รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

Loading

  เปิดรหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือ รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นับเป็นอีกวันที่อังกฤษหม่นหมอง ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขณะพระชนมายุ 96 พรรษา ในการนี้จะมีพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร   ในการนี้ยังต้องมีรหัสลับที่แม้แต่พสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังไม่รู้ ในการเตรียมพร้อมรับมือฉุกเฉินกรณีการเสด็จสวรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ครอบคลุมพระราชพิธีพระศพเอาไว้ทั้งหมด – Operation London Bridge นับจากนี้ไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อยอีก 8 วัน คือช่วงแห่งการไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ภายใต้ Operation London Bridge ซึ่งจะกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการหลังได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าชาร์ลสที่ 3 ที่จะนำไปสู่กระบวนการต่างๆ สำหรับพระราชพิธีศพ   รหัสลับเบื้องหลังการเสด็จสวรรคตของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร แม้เรื่องนี้จะเป็นข่าวช็อกคนทั้งชาติต่อการสูญเสียองค์พระประมุขที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก แต่สำหรับราชสำนักบักกิงแฮมและสมเด็จพระราชินีเอง ทรงเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนี้มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 แล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปลีกย่อยและปรับปรุงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่สาระสำคัญส่วนใหญ่ยังคงไว้…

นอร์เวย์-อังกฤษเตรียมบริจาค “ไมโครโดรน” ช่วยยูเครน

Loading

  นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรร่วมกันบริจาคโดรนขนาดเล็ก “แบล็กฮอร์เน็ต” ให้กับยูเครนจำนวน 850 ลำ   เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ออกแถลงการณ์ ระบุว่า นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรจะร่วมกันบริจาคความช่วยเหลือทางทหารให้กับยูเครน เป็นโดรนขนาดเล็ก “แบล็กฮอร์เน็ต (Black Hornet)” ที่ผลิตในนอร์เวย์   “นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรกำลังร่วมมือกันเพื่อซื้อแบล็กฮอร์เน็ต โดรนขนาดเล็กของนอร์เวย์ เพื่อบริจาคให้กับยูเครน โดยงบประมาณอยู่ที่ 90 ล้านโครนนอร์เวย์ (ราว 333 ล้านบาท)” คำแถลงระบุ     โดรนขนาดเล็กหรือไมโครโดรนแบล็กฮอร์เน็ตนี้ มีขนาดเพียง 6 นิ้ว (15 ซม.) หน้าตาจะคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ของเล่น มีวัตถุประสงค์หลักคือการลาดตระเวนและการระบุเป้าหมาย นิยมใช้ในสงครามในเมือง และการสอดส่องพื้นที่ในอาคาร   ความช่วยเหลือร่วมของนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรนี้ จะประกอบด้วย โดรนแบล็กฮอร์เน็ต 850 ลำ อะไหล่ชิ้นส่วน โดยนอร์เวย์บอกว่า ยูเครนเป็นผู้เรียกร้องขอยุทโธปกรณ์ประเภทนี้เพื่อใช้ในการสู้กับรัสเซีย นอกจากนี้ความช่วยเหลือจะรวมถึงบริการขนส่งและฝึกอบรมการใช้งานโดยสหรอาชอาณาจักรด้วย   บยอร์น อาริลด์ แกรม…

ระบบการให้บริการผู้ป่วยทั่วทั้งสหราชอาณาจักรถูกโจมตีทางไซเบอร์จนให้บริการไม่ได้ชั่วคราว

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์ต่อผู้ให้บริการระบบจัดการผู้ป่วยจนขัดข้องทำให้บริการฉุกเฉิน 111 รายทั่วทั้งระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของสหราชอาณาจักรไม่สามารถให้บริการได้ชั่วคราว NHS และผู้ให้บริการรถฉุกเฉินบางส่วนได้ออกมายืนยันว่า การโจมตีเกิดขึ้นจริง อย่างผู้ให้บริการฉุกเฉินเวลส์ ได้ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจาก “ความขัดข้องของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์นอกเวลา” ระบบที่ว่านี้เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นใช้ในการประสานงานเพื่อขนส่งผู้ป่วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบนี้กระทบต่อระบบสาธารณสุขทั้งประเทศ รวมถึงในเวลส์ ไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์ NHS ได้ดำเนินแผนบริหารแผนบริหารความต่อเนื่องเพื่อให้ระบบการให้บริการผู้ป่วยสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยย้ำให้ผู้ป่วยวางใจและเชื่อมั่นต่อ NHS ต่อไป ที่มา scmagazine พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส     ที่มา : beartai    /   วันที่เผยแพร่ 10 ส.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/1131521

สหราชอาณาจักรปรับ Clearview AI เป็นเงิน 320 ล้านบาท ฐานใช้ภาพประชาชนให้บริการค้นหา

