สิงคโปร์บังคับองค์กรต้องลงทะเบียนก่อนส่ง SMS แบบมีชื่อผู้ส่ง ไม่เช่นนั้นจะแสดงชื่อว่า likely-scam

Loading

  สิงคโปร์ขีดเส้นตายว่าทุกองค์กรที่ต้องการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือโดยชื่อผู้ส่งเป็นข้อความ   ดังเช่นที่เราเห็นข้อความจากธนาคารต่าง ๆ จะต้องลงทะเบียนในฐานข้อมูลผู้ส่ง SMS แห่งชาติ (Singapore SMS Sender ID Registry – SSIR)   ไม่เช่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะแสดงชื่อผู้ส่งว่าต้องสงสัยว่าจะเป็นข้อความหลอกลวง หรือ likely-scam แทน มาตรการนี้มีผลวันที่ 31 มกราคมนี้   ตอนนี้มีองค์กรลงทะเบียน SSIR แล้วกว่า 1,200 องค์กร รวมชื่อผู้ส่ง 2,600 ราย โดยก่อนหน้านี้ระบบ SSIR เป็นทางเลือกสำหรับการจองชื่อผู้ส่งเป็นหลัก ทำให้สามารถบล็อก SMS หลอกลวงได้บางส่วน เพราะพยายามใช้ชื่อตรงกับองค์กรในประเทศ และทาง IMDA ระบุว่ากำลังพิจารณาว่าจะเปิดตัวเลือกให้ประชาชนปิดรับ SMS จากต่างประเทศไปทั้งหมดเลยหรือไม่   แนวทางการเปลี่ยนชื่อผู้ส่ง SMS ของสิงคโปร์ คล้ายกับการเติมเลข 697 สำหรับเบอร์โทรศัพท์จากต่างประเทศในไทย อย่างไรก็ดีคนร้ายมักจะเปลี่ยนเทคนิคเพื่อให้หลองลวงได้แนบเนียนยิ่งขึ้น เช่นในไทยเองโทรศัพท์หลอกลวงจำนวนมากก็เป็นเลขหมายในประเทศแล้ว    …

สิงค์โปรขยายแพลตฟอร์มข้อมูลการเงินให้ประชาชนดึงข้อมูลจากบริษัทประกัน/ธนาคาร มาเก็บไว้ที่เดียว

Loading

  ธนาคารกลางสิงคโปร์ขยายบริการ SGFinDex (Singapore Financial Data Exchange) แพลตฟอร์มกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินของประชาชนข้ามองค์กร บริการ SGFinDex เปิดบริการมาแล้วหลายปี และตอนนี้ก็เพิ่มให้บริษัทประกันส่งข้อมูลเข้ามาได้ด้วย   ตามแผนการ SGFinDex จะเชื่อมข้อมูลทางการเงินทั้งหน่วยงานภาครัฐ (เงินประกันสังคม, ภาษี, หนี้การเคหะ), ธนาคาร, บริษัทประกัน, และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ทำให้สามารถมองเห็นทรัพย์สิน, หนี้, และกรมธรรมม์ประกันต่าง ๆ โดยองค์กรที่ต้องจะส่งข้อมูลต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ตัวแพลตฟอร์มนอกจากจะเชื่อมข้อมูลระหว่างสถาบันทางการเงินด้วยกันเองแล้ว ยังมีบริการ MyMoneySense ของรัฐบาลที่เปิดให้ประชาชนส่งข้อมูลเข้าไปทำ dashboard ดูสถานะทางการเงินโดยรวม   บริการ SGFinDex คล้ายกับบริการ dStatement ที่ผลักดันโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ของไทยยังจำกัดเฉพาะธนาคารเท่านั้น     ที่มา – MAS       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

