1,158 หน่วยงาน ข้อมูลรั่ว “ประเสริฐ” สั่งเร่งแก้ หากยังผิดซ้ำใช้กฎหมายลงโทษ

Loading

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาการหลุดรั่วของข้อมูลประชาชน ตลอดจนการซื้อขายข้อมูลประชาชนตามที่เป็นข่าว จึงได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยแบ่งเป็น ระยะเร่งด่วน 30 วัน ระยะ 6 เดือน และระยะ 12 เดือน

ตร.ไซเบอร์จับมือ PDPC แถลงปฏิบัติการ DATA GUARDIANS OPERATION ล่าทรชน คนค้าข้อมูล

Loading

วันที่ 6 พ.ย.66 เวลา 13.30 น. นำโดย พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รรท.รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พร้อมด้วย ผู้บังคับบัญชาระดับรองผู้บัญชาการ และ ผู้บังคับการในสังกัด บช.สอท. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องแถลงผลการปฏิบัติการ “DATA GUARDIANS OPERATION ปฏิบัติการล่าทรชน คนค้าข้อมูล” ณ อาคารประชุมสัมมนาและฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เลขาธิการ กมช. ย้ำ หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์

Loading

    พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับเพจของหน่วยงานภาครัฐ ว่า ในขณะนี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการโจมตีผู้ดูแลเพจ เป็นผลทำให้ข้อมูลผู้ใช้และรหัสผ่านถูกขโมย หรืออาจเกิดจากการติดตั้งมัลแวร์ในอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน ทั้งนี้ ผู้โจมตีอาจเข้าระบบเพจและสร้างปัญหาให้กับเพจเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นข้อมูลไม่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ควรถูกป้องกันล่วงหน้าและต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต   หน่วยงานภาครัฐควรทำการลงทะเบียนรับรองความถูกต้อง (verified badge) เพื่อให้สามารถกู้คืนระบบได้ การเป็นแอดมินหน้าเพจจะต้องใช้วิธีการ multi-factor authentication ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้รหัสผ่านเดียว แต่ยังต้องมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านมือถือหรืออุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อเสริมความปลอดภัยและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การมีการป้องกันและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำ   ในทางกฎหมายของประเทศไทย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อาทิเช่น มาตรา 45 กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องมีมาตรการในการป้องกันและการบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรา 58 กำหนดให้หน่วยงานต้องเตรียมพร้อมในการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้ หน่วยงานทุกหน่วยงานและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี การอบรมผู้ใช้งาน และรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม หากปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างเข้มงวด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการบรรเทาและไม่เกิดซ้ำในอนาคต   ในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน สามารถแจ้งได้ที่เพจของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…

สกมช. จับมือ ซิสโก้ ยกระดับด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับเยาวชนและบุคลากร

Loading

  “สกมช.” จับมือ ซิสโก้ ยกระดับด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้กับเยาวชนและบุคลากร พร้อมรับมือภัยคุกคาม ด้วยหลักสูตรระดับสากล   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ด้านการส่งเสริมเพิ่มระดับความสามารถในการรักษาความปลอดภัย กับ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ณ ห้องประชุม Confidential ชั้น 7 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566     สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ NCSA ร่วมเสริมสร้างและแบ่งปันความรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อช่วยยกระดับความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านหลักสูตรในโครงการ Cisco Networking…

ผ่าแนวคิด “สกมช.” มือปราบภัยไซเบอร์ รับมือ ภัยคุกคามป่วนหนัก

Loading

  ภัยไซเบอร์ ที่คุกคามเข้ามาส่งผลกระทบให้กับคนไทยในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีรูปแบบเดิม ๆ คือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง แล้ว ทุกวันนี้ออนไลน์ต้องเผชิญหน้ากับภัยจากการหลอกลวงให้โอนเงิน กดลิงก์ปลอม หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หรือ แม้แต่การเสียบสายชาร์จสมาร์ตโฟน ก็สามารถทำให้เงินหายเกลี้ยงบัญชีได้ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เพื่อรับผิดชอบในส่วนนี้โดยเฉพาะ   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสกมช. กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน   ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮก เฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญมากมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้…

สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…