ระบบตรวจจับสึนามิใหม่ของ NASA รู้ว่าจะเกิดก่อน 1 ชั่วโมง !!

Loading

    GUARDIAN ระบบจับคลื่นสัญญาณการเกิดสึนามิของ NASA สามารถช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสึนามิขึ้นก่อน 1 ชั่วโมง   คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่น่ากลัวและอันตรายที่สุดของโลก โดยเฉพาะเมืองหรือผู้คนที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่ง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น มีโอกาสที่สึนามิจะเกิดขึ้นมาได้มาก โดยเฉพาะหากแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลหรือภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิด และที่น่ากลัวที่สุดคือ ปัจจุบันเทคโนโลยีของมนุษย์รับรู้ว่าสึนามิกำลังเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดเพียงไม่กี่วินาทีหลังเกิดสึนามิขึ้นมาแล้ว ซึ่งทำให้การเตรียมตัวในการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นทำได้ยากและล่าช้า   GUARDIAN ระบบเตือนสึนามิของ NASA   GUARDIAN หรือ GNSS Upper Atmospheric Disaster Information and Alert Network คือ ระบบเตือนสึนามิ ที่พัฒนาโดยหน่วยงาน Jet Propulsion Laboratory (JPL) ของ NASA ความพิเศษของระบบนี้คือการที่มันใช้ “ข้อมูลจากดาวเทียม และ GPS รอบโลก” ในการตรวจสอบว่า “สึนามิกำลังจะเกิดขึ้นจริงไหม ?”   การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและ GPS นี้…

ระบบคาดการณ์สึนามิจาก AI ที่แจ้งเตือนในเวลาไม่กี่วินาที

Loading

  สึนามิ ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่ฝังใจคนมากมาย โดยเฉพาะประเทศไทยกับเหตุการณ์ปี 2004 ปัจจุบันเรามีระบบแจ้งเตือนสึนามิได้รับการพัฒนาขึ้นมากมาย แต่ระบบนี้กำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เมื่อ AI สามารถคาดการณ์คลื่นที่จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที   ภัยธรรมชาติถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติร้ายแรงสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ในจำนวนนั้นเมื่อพูดถึงภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลทั้งหลายย่อมคิดถึง สึนามิ หนึ่งในภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมากอย่างฉับพลัน ดังเช่นเหตุการณ์สึนามิปี 2011 ในญี่ปุ่นที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 18,500 ราย   นั่นเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาระบบวิเคราะห์แบบใหม่ช่วยประเมินและแจ้งเตือนสึนามิได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที     ระบบตรวจสอบสึนามิที่ใช้งานในไทยปัจจุบัน   ปัจจุบันระบบตรวจสอบสึนามิมีการใช้งานทั่วไปในหลายประเทศที่มีชายฝั่งทะเล เกือบทุกประเทศที่มีชายฝั่งทะเลและเคยประสบภัยพิบัติสึนามิมาก่อน ไม่เว้นกระทั่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งระบบเตือนภัยหลังเหตุการณ์ปี 2004 เป็นต้นมา แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีรายงานว่าทุ่นแจ้งเตือนสึนามิเริ่มเสียหายจนไม่ทำงานก็ตาม   ระบบการแจ้งเตือนสึนามิในปัจจุบันจะอาศัยอาศัยทุ่นลอยที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันใต้ทะเลในการแจ้งเตือน โดยจะทำการตรวจวัดข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของความดันน้ำส่งข้อมูลไปยังทุ่นที่ลอยบนผิวน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังหน่วยงานเพื่อแจ้งเตือนภัยสึนามิต่อไป   นอกจากทุ่นลอยที่ใช้งานยังมีอีกหลายภาคส่วนทำหน้าที่ตรวจสอบการเกิดสึนามิ ตั้งแต่หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา(NOAA) คอยรับหน้าที่แจ้งเตือนภัยสึนามิทั่วโลก ไปจนสถานีวัดระดับน้ำทะเลในประเทศต่างๆ รวมถึงในไทย เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนวโน้มการเกิดคลื่นสึนามิทั่วโลก   เมื่อได้รับข้อมูลว่าจะมีการเกิดคลื่นสึนามิที่อาจเป็นอันตราย ระบบจะแจ้งเตือนผ่านดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยภายในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลที่มีอยู่กว่า 226 แห่ง จากนั้นจึงส่งข้อความ SMS เพื่อแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานราชการและองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายข้อมูลในการแจ้งประชาขนในพื้นที่เตรียมการรับมือจนถึงอพยพต่อไป  …

