาขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรม   ที่มา…