ระทึกกลางอากาศ! ส่งเครื่องบินรบ ประกบ ‘สิงคโปร์ แอร์ไลนส์’ ผู้โดยสารอ้างมีระเบิด

Loading

    “สิงคโปร์” ส่งเครื่องบินรบ 2 ลำ บินประกบเครื่องบินสายการบิน “สิงคโปร์ แอร์ไลนส์” ลงจอดสนามบินชางงี หลังผู้โดยสารอ้างว่ามีระเบิด   กองทัพอากาศสิงคโปร์ แถลงว่า 28 ก.ย. เครื่องบินรบเอฟ 16 ของกองทัพ 2 ลำ ได้ปฏิบัติภารกิจ ขึ้นบินประกบเครื่องบิน เที่ยวบิน SQ33   ขณะที่ ตำรวจสิงคโปร์ระบุว่า ได้รับแจ้งเหตุขู่วางระเบิดบนเที่ยวบินดังกล่าว เมื่อเวลา 02.40 น. ของวันนี้ ตามเวลาในสิงคโปร์ การสืบสวนเบื้องต้นพบว่า ผู้โดยสารชาย วัย 37 ปี ได้อ้างว่าตนเองมีระเบิดอยู่ในกระเป๋าเดินทางที่ถือขึ้นเครื่อง และได้ก่อเหตุทำร้ายพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก่อนถูกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจับมัดมือ   ผู้โดยสารรายดังกล่าว ถูกตำรวจจับกุมทันที หลังเครื่องบินเดินทางถึงสิงคโปร์ ในความผิดฐานละเมิดข้อบังคับด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) และตกเป็นผู้ต้องสงสัย ในข้อหาใช้ยาที่ต้องได้รับการควบคุม ส่วนหนังสือพิมพ์เดอะสเตรทไทม์สของสิงคโปร์ระบุว่า ชายคนดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติ   ทางด้านโฆษกสายการบิน แถลงว่า…

สิงคโปร์เอาจริง เข้ารหัสข้อมูลลับ ด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์

Loading

  ไซเบอร์กำลังคุกคามแต่ละประเทศหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับประเทศที่เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ซึ่งก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้นได้   สิงคโปร์ หนึ่งในประเทศที่เป็นฮับทางเทคโนโลยีของเอเซีย มีแผนที่จะนำควอนตัมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีประมวลขั้นสูงมาใช้เป็นเครื่องมือที่จะใช้ต่อสู้กับแฮกเกอร์   เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศแผนการที่จะจัดสรรเงินจำนวน 23.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มระดับชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการวิศวกรรมควอนตัม (QEP)   โดยหลักแล้ว เทคโนโลยีควอนตัม จะถูกนำมาเพื่อใช้เข้ารหัสในระบบต่าง ๆ เพื่อให้การเจาะระบบทำยากขึ้น รวมทั้งจะใช้ในการคาดการณ์อนาคตและกำหนดอนาคตต่าง ๆ ในเชิงรุก ซึ่งสิงคโปร์มีแผนที่จะเดินนำหน้าแฮกเกอร์ให้เร็วกว่า นั่นแปลว่าสิงคโปร์อาจรู้ถึงช่องโหว่ Zero-day ก่อนที่แฮกเกอร์จะรู้ครับ เห็นแบบนี้แล้วก็แอบอิจฉาเหมือนกันนะ….     ที่มาข้อมูล https://www.zdnet.com/article/singapore-ups-investment-in-quantum-computing-to-stay-ahead-of-security-threats/         ————————————————————————————————————————- ที่มา :      Techhub      / วันที่เผยแพร่   8 ก.ค. 65 Link :…

สิงคโปร์ปรับกระบวนการแจ้งเกิด-ตาย ทำออนไลน์ทั้งหมดสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้