Loading

  Information Commissioner’s Office (ICO) หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของสหราชอาณาจักร ประกาศปรับบริษัท Clearview AI ฐานใช้ภาพประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยสั่งปรับ 7.5 ล้านปอนด์หรือ 320 ล้านบาท พร้อมกับสั่งให้หยุดดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคล และลบข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปแล้วออกทั้งหมด Clearview AI ดำเนินธุรกิจเก็บภาพใบหน้าจำนวนมากจากอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดให้ลูกค้าค้นหาภาพใบหน้าได้ ลูกค้าของบริษัทมักเป็นหน่วยงานรัฐ ทาง ICO ระบุว่าความผิดของ Clearview AI มีหลายประเด็น ได้แก่ – ไม่แจ้งประชาชนถึงการใช้งานข้อมูลอย่างเปิดเผย ทำให้เจ้าของข้อมูลไม่ตระหนักว่าข้อมูลอาจถูกใช้งานไปค้นหาใบหน้า – ไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมายในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล – ไม่มีกระบวนการขอให้หยุดเก็บข้อมูล – เมื่อเจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบข้อมูลก็ยิ่งขอข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ตอนนี้ Clearview AI เก็บภาพบุคคลไปแล้วกว่าสองหมื่นล้านภาพจากทั่วโลก ทาง ICO ระบุว่าข้อมูลเช่นนี้ไม่ใช่แค่การค้นหาตัวตนแต่ยังสามารถตรวจสอบพฤติกรรมบุคคลในภาพด้วย ที่มา – ICO     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่…

กองกำลังไซเบอร์ของสหราชอาณาจักร เข้าทลายโครงข่ายของอาชญากรไซเบอร์

Loading

  ปฏิบัติการร่วมระหว่างศูนย์บัญชาการสื่อสารของรัฐบาล (Government Communications Headquarters – GCHQ) และกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร ภายใต้กองกำลังไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Force – NCF) ได้ทลายโครงข่ายคอมพิวเตอร์ของอาชญากรทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องประชาชนและทำให้เหล่าอาชญากรไม่สามารถนำข้อมูลบัตรเครดิตนับแสนใบที่ขโมยมาไปใช้งานต่อได้ “การดำเนินการโดย NCF ส่งผลให้เราสามารถทำลายความเชื่อมั่นของอาชญากรไซเบอร์ที่คิดว่าพวกตัวเองสามารถทำผิดแล้วลอยนวล เราได้ทำลายขีดความสามารถของอาชญากรเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขารู้ว่ากำลังถูกเฝ้าดูและตามจับอยู่” เจเรมี เฟลมิง (Jeremy Fleming) ผู้อำนวยการ GCHQ กล่าว ปฏิบัติการของ NCF ยังทำให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์ไม่สามารถเข้าใช้เครื่องมือมัลแวร์เพื่อนำไปใช้โจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับจากมัลแวร์เหล่านั้นได้ NCF เปิดตัวในปี 2020 และได้รับสำนักงานสำหรับใช้ปฏิบัติการในปี 2012 โดยได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรจากทั่วโลกในการทำลายขีดความสามารถของอาชญากรทางไซเบอร์ ที่มา ZDNet     ที่มา : beartai    /   วันที่เผยแพร่ 11 พ.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/1043152

สถาบันวิชาการกลาโหมของสหราชอาณาจักรเคยถูกโจมตีทางไซเบอร์จนต้องสร้างระบบใหม่

Loading

  พลอากาศโท เอ็ดเวิร์ด สตริงเจอร์ (Air Marshal Edward Stringer) นายทหารที่เพิ่งเกษียณจากกองทัพสหราชอาณาจักรในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ระบุต่อ Sky News ว่าได้มีเหตุโจมตีทางไซเบอร์ในเดือนมีนาคม 2564 ที่ทำให้สถาบันวิชาการกลาโหม (Defence Academy) ต้องสร้างระบบเครือข่ายใหม่หมด สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในชริเวนแฮม (Shrivenham) ในอ็อกซ์ฟอร์ดเชียร์ (Oxfordshire) สหราชอาณาจักร มีหน้าที่สอนบุคลากรทางการทหาร นักการทูต และข้าราชการ 28,000 คนต่อปี และต้องทำการสอนออนไลน์มากขึ้นในช่วงโควิด – 19 ระบาด สตริงเจอร์ระบุว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสมหาศาลที่ต้องเสียไปกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบ เขาระบุว่าเจ้าหน้าที่จากบริษัท Serco ซึ่งรับจ้างจากสถาบันให้มาดูแลระบบนั้นได้พบพฤติการณ์ที่ผิดปกติ มีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตจากภายนอกพยายามเจาะเข้าไปในระบบของสถาบัน เพื่อเป็นช่องทางในการโจมตีระบบอื่น ๆ ของกระทรวงกลาโหมต่อไปแต่ทำไม่สำเร็จ และไม่พบการโจมตีไปยังระบบอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังไม่พบความเสียหายของข้อมูลด้วยเช่นกัน อย่างไรดี เว็บไซต์ของสถาบันต้องได้รับการสร้างใหม่หมด จนถึงปัจจุบันก็ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น ทั้งนี้ ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Centre – NCSC)…