ศาลญี่ปุ่น “ห้ามเดินเครื่อง” โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรงบนเกาะฮอกไกโด ชี้มาตรการป้องกันสึนามิไม่ดีพอ

Loading

  เอพี – ศาลญี่ปุ่นวันนี้(31 พ.ค)ออกคำสั่งบริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.ห้ามเปิดเครื่องโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 โรง หลังพบมาตรการป้องกันสึนามิยังไม่เพียงพอหากเดินหน้าเดินเครื่องจะเสี่ยงต่อชีวิตประชาชนบนเกาะท่ามกลางการผลักดันอย่างหนักจากรัฐบาลโตเกียวหลังประกาศคว่ำบาตรนำเข้าพลังงานจากรัสเซียตามสหรัฐฯ   เอพีรายงานวันนี้(31 พ.ค)ว่า ศาลแขวงซับโปโรออกคำพิพากษาในวันอังคาร(31)ว่า บริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.(Hokkaido Electric Power Co.)จะต้องไม่เดินหน้าเดินเครื่องโรงเตาปฎิกรณ์ใดๆทั้งหมด 3 โรงที่มีซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โทมาริ(Tomari) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเนื่องมาจากขาดมาตรการป้องกันความปลอดภัยสำคัญที่สามารถส่งผลต่อชีวิตของประชาชนในพื้นที่   อย่างไรก็ตามทางบริษัทไฟฟ้าฮอกไกโด อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค.แถลงยืนยันว่า จะยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินพร้อมกับชี้ไปถึงคำพิพากษาว่า “น่าเสียใจและไม่สามารถรับได้โดยสิ้นเชิง”   ญี่ปุ่นเกิดวิกฤตคลื่นยักษ์สึนามิสูงกว่า 15 เมตรที่ร้ายแรงเมื่อปี 2011 ทำให้ระบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของบริษัทเทปโกที่ฟูกุชิมะเกิดล่มส่งผลทำให้แกนปฎิกรณ์เกิดหลอมเหลวและปล่อยกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากออกมาสู่ด้านนอก   และเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วญี่ปุ่นจำนวนมากต้องปิดลงเพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการปรับปรุง สำหรับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โทมาริพบว่าไม่มีการเปิดทำการมาตั้งแต่ปี 2012   อย่างไรก็ตามพบว่ารัฐบาลญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะได้ออกมาเรียกร้องโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ให้กลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าอีกครั้งเพื่อทดแทนพลังงานนำเข้าจากรัสเซียที่คิชิดะประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพื่อลงโทษจากเหตุการณ์บุกยึดยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ ที่ผ่านมาและอีกทั้งยังเป็นการลดปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อน โดยวิตกไปว่าภายในประเทศจะมีพลังงานใช้ไม่เพียงพอ   หัวหน้าผู้พิพากษา เท็ดซึยะ ทานิงูจิ( Tetsuya Taniguchi…

ครบรอบ 17 ปี นักวิจัย ห่วงการรับมือสึนามิ ยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

Loading

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้  ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย แนะวิธีป้องกันประชาชนต้องมีความพร้อม อพยพอยู่เสมอ สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร กรณีเช่นนี้คลื่นแผ่นดินไหวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายสิบวินาที หรืออาจมากกว่า 1…