Loading

  รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศเปลี่ยนระบบการแจ้งเกิด/ตาย เป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด หลังจากเปิดตัวแอป LifeSG (เดิมชื่อ Moment of Life) ให้ประชาชนแจ้งเกิดออนไลน์ได้ตั้งแต่ปี 2018 และตอนนี้การแจ้งเกิดเป็นการแจ้งเกิดออนไลน์ถึง 80%   กระบวนการแจ้งตายนั้นจะเป็นการเปลี่ยนกระบวนการไปเลย ไม่ได้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านแบบการแจ้งเกิด โดยทายาทลำดับแรก (next-of-kin – NOK) จะไม่ต้องไปแจ้งตายกับทางรัฐบาลอีกต่อไป แต่แพทย์ผู้ยืนยันการเสียชีวิตจะแจ้งเข้าไปยังระบบของรัฐบาลเอง หลังจากนั้นญาติจะมีเวลาเข้าไปดาวน์โหลดใบมรณะบัตรจากแอป My Legacy อีก 30 วัน   ทั้งใบเกิดและมรณะบัตรจะเป็นเอกสารรูปแบบเหมือนที่พิมพ์ในกระดาษแบบเดิม แต่จะแนบ QR สำหรับตรวจสอบข้อมูลในเอกสารไปด้วย ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น   กระบวนการทั้งสองจะเปลี่ยนในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ แต่ผู้ที่ติดปัญหาการใช้บริการออนไลน์ก็ยังสามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือได้ที่จุดบริการของรัฐบาล     ที่มา – Immigration & Checkpoints Authority       ——————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

สิงคโปร์เล็งตั้งกองทัพไซเบอร์ หวั่นภัยคุกคามกรณีรัสเซีย-ยูเครน

Loading

  สิงคโปร์เตรียมจัดตั้งกองกำลังชุดใหม่เพื่อดูแลด้านความปลอดภัยด้านดิจิทัลโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องเสริมความแข็งแกร่งด้านกลาโหมให้พร้อมรับมือภัยคุกคามจากภายนอก รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงที่มีการสู้รบระหว่างยูเครนและรัสเซีย นายอึ้ง เอง เฮน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ แถลงที่รัฐสภาเมื่อวานนี้ (2 มี.ค.) ว่า กองทัพสิงคโปร์ (SAF) มีแผนจัดตั้ง “กองกำลังที่ 4” (Fourth service) ซึ่งจะรวบรวมและขยายขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ของประเทศในด้านดิจิทัล แผนดังกล่าวของสิงคโปร์เกิดขึ้นหลังจากที่แฮกเกอร์ใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลเป็นอาวุธในช่วงที่รัสเซียบุกยูเครน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนสะท้อนถึงความเสี่ยงของสิงคโปร์ที่ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ก็เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เปิดกว้างว่า อาจตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์ ข่าวเท็จ และขบวนการที่ใช้ข้อมูลเพื่อมุ่งร้าย นายอึ้งกล่าวว่า “กองทัพสิงคโปร์ยุคใหม่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ขณะเดียวกันก็ยังมีช่องว่างและความสามารถที่ยังต้องได้รับการพัฒนา ซึ่งสถานการณ์และความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในระยะนี้เตือนให้เราต้องระวัง สิ่งที่ผมพูดถึงก็คือภัยคุกคามทางดิจิทัล” นอกจากนี้ รมว.กลาโหมยังกล่าวว่า “กองทัพไซเบอร์ที่จะตั้งขึ้นใหม่นั้นจะดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้สิงคโปร์รับมือภัยคุกคามด้านดิจิทัลที่มีจากผู้รุกรานจากประเทศอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราคาดว่าภัยคุกคามนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซับซ้อนกว่าเดิม และมาจากหลายกลุ่ม จึงจำเป็นต้องมีกองกำลังย่อย ๆ ซึ่งอาจมีขนาดระดับกองพลเตรียมพร้อมไว้” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เมื่อปี 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้อนุมัติกฎหมายรับมือการแทรกแซงจากต่างชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานหรือบุคคลต่างชาติแทรกแซงการเมืองของประเทศ นอกจากนี้ กฎหมายยังให้อำนาจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการเปิดเผยข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังเนื้อหาที่อันตรายที่สงสัยว่าต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการ    …