เมื่อคนรุ่นใหม่ เชื่อข่าวใน Tiktok มากกว่า นักข่าว ผลเสียจะเป็นอย่างไร ?

Loading

  ผลศึกษา พบ คนรุ่นใหม่เสพสื่อ-เชื่อข่าวบนโซเชียลมากกว่าเว็บสำนักข่าว เพราะพวกเขารู้สึกว่า รูปแบบเว็บไซต์เป็นของโบราณและยากจะเข้าถึง   สถาบันรอยเตอร์เพื่อการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ (The Reuters Institute for the Study of Journalism) เผยแพร่ผลการศึกษาภูมิทัศน์สื่อดิจิทัลประจำปี 2023 จากการสำรวจความคิดเห็นกว่า 93,000 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ทั่วโลก   สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ ช่องทางในการรับข่าวสารและติดตามสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลดลงจากสื่อรูปแบบเก่าอย่าง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และ สื่อใหม่ ในรูปแบบเก่า อย่างเว็บไซต์ ก็ลดลงเช่นเดียวกัน   สถาบันรอยเตอร์เพื่อการศึกษาด้านวารสารศาสตร์ กล่าวในรายงานว่า TikTok เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่เติบโตเร็วที่สุด โดย 20% ของเด็กอายุ 18-24 ปี ทั่วโลก ใช้สำหรับรับข่าวข่าว เพิ่มขึ้น 5% จากปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้ชม ที่ให้ความสนใจกับคนดัง ผู้มีอิทธิพล และคนในโซเชียลมีเดีย มากกว่านักข่าว…

Save พ่อแม่จากเฟกนิวส์ : ลูกหลานสื่อสารอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเชื่อกลุ่มไลน์มากกว่าข้อเท็จจริง

Loading

    ตั้งแต่อิลูมินาติ จนถึง CIA ตั้งฐานทัพในประเทศไทย หรือพระธาตุที่หน้าตาคล้ายซิลิก้าเจล จนถึงการดื่มปัสสาวะรักษาโรค – ข้อมูลข่าวสารมากมายที่แชร์กันผ่านกลุ่มไลน์ อาจยากที่จะแยกว่าอะไรจริงหรือไม่จริง ยิ่งหากเป็นข้อมูลที่มาจากเพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ ก็อาจทำให้หลายคนหลงเชื่อ โดยไม่คิดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม   โดยทั่วไป เรามักพบว่ากลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของ ‘เฟกนิวส์’ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งหากว่าเฟกนิวส์ต่างๆ มาจากช่องทางที่ผู้สูงอายุติดตามเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าวที่โปรดปราน หรือกลุ่มเพื่อนสนิทวัยเก๋าที่ไว้ใจ ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่า ปู่ย่าตายายของเราจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น โดยไม่คิดหาเหตุผลโต้แย้ง   มีการศึกษาที่พบว่า ผู้สูงอายุมักตกเป็นเหยื่อของเฟกนิวส์ง่ายกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยการศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักแชร์บทความที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ สูงกว่าคนที่อายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 7 เท่า   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่าผู้สูงอายุที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น มักแชร์ข้อมูลต่างๆ ออกไปด้วยความปรารถนาดี แต่ปัญหาคือ ก่อนแชร์ข้อมูลมักไม่ทันได้ตรวจสอบว่า ข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลที่มีความคิดเห็นเจือปน…